การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ออกประกาศเชิญชวนประกวดราคาก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) 3 ฉบับ ได้แก่ สัญญาที่ 3-2 งานโยธาสำหรับอุโมงค์ (มวกเหล็กและลำตะคอง) ด้วยวิธีประกวกราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ระยะทาง 12.23 กิโลเมตร ราคากลาง 5,359.16 ล้านบาท
สัญญาที่ 3-3 งานโยธา สำหรับช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ระยะทาง 26.10 กิโลเมตร ราคากลาง 12,043.42 ล้านบาท
สัญญาที่ 3-5 งานโยธาสำหรับช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ด้วยวิธีประกวกราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ระยะทาง 12.34 กิโลเมตร ราคากลาง 9,257.37 ล้านบาท
สัญญาที่ 4-5 งานโยธาสำหรับช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ด้วยวิธีประกวกราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ระยะทาง 13.30 กิโลเมตร ราคากลาง 11,801.26 ล้านบาท
ทั้งนี้ ทั้ง 4 สัญญาให้ยื่นข้อเสนอและเสนอราคาทางระบบจัดซื้อจ้ดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ในวันที่ 26 ส.ค.62 ระหว่างเวลา 8.30-16.30 น. โดยขอซื้อเอกสารประกวดราคาได้ตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค.-23 ส.ค.62
นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการ รฟท. กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟส 1 อยู่ระหว่างประมูลหาผู้รับเหมาให้ครบ 12 สัญญาภายในปีนี้ ซึ่งล็อตล่าสุดจะเปิดประมูลในเดือน ส.ค.จากที่ก่อนหน้านี้ได้ทยอยเปิดประมูล 6 สัญญา ได้ผู้เสนอต่ำสุดแล้ว แต่ยังไม่ประกาศผล เพราะอยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณสมบัติ นอกจากนี้ยังมีสัญญา 4-1 งานโยธาช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ที่อยู่ระหว่างออกทีโออาร์
ก่อนหน้านี้งานก่อสร้างงานโยะสัญญาที่ 1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ที่กรมทางหลวงเป็นผู้รับผิดชอบ และสัญญาที่ 2-1 ช่วงสีคิ้ว -กุดจิก วงเงิน 3,114.98 ล้านบาท ที่บริษัท ซีวิล เอ็นจิเนียริง จำกัด เป็นผู้ได้งานก่อสร้าง ง
นายวรวุฒิ กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีงาน E&M ที่เป็นงานวางระบบ วางราง ตัวรถไฟ งานควบคุมการเดินรถ ที่จะทำสัญญากับรัฐบาลจีน คาดว่ามีวงเงินประมาณ 5 หมื่นล้านบาท และลงนามกันในเร็วๆนี้ โดยอยู่ระหว่างรอตรวจสัญญา หลังจากที่ได้เซ็นสัญญากับรัฐบาลจีนแล้ว 2 สัญญา คือ งานออกแบบ และการควบคุมงาน
โครงการเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน กรุงเทพมหานคร – หนองคาย เฟสแรก ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.35 กิโลเมตร วงเงินลงทุนราว 1.79 แสนล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี คาดเปิดใช้ในปี 66-67