สำหรับท่าเรือกฤษณาปัทนัม มีปริมาณตู้กว่า 5 แสนทีอียูต่อปี ส่วนท่าเรือระนอง มีขีดรองรับที่ 7.8 หมื่นทีอียูต่อปี แต่มีปริมาณตู้สินค้าเฉลี่ย 2,000-3,000 ทีอียูต่อปี โดยปี 2562 (ต.ค.61-ก.ค.62) มีปริมาณเพิ่มเป็น 4,000 ทีอียู รายได้มากกว่า 30 ล้านบาทจากการปรับตัว และกทท.จะเร่งพัฒนาขยายศักยภาพท่าเรือระนองซึ่งจะรองรับได้เป็น 3 แสนทีอียูต่อปี ในปี 2565 พร้อมกันนี้ ได้หารือกับสายเรือจากอินโดนีเซียและจีน เข้ามาใช้บริการอีกด้วย
ร.ท.กมลศักดิ์ กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการพัฒนาเส้นทางเดินเรือเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือระนองกับท่าเรือในกลุ่ม BIMSTEC ได้แก่ อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ เมียมา เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้า ซึ่งปี 2561 ภาพรวมการค้าระหว่างไทยกับกลุ่ม BIMSTEC มีมูลค่า 4 แสนล้านบาทซึ่งมีอัตราเติบโตประมาณ 8%ต่อปี โดยไทยได้เปรียบดุลการค้า หากแยกเฉพาะประเทศอินเดีย มีมูลค่าการค้าประมาณ 2 แสนล้านบาท ขณะที่อินเดียต้องการใช้ท่าเรือระนองเชื่อมกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะจะย่นเวลาในการขนส่งเหลือไม่เกิน 7 วัน จาก 10-15 วัน