ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 30.29/31 อ่อนค่าหลังกนง.หั่นดอกเบี้ย-ธปท.ปรับเกณฑ์เอื้อเงินทุนไหลออก คาดกรอบพรุ่งนี้ 30.26-30.35

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 6, 2019 17:33 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 30.29/31 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 30.25/26 บาท/ดอลลาร์

โดยหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ 1.25% รวมทั้ง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ปรับปรุงกฎเกณฑ์เพื่อเอื้อให้เงินทุนไหลออกและลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาทนั้น ได้ส่งผลให้เงินบาท ปรับอ่อนค่าลงไปถึงระดับที่ใกล้กับ 30.40 บาท/ดอลลาร์ แต่หลังจากนั้นค่าเงินบาทก็เริ่มไล่ระดับขึ้นมาจนมาอยู่ที่ 30.29 บาท/ดอลลาร์ใน ช่วงปิดตลาด

สำหรับวันพรุ่งนี้ มองว่าเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่า ซึ่งอาจจะไม่ได้อ่อนค่าลงไปรวดเร็วนัก แต่จะเป็นการค่อยๆ ทยอยอ่อนค่า

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.26 - 30.35 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.96 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 109.00/08 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1090 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1073 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,623.99 จุด ลดลง 2.88 จุด (-0.18%) มูลค่าการซื้อขาย 62,182 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 660.66 ลบ.(SET+MAI)
  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จาก 1.50% เป็น
1.25% ต่อปี โดยให้มีผลทันที เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินและต่ำกว่าศักยภาพมากขึ้น จากการส่งออกที่ลด
ลง ส่งผลสู่การจ้างงานและอุปสงค์ในประเทศ
  • ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจและกำกับดูแลโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เปิดเผยว่า ตามที่วันนี้คณะ
กรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5:2 ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ลงมาอยู่ที่ 1.25% จากเดิม 1.50% นั้น
ส่งผลให้เงินบาทปรับตัวอ่อนค่ามากขึ้นจากในช่วงเช้า โดยอ่อนค่ามาอยู่ที่ระดับ 30.40 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ
30.25 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งการลดอัตราดอกเบี้ยของ กนง.ลงครั้งนี้ ถือว่าเซอร์ไพร์สตลาดในระดับหนึ่ง

ทั้งนี้ BAY มองว่าการลดดอกเบี้ยครั้งนี้น่าเป็นครั้งสุดท้ายของวัฎจักรในรอบนี้ เพราะขีดความสามารถในการดำเนินนโยบาย จำกัดมากแล้ว ขณะที่ทางการยังคงกังวลในเรื่องความเสี่ยงเกี่ยวกับเสถียรภาพจากภาวะดอกเบี้ยต่ำ และคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะ อยู่ที่ระดับ 1.25% ตลอดปี 2563

  • บล.เอเซีย พลัส ระบุว่าการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จาก
1.50% เป็น 1.25% ต่อปี โดยให้มีผลทันทีนั้น เป็นไปตามตลาดคาด และจะเป็น Sentiment เชิงบวกระยะสั้นต่อค่าเงินบาทให้ชะลอการ
แข็งค่า
  • คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้มีการหารือประเด็นการลดผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท
โดยเห็นว่าภาคเอกชนควรจะแสดงท่าทีที่ชัดเจนไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อให้มี
มาตรการลดผลกระทบเงินบาทที่แข็งค่าเร็ว ซึ่งอาจจะยังส่งผลกระทบมากขึ้นต่อเศรษฐกิจไทยต่อเนื่องไปในปีหน้า โดยจำเป็นต้องมีการ
ทบทวนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย มาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การเพิ่มระยะเวลาการพักเงินรายได้จากการส่งออก
ในรูปเงินตราต่างประเทศ การคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ส่งออกเร็วขึ้น เป็นต้น รวมไปถึงการผลักดันให้โครงสร้างการส่งออกมีความสามารถ
ในการแข่งขันมากขึ้น
  • ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงการออกประกาศปรับปรุงกฎเกณฑ์เพื่อเอื้อให้เงินทุนไหลออกและลด
แรงกดดันต่อค่าเงินบาทว่า ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่ความไม่สมดุลของเงินทุนเคลื่อนย้ายกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น กระทรวงการคลัง
และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ปรับปรุงกฎเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้เงินทุนไหลออก ซึ่งจะช่วยปรับสมดุลเงินทุนเคลื่อนย้าย และลด
แรงกดดันที่มีต่อค่าเงินบาท รวมทั้งจะช่วยให้การทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศมีความสะดวกมากขึ้น โดยจะมีผลบังคับใช้ภายในวันที่ 8
พฤศจิกายน 2562
  • นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดงานสัมมนา "THAILAND 2020 #ก้าวข้ามพายุเศรษฐกิจ"ว่า แนว
โน้มของเศรษฐกิจไทยในปี 63 ยังคงเผชิญกับความท้าทาย จากปัจจัยเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่มาจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะปัจจัยของ
สงครามการค้าที่ยังไม่มีความชัดเจนออกมา จึงอาจส่งผลกระทบต่อการค้าขายและการเติบโตของเศรษฐกิจโลกไปถึงปี 64 โดยในปีนี้จะ
เห็นได้ว่าสงครามการค้าส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมไปถึงการค้าและการส่งออกของประเทศต่างๆ
รวมไปถึงประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบไปด้วย ทำให้เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีแรกเกิดการชะลอตัวค่อนข้างมาก
  • สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จัดประชุมคณะทำงาน Digital
Infrastructure for Capital Market ครั้งแรก เพื่อหารือแผนการนำเทคโนโลยี DLT (Distributed Ledger
Technology) มาใช้ในการวางโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Digital Infrastructure) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความโปร่งใสในตลาด
ทุน ลดต้นทุน รวมทั้งเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงตลาดทุนของผู้ลงทุน ผู้ระดมทุน และผู้ประกอบธุรกิจทุกภาคส่วน ให้พร้อมรองรับการขับ
เคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลยุคใหม่
  • ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence
Index) ประจำเดือนพฤศจิกายน 2562 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงอยู่ในเกณฑ์ทรงตัว
(Neutral) เป็นเดือนที่สามติดต่อกัน โดยผลสำรวจพบว่านักลงทุนกังวลความขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศเป็นปัจจัยฉุดความเชื่อมั่น
นักลงทุนมากที่สุด และคาดหวังการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และภาวะเศรษฐกิจในประเทศ เป็นปัจจัยหนุน
ความเชื่อมั่นนักลงทุน
  • อดีตรมว.คลังสหรัฐ ได้แสดงความเห็นในวันนี้ว่า ข้อตกลงการเฟสแรกที่สหรัฐและจีนคาดว่าจะลงนามนั้น อาจจะไม่ได้ช่วย
แก้ปัญหาทั้งหมดที่เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้
  • สื่อต่างประเทศเปิดเผยว่า รัฐบาลจีนขายพันธบัตรสกุลเงินยูโรเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี ซึ่งอาจกระตุ้นให้บริษัทของจีน
ดำเนินการตาม เพื่อช่วยลดการพึ่งพาเงินทุนสกุลดอลลาร์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ