(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 30.90 อ่อนค่าจากวานนี้ตามภูมิภาค ตลาดจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯคืนนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Friday August 2, 2019 11:12 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 30.90 บาท/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ ปิดตลาดที่ระดับ 30.86/87 บาท/ดอลลาร์

"เงินบาทเคลื่อนไหวตามภูมิภาคหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ออกมาขู่ว่าจะเก็บภาษีสินค้าจีนอีกรอบ แต่เข้าใจว่าน่าจะ เป็นส่งสัญญาณกดดันให้เฟดลดดอกเบี้ยอีก"นักบริหารเงินระบุ

สำหรับวันนี้ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯที่จะประกาศคืนนี้

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทวันนี้ระหว่าง 30.85-31.00 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (1 ส.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.46757% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.41892%

SPOT ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 30.8975 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 107.06 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ 109.07/10 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1089 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ 1.1038/1042 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 30.854 บาท/ดอลลาร์
  • บาทอ่อนทันทีหลังเฟดลดดอกเบี้ยครั้งแรกรอบ 10 ปี นักการเงินระบุตลาดทุนผิดหวังและปิดรับความเสี่ยงเหตุไม่ได้ส่ง
สัญญาณ มั่นใจ กนง.สัปดาห์หน้าน่าจะคงดอกเบี้ยนโยบาย
  • บอร์ดธนาคารทหารไทย ได้มีการรายงานดิวดิลิเจนซ์ให้บอร์ดทราบ โดยมีข้อสรุปว่าจะมีลงนามในสัญญาควบรวมกิจการ
ระหว่างแบงก์ทหารไทย กับแบงก์ธนชาต ภายในสัปดาห์หน้านี้ ก่อนรายงานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หลังเซ็นสัญญาจะมีการเรียก
ประชุมผู้ถือหุ้นประมาณเดือนกันยายน และจะใส่เงินเพิ่มทุนได้ในไตรมาสที่ 4 นี้ และกระบวนการควบรวมจะเสร็จสิ้นภายในปีนี้ตามแผน
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมกำหนดนิยามแหล่งที่มาของรายได้ หนี้สินและค่าใช้จ่ายต่างๆ ของผู้ขอกู้สินเชื่อ
ว่าจะมาจากที่ใดบ้าง เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (แบงก์รัฐ) และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) ได้
ใช้เป็นแนวทางมาตรฐานเดียวกันในการนำมาเป็นข้อมูลประกอบพิจารณาให้สินเชื่อ ซึ่งจะทำให้มาตรฐานการพิจารณาสินเชื่อของแต่ละแห่งมี
มาตรฐานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คาดว่าจะสามารถนำออกมาใช้ได้ภายในปีนี้
  • ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ประกาศปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจอังกฤษในปีนี้ และปีหน้า สู่ระดับ
1.3% จากเดิมที่คาดการณ์ในเดือนพ.ค.ที่ระดับ 1.5% และ 1.6% ตามลำดับ โดยระบุถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากความตึงเครียดทางการ
ค้าระหว่างประเทศ และการที่อังกฤษอาจแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) โดยไม่มีการทำข้อตกลง
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ทวีตข้อความในวันนี้ ระบุว่า สหรัฐจะเรียกเก็บภาษีเพิ่มขึ้นอีก 10% ต่อสินค้านำเข้าจากจีน
มูลค่า 3 แสนล้านดอลลาร์ โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ก.ย.
  • สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ระบุว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐลดลงสู่ระดับ 51.2 ในเดือนก.ค.
จากระดับ 51.7 ในเดือนมิ.ย. ขณะที่ไอเอชเอส มาร์กิต เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่
ระดับ 50.4 ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.2552 จากระดับ 50.6 ในเดือนมิ.ย.
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 8,000 ราย สู่ระดับ
215,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ส่วนกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายภาคการก่อสร้างของสหรัฐดิ่งลง 1.3% ในเดือนมิ.ย.
ซึ่งเป็นการปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.ปีที่แล้ว
  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (1 ส.ค.) หลัง
จากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซา ขณะที่เงินปอนด์ร่วงลงหลังจากผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ส่งสัญญาณเตือนถึงผล
กระทบของการที่อังกฤษอาจแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) โดยไม่มีการทำข้อตกลง
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (1 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังที่นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคาร
กลางสหรัฐ (เฟด) ไม่ได้ส่งสัญญาณว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกในอนาคต หลังจากที่คณะกรรมการเฟดได้ปรับลดดอกเบี้ยลง
0.25% ในการประชุมเมื่อวันพุธที่ผ่านมา
  • นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนก.ค.ของสหรัฐซึ่งกระทรวงแรงงานสหรัฐมีกำหนดเปิดเผยใน
วันนี้ เวลา 19.30 น.ตามเวลาไทย ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรจะเพิ่มขึ้น 165,000 ตำแหน่ง และ
คาดว่าอัตราการว่างงานจะลดลงสู่ระดับ 3.6% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 50 ปี
  • ข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในวันนี้ได้แก่ ดุลการค้าเดือนมิ.ย., ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานมิ.ย. และ

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ