ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 30.75 แข็งค่าตามภูมิภาค ระหว่างวันแกว่งกรอบแคบ นลท.รอปัจจัยใหม่

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 8, 2019 17:30 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 30.75 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากเปิด ตลาดเช้าที่ระดับ 30.77 บาท/ดอลลาร์ หลังดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงินหลัก เนื่องจากกังวลเรื่องสงครามการค้าที่ยังไม่มี ความชัดเจนและค่าเงินหยวน ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 30.75 - 30.79 บาท/ดอลลาร์ โดยตลาดรอปัจจัยใหม่เข้ามาเพิ่ม เติม

"บาทแข็งค่าตามภูมิภาคหลังดอลลาร์อ่อนค่า ระหว่างวันบาทแกว่งตัวในกรอบแคบๆ" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทวันนี้ระหว่าง 30.70-30.80 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 106.14 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 106.16 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1212 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1204 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,665.12 จุด ลดลง 4.32 จุด, -0.26% มูลค่าการซื้อขาย ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 926.27 ล้านบาท (SET+MAI)
  • ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส สำนักวิจัย Krungthai Compass ธนาคารกรุงไทย (KTB) คาดว่า ค่าเงินบาทในช่วงที่เหลือ
ของปีนี้ยังมีแนวโน้มแข็งค่า และมีโอกาสแข็งค่าไปแตะที่ระดับ 30.20 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ จากปัจจุบันที่เคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 30.70-
30.80 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังมีความแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาค เพราะ
แม้เศรษฐกิจไทยจะชะลอตัว แต่ก็ยังยังชะลอน้อยกว่าประเทศอื่น
  • ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การประกาศลดอัตรา
ดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวานนี้ (7 ส.ค.) ทำให้ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ และไทยกลับไปสู่ใน 0.5 ซึ่ง
เท่าช่วงก่อนที่ FED จะลดอัตราดอกเบี้ย 2.0 - 2.25% (1 ส.ค.62) โดยประเมินว่าแรงกดดันต่อการแข็งค่าของเงินบาทลดลง และ
เงินบาทน่าจะเคลื่อนไหวในทิศทางที่อ่อนตัวลงจากขณะนี้ ประกอบกับมาตรการเพื่อเฝ้าระวังเงินทุนไหลเข้าระยะสั้นที่ออกมาก่อนหน้านี้ จะ
เป็นอีกกลไกหนึ่งเพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินให้สอดคล้องกับสภาพปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนก.ค.62 ปรับ
ตัวลดมาอยู่ที่ระดับ 41.5 จากเดิมที่ระดับ 43.1 ในเดือนมิ.ย.62 ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 และเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ
66 เดือน โดยพบว่าครัวเรือนมีความกังวลเพิ่มขึ้นในทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจและการครองชีพของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเรื่อง
รายได้และการมีงานทำ ค่าใช้จ่าย รวมถึงภาระหนี้สิน
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ค.62
พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 75.0 จาก 76.4 ในเดือน มิ.ย.62 เป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และต่ำ
สุดในรอบ 22 เดือน จากความกังวลสถานการณ์เศรษฐกิจ
  • นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในระหว่างการประชุมชี้แจงนโยบายรัฐบาลต่อผู้บริหารระดับสูงของทุก
ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจว่า จากการหารือกับพรรคร่วมรัฐบาล และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการดูแลเศรษฐกิจไทยภายใต้ความ
ผันผวนนั้น รัฐบาลจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหนึ่งชุด ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะ
กรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อ
ร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายการเงินและการคลังของประเทศให้ไปในทิศทางเดียวกัน
  • สำนักงานปริวรรตเงินตราแห่งรัฐของจีน (SAFE) กล่าวว่า อัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินในประเทศต่างๆ ปรับตัวลงเมื่อ
เทียบกับดอลลาร์สหรัฐในเดือนก.ค. ขณะที่ดัชนีราคาพันธบัตรในตลาดโลกปรับตัวขึ้น อันเป็นผลมาจากหลายปัจจัย ซึ่งรวมถึงสถานการณ์การ
ค้าโลก นโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆ และสถานการณ์ด้านภูมิรัฐศาสตร์
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐแสดงความเชื่อมั่นว่า จุดยืนอันแข็งกร้าวที่สหรัฐมีต่อนโยบายเศรษฐกิจและนโยบาย

การค้าสำหรับจีนนั้นจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจสหรัฐอย่างมาก ขณะที่เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวระบุว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐจะมีการเจรจาการค้าอีกครั้ง

กับคณะผู้แทนจากจีนในเดือน ก.ย.และถ้าข้อตกลงมีความคืบหน้า ก็อาจจะช่วยหลีกเลี่ยงการเรียกเก็บภาษีครั้งล่าสุดได้


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ