(เพิ่มเติม) กกร.ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปี 62 เหลือโต 2.7-3.0% จากเดิม 2.9-3.3% ตามการส่งออกที่คาดหดตัว -2.0% ถึง 0.0%

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday October 2, 2019 13:02 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะ กรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) แถลงว่า ที่ประชุมกกร. ได้ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP) ปี 62 มาที่ 2.7-3.0% จากเดิมคาด 2.9-3.3% พร้อมปรับลดเป้าส่งออกปีนี้เหลือ -2.0% ถึง 0.0% จากเดิมคาด -1.0% ถึง 1.0% ภายใต้สถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนที่ยืดเยื้อ, ประเด็น Brexit และทิศทางเงิน บาทที่แข็งค่า

"ทิศทางเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3/2562 ยังอยู่ในภาวะที่อ่อนแรงอย่างต่อเนื่องจากในช่วงครึ่งปีแรก โดยมีปัจจัยถ่วงหลัก จากความเสียงในภาคต่างประเทศทั้งเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ผลจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนและการแข็งคำของเงินบาทฉุดให้ การส่งออกยังคงหดตัวเป็นวงกว้างทั้งในรายการสินคำและตลาดส่งออกหลักกระทบต่อภาคการผลิต ในขณะเดียวกันแรงขับเคลื่อนภายใน ประเทศก็แผ่วตัวลงทั้งการบริโภคและการลงทุน มีเพียงจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ขยายตัวดีขึ้นส่วนหนึ่งจากผลของฐานที่ต่ำในช่วงเดียว กันปีก่อน"

กรอบประมาณการเศรษฐกิจปี 2562 ของ กกร. (ณ ต.ค.62)

          %YoY          ปี 2561          ปี 2562                 ปี 2562
                                      (ณ ก.ค. 62)           (ณ ต.ค. 62)

          GDP            4.1           2.9-3.3                2.7-3.0
          ส่งออก          6.9         -1.0 ถึง 1.0            -2.0 ถึง 0.0
          เงินเฟ้อ         1.1           0.8-1.2                0.8-1.2

นอกจากนี้ กกร.ได้ประเมินผลกระทบจากภัยน้ำท่วม ซึ่งคาดว่าจะสร้างความเสียหายและกระทบต่อเศรษฐกิจ ประมาณ 20,000 – 25,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่ก็จะมีผลกระทบจากความเสียหายของบ้านเรือนและพื้นที่เกษตร

ทั้งนี้ จังหวัดอุบลราชธานีประสบปัญหาอุทกภัยรุนแรงที่สุดในรอบ 40 ปี จึงขอให้รัฐบาลดำเนินการช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วน เพื่อลดภาระและกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาสู่สภาพปกติโดยเร็ว

นายกลินท์ กล่าวว่า สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โครงการ"ชิมช้อปใช้" ได้รับการตอบรับจากประชาชนเป็นจำนวน มาก โดยมีการลงทะเบียนเต็ม 1 ล้านคนต่อวันอย่างรวดเร็ว และยังมีร้านค้าเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก ส่งผลให้โครงการนี้ประสบ ความสำเร็จ ภาคเอกชนยินดีช่วยประชาสัมพันธ์มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โครงการชิมช็อปใช้ ซึ่งคาดว่าจะโดยมีเงินหมุนเวียนในระบบ เศรษฐกิจ ประมาณ 20,000 – 30,000 ล้านบาท สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ประมาณ 0.1-0.2%

นายกลินท์ ยังแสดงความเห็นด้วยหากรัฐบาลจะมีการขยายมาตรการ "ชิมช้อปใช้" ออกไปจนถึงฤดูกาลท่องเที่ยงและช่วง เทศกาลปีใหม่ แต่ไม่ควรทำเป็นมาตรการระยะยาว แต่ควรรอให้มีการประเมินความคุ้มค่าของมาตรการ"ชิมช้อปใช้"ก่อนแล้วจึงขยาย มาตรการออกไป

นอกจากนี้ ทาง กกร.คาดหวังที่จะเห็นมาครการสริมจากภาครัฐเพิ่มเดิมนอกเหนือไปจากการเร่งผลักดันกรอบงบประมาณราย จ่ายประจำปี 2563 ทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง เพื่อรับมือกับความท้าทายโดยเฉพาะปัจจัยจากต่างประเทศนอกจากนั้น เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนควรมีการเสนอราดาเป็นสกุลเงินบาทหรือสกุลเงินท้องถิ่น

"ภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นครษฐกิจหลายด้าน อาทิ มาตรการชิมช้อปใช้, มาตรการประกันรายได้สินค้าเกษตร, มาตรการ เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย เป็นต้น คาดว่าแรงบวกจะสามารถชดเชยผลกระทบจากหลายปัจจัยกดดันจากภายนอกประเทศได้ บ้าง"

ด้านนายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ทาง กกร.เห็นด้วยกับมาตรการ"ชิมช้อปใช้" ซึ่งช่วยกระตุ้น ให้เกิดการจับจ่ายใช้สอบไปยังหลายภาคส่วนได้ในช่วงที่ยังได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจโลก ซึ่งภาครัฐต้องประเมินถึงความเหมาะ สมและกรอบวงเงินที่ชัดเจนหากจะมีการดำเนินการต่อไป

ขณะที่นายทวี ปิยะพัฒนา รองประธานอาวุโส สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวถึงปัญหาค่าฝุ่น PM2.5 ที่ รัฐบาลได้วางมาตราการควบคุมและลดมลพิษจากภาคอุตสาหกรรม โดยยืนยันว่า ภาคอุตสาหกรรมได้วางแนวทางปฏิบัติแก้ไขปัญหาเรื่องฝุ่น PM2.5 ได้เป็นอย่างดี โดยเชื่อว่า โรงงานอุตสาหกรรมทำถูกต้องตามกฏหมายถึง 98% มีเพียง 4-5 % เท่านั้นที่ยังมีปัญหาและกลับถูกมอง เป็นผู้ร้ายมาตลอด และที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมก็มีการควบคุมมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมมาโดยตลอด ทั้งเรื่องการบำบัดน้ำเสีย และปัญหาเรื่องฝุ่นควัน

พร้อมตั้งข้อสังเกตการควบคุมและลดมลพิษจากยานพาหนะ ซึ่งปัจจุบันมีรถยนต์ในกรุงเทพมหานครมากถึง 10 ล้านคันแต่ ยังไม่ได้รับการควบคุมที่ดีเพียงพอ จึงฝากให้ภาครัฐเข้มงวดตรงจุดนี้ด้วย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ