ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 30.60/62 ระหว่างวันแข็งค่าแตะ 30.54/55 ตามทิศทางค่าเงินหยวนและภูมิภาค

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 1, 2019 17:37 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้ปิดตลาดที่ระดับ 30.60/62 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 30.68 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทปรับตัวแข็งค่าจากช่วงเช้า โดยระหว่างวันเงินบาทแข็งค่าสุดที่ระดับ 30.54/55 บาท/ดอลลาร์ เป็นผลจากตลาดรับ ข่าวในเชิงบวกจากการประชุม G20 ในประเด็นที่ประธานาธิบดีสหรัฐชะลอการจัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน จึงทำให้นักลงทุนทยอยขาย สินทรัพย์ปลอดภัยออกมา เช่น เงินเยน และไปถือเงินหยวนแทน ซึ่งเมื่อเงินหยวนแข็งค่า จึงส่งผลให้ค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาคแข็งค่าตามไป ในทิศทางเดียวกัน

"ตลาดรับข่าวดีจากประชุม G20 ที่สหรัฐชะลอภาษีสินค้าจากจีน ทำให้นักลงทุนขายสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น เยนออกมาทำให้เย นอ่อนค่า และไปถือเงินหยวนแทน พอหยวนแข็งค่า เงินบาทเราก็แข็งค่าตาม" นักบริหารเงินระบุ

อย่างไรก็ดี ในระยะถัดไปเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าได้อีก โดยต้องจับตาการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ในการประชุมรอบหน้านี้ ว่าจะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือไม่

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.50 - 30.70 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.28/31 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 108.12 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1323/1325 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1348 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,740.91 จุด เพิ่มขึ้น 10.57 จุด (+0.61%) มูลค่าการซื้อขาย 68,500 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 4,712.36 ลบ.(SET+MAI)
  • กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนมิ.ย.62 สูงขึ้น 0.87% จากช่วง
เดียวกันของปีก่อน แต่ยังเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ในปีนี้ สำหรับปัจจัยที่กดดันให้เงินเฟ้อชะลอตัวมาจาก
สินค้ากลุ่มพลังงาน ตามราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ

พร้อมกันนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังปรับลดคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปีนี้ ลงเหลือ 1% (กรอบ 0.7-1.3%) จากเดิม 1.2% (กรอบ 0.7-1.7%) โดยมีปัจจัยสำคัญจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีแนวโน้มหดตัว, เงินบาทแข็งค่า และการส่งออกชะลอตัว

  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนมิ.ย.62 อยู่ที่ระดับ 49.4 ปรับลดลงจากเดือนพ.
ค.62 จากความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในภาคการผลิต และภาคที่มิใช่การผลิต โดยในส่วนของภาคการผลิต มาจากการลดลงของกลุ่มผู้
ผลิตยานยนต์ที่คำสั่งซื้อในประเทศลดลงตามยอดขายที่ชะลอตัว ส่วนภาคที่มิใช่การผลิต ชะลอตัวลงจากกลุ่มที่พัก บริการ ร้านอาหาร และขน
ส่ง ตามภาวะการท่องเที่ยวที่ชะลอตัวลง
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ประเมินค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 30.40-30.80 บาท/
ดอลลาร์ โดยตลาดให้ความสนใจกับตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนมิ.ย.62 ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลงต่อเนื่อง รวมทั้งติดตามว่าธนาคาร
แห่งประเทศไทย(ธปท.) จะออกมาตรการที่เข้มข้นมาใช้ดูแลการไหลเข้าของเงินทุน เพื่อดูแลการแข็งค่าของเงินบาทในช่วงนี้หรือไม่
  • พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีรับทราบและพอใจผลการจัดอันดับการพัฒนาตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนใน
กรอบสหประชาชาติ (UN SDGs) ปี 2019 ซึ่งประเทศไทยเลื่อนขึ้น 19 อันดับจากอันดับที่ 59 เมื่อปีที่แล้วมาอยู่ที่อันดับ 40 ในปีนี้ และถือ
เป็นอันดับ 1 ของอาเซียน จากรายงานของเครือข่ายการแก้ปัญหาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Solutions
Network – SDSN) และมูลนิธิ Bertelsmann Stiftung
  • กลุ่มผู้ประท้วงชาวฮ่องกงจำนวนหลายร้อยที่ต่อต้านร่างกฎหมายส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน ได้ปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่บริเวณ
ใกล้กับอาคารรัฐสภาในวันนี้ ซึ่งเป็นวันครบรอบ 22 ปีที่ฮ่องกงซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ได้ถูกส่งมอบคืนให้กับประเทศจีน
  • นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ได้ประกาศชัยชนะของสหรัฐในสงครามการค้ากับจีน พร้อมวิจารณ์ธนาคารกลาง
สหรัฐ (เฟด) ว่าไม่มีส่วนช่วยตนในการทำสงครามการค้ากับจีนเลย
  • รองประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง แต่ยังต้องจับตาทิศทางการค้า
ระหว่างสหรัฐฯกับจีน และแนวโน้มเศรษฐกิจโลกต่อไป ซึ่งการที่สหรัฐฯ และจีนได้กลับมาเจรจาการค้าอีกครั้งเป็นเรื่องดี อย่างไรก็ตาม
แนวโน้มดังกล่าวยังคงไม่แน่นอน ขณะที่กรรมการเฟดบางราย เริ่มพิจารณาเห็นควรให้ผ่อนคลายนโยบายการเงินแล้ว
  • สหรัฐฯ จะรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ เช่น ดัชนีภาคการผลิตเดือนมิ.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน

รายสัปดาห์, ยอดนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าเดือน พ.ค., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต และภาคบริการ เดือนมิ.ย.

และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมิ.ย. เป็นต้น


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ