ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 30.31 แข็งค่าต่อเนื่องจากช่วงเช้า ตลาดจับตาท่าทีธปท.-คืบหน้า Brexit มองกรอบพรุ่งนี้ 30.25-30.40

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday October 17, 2019 17:33 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 30.31 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากเปิด ตลาดเช้าที่ระดับ 30.37 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาค หลังดอลลาร์อ่อนค่าเนื่องจากตัวเลขยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ ที่แย่กว่าคาด ประกอบกับได้รับแรงกดดันจากกรณีความคืบหน้าเรื่อง Brexit โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 30.31-30.38 บาท/ดอลลาร์

"บาทปิดตลาดแข็งค่าสุดของวัน เคลื่อนไหวตามภูมิภาค เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่าจากตัวเลขค้าปลีกของสหรัฐฯ ที่แย่กว่าคาด และได้รับแรงกดดันจากเรื่อง Brexit" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันพรุ่งนี้ไว้ระหว่าง 30.25-30.40 บาท/ดอลลาร์

"พรุ่งนี้เงินบาทมีโอกาสแข็งค่าลงมาทดสอบที่ระดับ 30.25 ระดับแข็งค่าสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2556 ซึ่งต้องจับตาดูท่าที ของแบงก์ชาติว่าจะเข้ามาดูแลตามที่ประกาศไว้ก่อนหน้านี้หรือไม่" นักบริหารเงิน ระบุ

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 108.81 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 108.79 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1114 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1077 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,632.80 จุด ลดลง 1.66 จุด, -0.10% มูลค่าการซื้อขาย 60,882.77 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 222.54 ล้านบาท (SET+MAI)
  • นายกรัฐมนตรี แถลงร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงประมาณ พ.ศ.2563 ต่อสภาผู้แทนราษฎรในวาระแรก
โดยระบุว่า การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ได้จัดทำขึ้นภายใต้ประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ที่ 3-4% ซึ่งเติบโตดีขึ้น
จากปี 2562 พร้อมคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 63 อยู่ในช่วง 0.8-1.8%
  • ธนาคารกสิกรไทย วิเคราะห์ประเด็นการอภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 ในระหว่าง
วันที่ 17-19 ต.ค.62 ว่า นักลงทุนติดตามการอภิปรายครั้งนี้เป็นพิเศษ เนื่องจากมีประเด็นด้านเสถียรภาพของรัฐบาล โดยรัฐบาลอยู่ใน
สถานะ "เสียงปริ่มน้ำ" และหากที่ประชุมเสียงข้างมากไม่ผ่านร่างกฎหมายดังกล่าว รัฐบาลอาจต้องรับผิดชอบทางการเมือง อีกด้านหนึ่ง
การพิจารณาร่างงบประมาณนี้ยังส่งผลโดยตรงต่อแนวโน้มอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในปี 2563 ด้วย
  • ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คาดเศรษฐกิจไทยในปี 2562 จะขยายตัวได้
2.8% เนื่องจากยังมีปัจจัยกดดันจากปัญหาสงครามการค้าที่ยังไม่คลี่คลาย ปัญหา Brexit ที่ส่งผลกระทบกดดันภาคการส่งออกของไทยอย่าง
มาก รวมถึงภาวะเงินบาทแข็งค่าที่เริ่มมีผลกดดันภาคการท่องเที่ยว โดยช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-ก.ย.) เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้
2.6%
  • ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ประเมินเศรษฐกิจไทยในปี 2563 จะขยายตัวที่ระดับ 3.2% ลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะ
เติบโต 3.6% เป็นเพราะความไม่แน่นอนของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน ที่โต้ตอบรุนแรงกว่าที่ประเมินไว้ ส่งผลให้ภาคการส่ง
ออกยังต้องเผชิญกับอุปสรรค โดยมูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์จะขยายตัวเพียง 0.3% จากที่คาดว่าจะหดตัว 1.8% ในปี 2562 ซึ่งเป็น
ไปในทิศทางเดียวกับองค์การการค้าโลก (WTO) ที่ประเมินว่าการค้าโลกในปีหน้าจะขยายตัวเพียง 2.7%
  • ผู้ว่าการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) แถลงรายละเอียดโครงการ "ถึงเวลาทัวร์ให้ทั่วไทย" เพื่อกระตุ้นการ
เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ และเป็นการเสริมมาตรการชิมช้อปใช้ของรัฐบาลอีกทางหนึ่ง ผ่าน 2 แคมเปญ คือ "เที่ยววัน
ธรรมดาราคาช็อกโลก" และ "ร้อยเดียวเที่ยวทั่วไทย" โดยทั้ง 2 โครงการจะสิ้นสุดพร้อมกันในวันที่ 31 ธ.ค.62 คาดว่าจะช่วยกระตุ้น
การเดินทางและสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวได้ถึง 400 ล้านบาท
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐ ได้ใช้สิทธิยับยั้งหรือวีโต้อีกครั้ง เพื่อคัดค้านมติของสภาคองเกรสที่จะยุติภาวะฉุก
เฉินแห่งชาติในพื้นที่แดนทางใต้ของสหรัฐ
  • นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เผยบรรลุข้อตกลง Brexit แล้ว โดยได้ทวีตข้อความเกี่ยวกับข้อตกลงใหม่ที่เยี่ยมยอด ขณะที่
ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปกล่าวว่าได้มีการบรรลุข้อตกลงแล้ว
  • นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ได้แสดงความเชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวในทิศทางที่เป็นบวกในปี 2562 ซึ่งจะช่วยสนับ
สนุนแนวโน้มเศรษฐกิจให้สดใสขึ้น หลังจากที่ถูกกดดันจากการส่งออกที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง
  • ประชาคมโลกมองว่าการที่สภาคองเกรสสหรัฐผ่านร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับฮ่องกงซึ่งเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของ
จีนอย่างเปิดเผยนั้น แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจทางการเมืองของบุคคลในรัฐบาลสหรัฐที่ต้องการจะทำให้จีนอ่อนแอลง
  • ธนาคารกลางจีนออกมาตรการ central bank bills swap (CBS) ครั้งที่ 5 ในวันนี้ เพื่อปรับปรุงสภาพคล่องของหุ้น
กู้ที่ไม่กำหนดวันไถ่ถอน (perpetual bond) ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ