นายอดิทัต วะสีนนท์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยถึงภาพรวมสถานการณ์แรงงานทั้ง ประเทศในปีระยะ 5 ปีข้างหน้า (2563-2567) ใน 10 สาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย พบว่าความต้องการแรงงานยังมีแนวโน้มที่ดี โดยมี ความต้องการแรงงานกว่า 1.7 ล้านคน
"แม้ว่าช่วงนี้สถานการณ์เศรษฐกิจโลกจะผันผวน และส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมที่ต้องชะลอการจ้างงานบ้าง เลิกจ้างบ้าง แต่ ถ้ามองทิศทางในระยะยาวจากที่ภาครัฐเริ่มมีการดำเนินการลงทุนในโครงการต่างๆ และจะเริ่มมีการลงทุนจริงๆ ในปี 2563-2564 ก็ยัง มีความต้องการแรงงานในแต่ละอุตสาหกรรมจำนวนมาก"นายอดิทัต กล่าว
ความต้องการแรงงานในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายในระยะ 5 ปีข้างหน้า (2563-2567) มีดังนี้
หน่วย:คน
สาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย ความต้องการแรงงาน ปี 2563 ปี 2563-2567 1.ยานยนต์สมัยใหม่ 34,830 174,148 2 อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 35,540 176,639 3.ท่องเที่ยวรายได้ดี-ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 36,408 181,942 4.การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ 35,036 174,032 5.แปรรูปอาหาร 34,994 173,813 6.หุ่นยนต์ 35,015 173,927 7.การบินและโลจิสติกส์ 35,045 174,077 8.เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ 35,134 174,501 9.ดิจิทัล 34,982 173,761 10.การแพทย์ครบวงจร 34,973 173,719 รวม 351,957 1,750,559
ดังนั้น หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงแรงงาน กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการ จะได้มีข้อมูลและนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิเคราะห์กำหนดแนวทางในการผลิตกำลังคนและพัฒนาแรงงานรองรับ ภาคอุตสาหกรรมของประเทศ รวมทั้งมีมาตรการสันบสนุนการพัฒนาศักยภาพแรงงาน เช่น สร้างรากฐานปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ให้พร้อมขับ เคลื่อนและรองรับการพัฒนาแรงงานในภาคอุตสาหกรรม เช่น พัฒนาเพื่อยกระดับการจัดทำฐานข้อมูลความต้องการด้านแรงงาน (Demand Side/Supply Side) ให้มีความทันสมัยและมีความเป็นสากล, ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบ การในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้, จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมแบบเข้มข้นในระยะสั้นเพื่อพัฒนา และเสริมสร้างกำลังคนในภาคอุตสาหกรรม, จัดทำมาตรฐานวิชาชีพและการรับรองมาตรฐาน/คุณภาพวิชาชีพที่เกี่ยวกับสมรรถนะที่พึง ประสงค์ตามความต้องการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การรับรองคุณภาพของกำลัง คนและกำหนดค่าตอบแทน