ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 30.83/87 คาดแนวโน้มสัปดาห์หน้ายังแข็งค่าจากเงินไหลเข้า-จับตาผลประชุม G20 มองกรอบ 30.70-30.90

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 21, 2019 17:29 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 30.83/87 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วง เช้าเปิดตลาดที่ระดับ 30.89 บาท/ดอลลาร์

ปิดตลาดเย็นนี้เงินบาทปรับตัวแข็งค่าจากช่วงเช้าอีกเล็กน้อย ในขณะที่ระหว่างวันเงินบาทยังเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ คาด ว่านักลงทุนคงจับตาผลการประชุมสุดยอดผู้นำ G20 ที่จะมีขึ้นสัปดาห์หน้าในระหว่างวันที่ 28-29 มิ.ย. ทั้งนี้ ประเมินว่าสัปดาห์หน้าเงินบาท ยังมีทิศทางแข็งค่าต่อจากสัปดาห์นี้

"สัปดาห์หน้าคงต้องรอดูผลประชุม G20 ว่าจะออกมาอย่างไร แต่แนวโน้มเงินบาทน่าจะยังแข็งค่าต่อ เพราะยังมี flow เข้า มา" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า สัปดาห์หน้าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.70 - 30.90 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 107.53/54 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 107.28 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1298/1300 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1301 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,717.14 จุด ลดลง 0.68 จุด (-0.04%) มูลค่าการซื้อขาย 81,234 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 4,612.20 ลบ.(SET+MAI)
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี (TMB Analytics) ระบุว่า การลดดอกเบี้ยนโยบายของไทยเพื่อให้สอดคล้องกับทิศทาง
อัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศอื่นๆ ยังไม่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เสถียรภาพระบบการเงินยังเปราะบางจากปัญหาหนี้ครัว
เรือนที่อยู่ในระดับสูงในขณะที่คุณภาพสินเชื่อด้อยลง เพราะการลดดอกเบี้ยอาจยิ่งเพิ่มความเสี่ยงดังกล่าว แม้ผลการประชุมธนาคารกลาง
สหรัฐ (เฟด) ครั้งล่าสุดจะชี้ว่าเฟดอาจลดดอกเบี้ยได้ถึงสองครั้งในปีนี้ ไทยก็ยังไม่มีความจำเป็นต้องรีบลดดอกเบี้ยตาม เหตุเพราะ
ดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริงไทยแทบจะต่ำที่สุดในอาเซียนแล้ว และถึงแม้จะยังสูงกว่าดอกเบี้ยที่แท้จริงของเฟด ก็ถือว่าสอดคล้องกับอันดับความ
น่าเชื่อถือ (Credit Rating) ของไทยที่อยู่ต่ำกว่าของสหรัฐฯถึง 6 ระดับ
  • ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวว่า การส่งออกของไทยในเดือนพ.ค. 62 ที่ -
5.79% นั้น ถือเป็นการลดลงมากสุดในรอบ 34 เดือนนับตั้งแต่เดือน ก.ค.59 ที่การส่งออกไทย -6.27% สอดคล้องกับแนวโน้มการค้าโลก
และอุปสงค์ของคู่ค้าสำคัญที่ชะลอตัวลงตามปัจจัยร่วม อาทิ ข้อพิพาททางการค้า และภาวะการเงินโลกที่ตึงตัว และปัจจัยเฉพาะของแต่ละ
ประเทศ/ภูมิภาค เช่น ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองในยุโรป เป็นต้น

ขณะที่ อัตราแลกเปลี่ยนในเดือนพ.ค.62 ที่แข็งค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 31.50 บาท/ดอลลาร์นั้น มีผลกระทบต่อการส่งออกของ ไทยโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าเกษตร ซึ่งเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่องได้อีก

  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับประมาณการส่งออกของไทยในปี 2562 ลดลงจาก 3.2% เหลือ 0% ซึ่งหมายความว่า มูลค่าการ
ส่งออกสินค้าไทยในช่วง 7 เดือนที่เหลือของปี 2562 จะอยู่ที่เฉลี่ย 21,561 ล้านดอลลาร์ฯ ต่อเดือน ซึ่งมากกว่ามูลค่าส่งออกเฉลี่ยใน
ช่วง 5 เดือนแรกที่อยู่ที่ 20,312 ล้านดอลลาร์ฯ ต่อเดือน
  • อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ยังมั่นใจว่าการส่งออกในปีนี้ของไทยจะทำได้ตามเป้าหมายล่าสุดที่ตั้งไว้ที่ 3% คิด
เป็นมูลค่า 2.6 แสนล้านดอลลาร์
  • เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกมาแสดงความกังวลเกี่ยวกับความผันผวนของตลาดเงิน รวมทั้งเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นอย่าง
รวดเร็ว
  • สัปดาห์หน้าจับตาการประชุมสุดยอดของกลุ่ม G20 ที่ญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 28-29 มิ.ย.นี้ว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของ
สหรัฐจะพบกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนหรือไม่ และจะมีความคืบหน้าเกี่ยวกับความขัดแย้งการค้าระหว่างสองประเทศหรือไม่
  • ผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก (WTO) กล่าวว่า WTO คาดหวังว่า การประชุมซัมมิตกลุ่ม G20 ซึ่งจะจัดขึ้นในนครโอซา
กาของญี่ปุ่นในสัปดาห์หน้า จะช่วยคลายความตึงเครียดด้านการค้า
  • สัปดาห์หน้าสหรัฐฯ จะมีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส
1/2562, ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย.จาก Conference Board, ยอดขายบ้านใหม่เดือนพ.ค., ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนพ.ค.,
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ เป็นต้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ