(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 30.47 คาดกรอบเคลื่อนไหววันนี้ 30.40-30.50 ตลาดรอผลประชุมกนง.พรุ่งนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday September 24, 2019 11:12 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 30.47 บาท/ดอลลาร์ จากเย็น วานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 30.49/50 บาท/ดอลลาร์

"ยังมองว่าวันนี้น่าจะทรงๆ จนกว่าผลการประชุม กนง.จะออกมา ซึ่งไม่ว่าจะออกมายังไงก็ไม่น่าจะมีผลต่อการเคลื่อนไหว มากนัก เพราะ Sentiment ในตลาดก็ยังนิ่งๆ..ขณะที่จีนก็เริ่มเข้าสู่ Golden Week แล้ว"นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดว่ากรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทจะอยู่ระหว่าง 30.40-30.50 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (23 ก.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.40289% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.35763%

SPOT ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 30.5175 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 107.58 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ 107.48/59 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0987 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ 1.0968/0991 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 30.4830 บาท/ดอลลาร์
  • เปิดวันแรก ประชาชนแห่ลงทะเบียน "ชิม ช้อป ใช้" รับเงินเที่ยว 1 พันบาท คึกคัก "อุตตม" รับเกินคาด กำชับดูแลใกล้
ชิด หลังพบระบบล่าช้า แนะวางแผนท่องเที่ยวให้ดี มั่นใจ กระตุ้นเศรษฐกิจได้ ด้าน "กรุงไทย" แจ้งครบ 1 ล้านต่อวันแล้ว ยันระบบไม่
ล่ม ยังเหลืออีก 9 วัน คาดทำยอดได้ตามเป้าหมาย 10 ล้านราย
  • รมว.คลัง เชื่อเศรษฐกิจโลกยังไม่เกิดวิกฤติ แต่ไทยก็ต้องไม่ประมาท เพราะการส่งออกได้รับผลกระทบมาตั้งแต่ต้นปี
เมื่อรัฐบาลเข้ามาก็ได้ออกชุดมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทันที เนื่องจากมีบทเรียนวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 มาแล้ว ดังนั้น จึง
ต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้รวดเร็ว ตรงจุด และมีประสิทธิภาพ
  • 'พาณิชย์' ตีกรอบฟื้นข้อตกลงการค้า หรือเอฟทีเอ 'ไทย-ยุโรป' หวังเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันและหาแต้มต่อ หลังพบคู่
แข่งสำคัญทั้งเวียดนาม สิงคโปร์ ทำเอฟทีเอกับยุโรปหมดแล้ว เผยสหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าลำดับ 4 และเป็นนักลงทุนอันดับ 2 ในไทย ปีที่แล้ว
การค้าระหว่างกันกว่า 4.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้ดุลเล็กน้อย
  • เอกชนประสานเสียงคาดปีหน้าอสังหาฯยังอยู่ในช่วงขาลงแต่ก็จะส่งผลดีต่อภาพรวมที่ทำให้มีการปรับตัว แถมดอกเบี้ย ก็ยัง
ทรงตัวเหมาะแก่เรียลดีมานด์ กทม.ระบุผังเมืองใหม่ยืดหยุ่นมากขึ้น
  • ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวว่า เศรษฐกิจยูโรโซนยังไม่ได้แสดงสัญญาณการฟื้นตัวขึ้น และการชะลอตัวใน
ภาคการผลิตอย่างต่อเนื่องสร้างความเสี่ยงที่จะลุกลามไปยังภาคส่วนอื่นๆของเศรษฐกิจ
  • ไอเอชเอส มาร์กิต เปิดเผยว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการเบื้องต้นของยูโรโซน ปรับตัว
ลงสู่ระดับ 50.4 ในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 75 เดือน จากระดับ 51.9 ในเดือนส.ค. โดยถูกกดดันจากการชะลอตัวลง
ของการจ้างงานและทิศทางราคา ประกอบกับภาคธุรกิจมีความเชื่อมั่นลดลง
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาชิคาโก เปิดเผยว่า ดัชนี Chicago Fed National Activity Index (CFNAI)
ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 0.1 ในเดือนส.ค. หลังจากที่ร่วงลงสู่ระดับ -0.41 ในเดือนก.ค.
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ก กล่าวในวันนี้ว่า เฟดได้ดำเนินการอย่างรวดเร็ว ในขณะที่เกิดความ
ผันผวนต่ออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ข้ามคืนในสัปดาห์ที่แล้ว ท่ามกลางสภาพคล่องที่ตึงตัว
  • ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (23 ก.ย.) หลังจากไอ
เอชเอส มาร์กิตเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคผลิตและภาคบริการของยูโรโซนร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 6
ปี ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจยูโรโซน
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 สัปดาห์เมื่อคืนนี้ (23 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อ
ทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก หลังจากการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่ซบเซา
ของยุโรป ขณะเดียวกันนักลงทุจจับตาการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีน รวมทั้งสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลาง
  • นักลงทุนจับตาการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีนอย่างใกล้ชิด โดยสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) และ
กระทรวงพาณิชย์ของจีนยืนยันว่า จีนและสหรัฐจะจัดการประชุมเพื่อเจรจาการค้าระดับรัฐมนตรีในเดือนต.ค. หลังจากการเจรจาระดับ
รัฐมนตรีช่วยได้เสร็จสิ้นลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
  • นักลงทุนรอดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีราคาบ้านเดือนก.ค.จากเอสแอนด์พี/เคส-ชิลเลอร์,
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ย.จาก Conference Board, ยอดขายบ้านใหม่เดือนส.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์,
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2562, ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนส.
ค., ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนส.ค., การใช้จ่ายส่วนบุคคลเดือนส.ค. และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน
ก.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ