ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 31.35/37 อ่อนค่าตามยูโร หลัง ECB ชี้ความจำเป็นมาตรการกระตุ้นศก.แต่ได้ความชัดเจนการเมือง-เงินไหลเข้าหนุน

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 18, 2019 17:40 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 31.35/37 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 31.31/35 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทปรับอ่อนค่าลงไปในช่วงบ่าย หลังจากที่ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ออกมาพูดถึงความเป็นไปได้ที่จะออก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หากแนวโน้มเศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้เงินยูโรปรับตัวอ่อนค่าลงและบาทก็ปรับตัวอ่อนค่าด้วยเมื่อเทียบกับ ดอลลาร์

แต่ทั้งนี้ เงินบาทไม่ได้อ่อนค่าไปมากนัก เนื่องจากรับข่าวจากปัจจัยในประเทศเรื่องความชัดเจนของรายชื่อครม.ที่นายก รัฐมนตรีระบุว่าเรียบร้อยแล้ว ประกอบกับปัจจัยที่วันนี้มียังมีเงินทุนไหลเข้า

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.30 - 31.40 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.30 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 108.15/55 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1180 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1210/1255 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,683.60 จุด เพิ่มขึ้น 16.37 จุด (+0.98%) มูลค่าการซื้อขาย 61,977 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 4,154.73 ลบ.(SET+MAI)
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย (TMB Analytics) ประเมินว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่
กำหนดประชุมในสัปดาห์หน้า จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% ไปตลอดทั้งปีนี้ แม้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของตลาดโลกจะเป็นขา
ลงก็ตาม ประกอบกับเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มชะลอตัว ดังนั้นการปรับขึ้นดอกเบี้ยจะยิ่งกระตุ้นการก่อหนี้ของภาคครัวเรือนให้เพิ่มขึ้น และ
กระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้
  • ธนาคารกรุงไทย (KTB) ปรับลดประมาณการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปี 62 ลดลงเหลือเติบ
โต 3.3% จากเดิมคาดว่าเติบโต 3.8% หลังจากที่แนวโน้มภาคการส่งออกช่วงที่ผ่านมาเห็นการชะลอตัวชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากได้รับผล
กระทบสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน จึงคาดว่าจะทำให้การส่งออกของไทยทั้งปีนี้เติบโตได้เพียง 0.8% จากเดิมที่คาดว่าเติบโต
4% ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่กดดันการขยายตัวของ GDP ไทยอย่างมีนัยสำคัญ
  • ธนาคารกรุงไทย ระบุว่า ค่าเงินบาทในปัจจุบันถือว่าแข็งค่าค่อนข้างมากราว 31 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมองว่าเป็นการ
แข็งค่าจากกระแสเงินทุนที่ไหลเข้าในตลาดหุ้น หลังจากการปรับการคิดคำนวณของดัชนี MSCI ของหุ้นไทย ทำให้เงินทุนต่างชาติไหลเข้ามา
ในตลาดหุ้นไทยมาก และมีการไหลเข้าในตลาดตราสารหนี้ไทยด้วย ส่งผลให้ค่าเงินบาทในช่วงนี้แข็งค่าค่อนข้างมาก แต่ยังมองว่าค่าเงิน
บาทในสิ้นปีนี้จะอยู่ที่ราว 32 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ
  • ตลาดจับตาการประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ในระหว่างวันที่ 18-19 มิ.
ย.นี้ ว่าจะมีการส่งสัญญาณการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างไรสำหรับช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ในขณะที่การประชุมรอบนี้ ตลาดเชื่อว่า
FOMC ยังคงดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิม
  • นายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) เผยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่จำเป็น หากพิจารณาแล้ว
ว่าแนวโน้มยังไม่ปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ ในระหว่างการสุนทรพจน์ที่โปรตุเกสในวันนี้ นายดรากี ยังระบุด้วยว่าการใช้มาตรการปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยยังเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือของ ECB
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้แถลงต่อรัฐสภาญี่ปุ่นว่า คณะกรรมการของ BOJ จะหารืออย่างแน่นอนเกี่ยวกับความ
เสี่ยงของเศรษฐกิจต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ในการประชุมทบทวนนโยบายอัตราดอกเบี้ยเป็นเวลา 2 วัน ซึ่งจะเริ่มขึ้นในวันพรุ่งนี้ พร้อมระบุ
ว่า BOJ จะดำเนินนโยบายการเงินอย่างเหมาะสม โดยพิจารณาถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในต่างประเทศที่อาจมีต่อ
แนวโน้มเศรษฐกิจของญี่ปุ่น และมีผลกระทบต่อแนวโน้มในการบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อของ BOJ
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้อัดฉีดเงินจำนวน 9.0 หมื่นล้านหยวน หรือประมาณ 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ เข้าสู่ตลาดผ่าน

ทางข้อตกลง reverse repo ประเภทอายุ 14 วัน ที่อัตราดอกเบี้ย 2.7% ทั้งนี้ มีข้อตกลง reverse repos มูลค่า 1 หมื่นล้านหยวนที่

ครบกำหนดไถ่ถอนในวันนี้ ส่งผลให้ยอดการอัดฉีดสภาพคล่องสุทธิอยู่ที่ 8.0 หมื่นล้านหยวน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ