นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 30.41 บาท/ดอลลาร์ จากเย็น วานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 30.37/39 บาท/ดอลลาร์
"เช้านี้เงินบาทอ่อนค่าตามทิศทางภูมิภาค หลังบอนด์ยีลสหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้น โดยตลาดน่าจะรอความชัดเจนเรื่อง Brexit ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน"นักบริหารเงิน ระบุ
นักบริหารเงิน มองความเคลื่อนไหวของเงินบาทระยะนี้ น่าจะมีโอกาสอ่อนค่าต่อ แต่ก็อาจจะย่ำฐานอยู่กรอบระหว่าง 30.35-30.45 บาท/ดอลลาร์ โดยคืนนี้จะมีตัวเลขยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ
THAI BAHT FIX 3M (15 ต.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.48128% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.42946%
SPOT ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 30.4300 บาท/ดอลลาร์
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.64 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ 108.26/28 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1027 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ 1.1012/16 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 30.4200 บาท/
ดอลลาร์
- "แบงก์ชาติ" ถก สมาคมธนาคารไทยวางแนวทางป้องกันภัยไซเบอร์ ย้ำต้องทำงานร่วมกันใกล้ชิด เพื่อดำเนินงาน
ไปในทิศทางเดียวกัน "ปรีดี" กำชับบอร์ดแบงก์ ต้องมีความรู้ป้องกันภัยไซเบอร์
- ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้า
ไทยประจำเดือน ก.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 46.2 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 นับตั้งแต่เดือน มี.ค. 62 และต่ำสุดในรอบ 21 เดือนที่
ได้มีการสำรวจมา เนื่องจากสมาชิกหอการค้าทั่วประเทศยังกังวลผลกระทบจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีน, ปัญหาเบร็กซิท, ความขัด
แย้งประเทศคู่ค้าสำคัญที่มีผลต่อการส่งออกของไทย รวมถึงปัญหาฝุ่นละอองพีเอ็ม 2.5 เกินมาตรฐาน ในภาคใต้ กรุงเทพฯ และ
ปริมณฑล เป็นต้น
- นายกรัฐมนตรีได้สั่งการใน ครม. โดยให้รมว.คลัง ไปหาแนวทางช่วยเหลือหรือสนับสนุนผู้ประกอบการอสังหาริม
ทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาล เพราะนายกฯ ได้รับข้อมูลจากสมาคมบ้านจัดสรรว่าเวลานี้บรรดาผู้ประกอบ
การกำลังเดือดร้อนอย่างหนัก
- กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด กล่าวว่า การเติบโตของเศรษฐกิจในไตรมาสที่
4 ของปีนี้คาดว่าจะอยู่ในจุดต่ำสุด ตามสถานการณ์ตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน แม้ว่าจะลดระดับความรุนแรงลง และท่าที
ผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางทั่วโลก ทำให้บรรยากาศความเสี่ยงปรับตัวดีขึ้น
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (WEO) โดยได้ปรับลดตัวเลขคาด
การณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกสู่ระดับ 3.0% ในปีนี้ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินทั่วโลกในปี 2551-52 จาก
เดิมที่คาดการณ์ในเดือนก.ค.ที่ระดับ 3.2%
- หัวหน้าผู้แทนการเจรจา Brexit ของ EU ได้แสดงความเชื่อมั่นว่า อังกฤษและ EU สามารถบรรลุข้อตกลง
Brexit ได้ในสัปดาห์นี้ หลังการเจรจาในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยหากข้อตกลง Brexit ได้รับความเห็นชอบจากคณะผู้เจรจา
ทั้ง 2 ฝ่ายในสัปดาห์นี้ ก็อาจมีการลงนามอย่างเป็นทางการจากผู้นำ EU ในระหว่างการประชุมสุดยอดที่กรุงบรัสเซลส์ในวันพฤหัสบดี
และวันศุกร์นี้
- ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ก รายงานว่า ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Index) ปรับตัวขึ้นสู่
ระดับ 4.0 ในเดือนต.ค. จากระดับ 2.0 ในเดือนก.ย. โดยตัวเลขดังกล่าวสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าดัชนีจะปรับตัว
ลงสู่ระดับ 0.8 ในเดือนต.ค.
- เงินปอนด์แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (15 ต.ค.)
ขานรับความหวังที่ว่า อังกฤษและสหภาพยุโรป (EU) จะสามารถบรรลุข้อตกลงว่าด้วยการแยกตัวของอังกฤษออกจาก EU
(Brexit) ได้ในสัปดาห์นี้
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (15 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนลดการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัย และ
เข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยงอย่างคึกคัก หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐทะยานขึ้นขานรับผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน
- นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ ยอดค้าปลีกเดือนก.ย., สต็อกสินค้า
คงคลังภาคธุรกิจเดือนส.ค., ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนต.ค.จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB), รายงานสรุปภาวะ
เศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ตัวเลขการเริ่ม
สร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนก.ย., ดัชนีการผลิตเดือนต.ค.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย, การผลิตภาคอุตสาหกรรม-อัตราการ
ใช้กำลังการผลิตเดือนก.ย. และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนส.ค.จาก Conference Board
- นักลงทุนติดตามสถานการณ์การค้าระหว่างสหรัฐและจีน หลังมีรายงานว่า จีนต้องการเจรจาเพิ่มเติมกับสหรัฐอีก
อย่างเร็วที่สุดในช่วงปลายเดือนต.ค.นี้ เพื่อสรุปรายละเอียดของข้อตกลงการค้าขั้นแรกก่อนที่ผู้นำทั้งสองจะลงนามร่วมกัน
--อินโฟเควสท์ โดย นิศารัตน์ วิเชียรศรี/กษมาพร โทร.02-2535000 อีเมล์: kasamarporn@infoquest.co.th--