นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ในเดือนสิงหาคม 2562 รัฐวิสาหกิจและกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ำกว่า 50% (กิจการฯ) นำส่งรายได้แผ่นดินจำนวน 5,486 ล้านบาท ส่งผลให้ ในช่วง 11 เดือนของปีงบประมาณ 2562(ตุลาคม 2561 – สิงหาคม 2562) สคร. นำส่งรายได้แผ่นดินสะสมจากรัฐวิสาหกิจและ กิจการฯ จำนวน 167,163 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการเงินนำส่งรายได้แผ่นดินสะสมจำนวน 14,656 ล้านบาท หรือสูงกว่า 10%
สำหรับในอีก 1 เดือนข้างหน้าของปีงบประมาณ 2562 สคร.มั่นใจว่าปีนี้ จะจัดเก็บรายได้แผ่นดินเป็นไปตามเป้าหมายที่ กำหนดไว้จำนวน 168,000 ล้านบาท ซึ่งการจัดเก็บรายได้แผ่นดินจากรัฐวิสาหกิจยังคงมีส่วนสำคัญในการช่วยรักษาเสถียรภาพการคลังให้ แก่ประเทศรวมทั้งลดความไม่แน่นอนจากการจัดเก็บภาษีของกรมจัดเก็บภาษีต่างๆ ซึ่ง สคร.จะดำเนินการติดตามการนำส่งรายได้แผ่นดิน จากรัฐวิสาหกิจอย่างใกล้ชิดต่อไป
ด้านนายชาญวิทย์ นาคบุรี รองผู้อำนวยการ สคร. ในฐานะโฆษก สคร. กล่าวเพิ่มเติมว่า สาเหตุหลักที่รัฐวิสาหกิจนำส่ง รายได้แผ่นดินสูงกว่าเป้าหมายนั้นเนื่องมาจากประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจที่เพิ่มขึ้น โดยรัฐวิสาหกิจมีการปรับปรุงกระบวน การบริหารจัดการให้ทันสมัยและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในด้านต่างๆ มากขึ้น ส่งผลให้ผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจดี ขึ้น
ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้แผ่นดินสะสมสูงสุด 10 อันดับแรกในช่วง 11 เดือนของปีงบประมาณ 2562 มีการนำส่งราย ได้แผ่นดินสะสมรวมจำนวน 147,829 ล้านบาท หรือคิดเป็น 88% ของรายได้แผ่นดินสะสมทั้งหมดที่จัดเก็บได้ซึ่งได้แก่
ลำดับที่ รัฐวิสาหกิจ รายได้นำส่ง (ล้านบาท) 1 สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 40,278 2 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 29,198 3 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 18,924 4 ธนาคารออมสิน 16,538 5 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 10,903 6 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) 10,500 7 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 5,646 8 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษต 5,582 9 การไฟฟ้านครหลวง 5,500 10 การท่าเรือแห่งประเทศไทย 4,760 รวม 147,829