นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 30.30/38 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 30.35 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทอ่อนค่าจากเมื่อเย็นวานในช่วงเปิดตลาดตอนเช้า และหลังจากนั้นในระหว่างวันเริ่มย่อตัวลง อย่างไรก็ดี ยังไม่มี ปัจจัยใหม่เข้ามา โดยนักลงทุนยังคงติดตามความเคลื่อนไหวเรื่องการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีน รวมทั้งสัปดาห์หน้าติดตามการ ประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ว่าจะมีมติในเรื่องอัตราดอกเบี้ยอย่างไร
นักบริหารเงิน คาดว่า ต้นสัปดาห์หน้าเงินบาทมีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 30.30 - 30.40 บาท/ดอลลาร์
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.50 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 108.70 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1086/1099 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1103 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,558.99 จุด ลดลง 6.46 จุด (-0.41%) มูลค่าการซื้อขาย 41,142 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,618.95 ลบ.(SET+MAI)
- นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า ยังไม่มีแนวคิดที่จะยุบสภาและปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพราะขณะนี้รัฐมนตรีทุกคนทำงานเข้าขา
กันได้มากขึ้น แม้นโยบายของแต่ละพรรคจะแตกต่างกัน แต่ต้องมีการกลั่นกลองผ่านคณะกรรมการชุดต่างๆ ก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาของ
ครม.ที่มาจากพรรคร่วมรัฐบาล และที่ผ่านมาก็รับฟังความคิดเห็นจากรัฐมนตรีทุกคน ซึ่งขณะนี้เสถียรภาพของรัฐบาลยังดีอยู่ แต่จะปรับ ครม.
ก็ต่อเมื่อเห็นว่าไม่สามารถทำงานร่วมกันได้แล้ว
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ย.62 อยู่ที่ระดับ 69.1 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 และต่ำสุดในรอบ 67
เดือน หลังประชาชนยังมีความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศ แม้รัฐบาลจะทยอยออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
มาเพิ่มเติม โดยประชาชนมีความกงวลกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังฟื้นตัวช้า กำลังซื้อจึงไม่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความ
ไม่แน่นอนจากปัญหาสงครามการค้า, Brexit และเงินบาทที่ยังแข็งค่า ซึ่งส่งผลกระทบในเชิงลบต่อความสามารถทางการแข่งขันด้านการ
ส่งออกและการท่องเที่ยวของไทย
- ม.หอการค้าไทย ประเมินอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปี 63 มีโอกาสเติบโตในช่วง 2.7-3.1%
ซึ่งถือว่าฟื้นตัวอย่างอ่อนๆ จากปีนี้ที่คาดว่า GDP จะโตได้ 2.6% ขณะที่คาดว่าการส่งออกในปีหน้าจะกลับมาขยายตัว 1.8% จากปีนี้ที่คาดว่า
จะหดตัว -2.4% โดยเชื่อว่าปัจจัยที่จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวขึ้นได้มาจาก 1.เม็ดเงินงบประมาณรายจ่ายปี 63 ที่เริ่มลงสู่ระบบ
เศรษฐกิจ 2.ราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มดีขึ้น 3.เงินบาทไม่แข็งค่ามากเท่าปีนี้
- ที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง ชุดที่ 20 มีมติปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับปี 2563 โดยปรับขึ้นสูงสุดที่ 6 บาท ใน 9
จังหวัด ประกอบด้วย ชลบุรี, ภูเก็ต, ปราจีนบุรี, กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ และสมุทรสาคร ส่วน
ที่เหลืออีก 68 จังหวัด จะปรับขึ้น 5 บาท โดยกระทรวงแรงงานเตรียมนำเสนอให้ ครม.พิจารณา เพื่อประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.63
- คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้อนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงินรวม 26 ล้านล้านเยน หรือประมาณ 2.39 แสนล้านดอลลาร์
สหรัฐ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในช่วงเวลาที่ภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวลง และเพื่อรับมือของผลกระทบจากมาตรการปรับขึ้นภาษีการ
บริโภคที่มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนต.ค.ที่ผ่านมา
- รมว.คลังฮ่องกง เปิดเผยว่า ความเสียหายที่เกิดจากการประท้วง ได้ส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของฮ่องกงใน
ไตรมาส 3/62 หดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 2.9% ขณะเดียวกัน ยังได้เรียกร้องให้กลุ่มผู้ประท้วงหัวรุนแรงหยุดการกระทำที่ผิด
กฎหมาย และหยุดใช้ความรุนแรง
- สัปดาห์หน้าสหรัฐฯ จะมีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ได้แก่ การประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของ
ธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) และแถลงมติอัตราดอกเบี้ย, อัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนี
ราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.ย. เป็นต้น
--อินโฟเควสท์ โดย กษมาพร กิตติสัมพันธ์/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--