นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึง 10 อันดับธุรกิจ ดาวรุ่งในปี 2563 ว่า ธุรกิจแพลตฟอร์ม ถือเป็นธุรกิจเด่นอันดับ 1 สำหรับปีหน้า เนื่องจากมีหลายปัจจัยสนับสนุน ทั้งความหลากหลายและ รูปแบบการให้บริการ รวมทั้งความต้องการของผู้ประกอบการที่ต้องการทำธุรกิจออนไลน์มากขึ้น, การใช้ชีวิตที่เร่งรีบในชีวิตประจำวัน, พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป หันมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้น และคุ้นชินกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น, กระแสการพัฒนาแพลตฟอร์ มทั่วโลก ทำให้ผู้ประกอบการเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด โดยธุรกิจนี้มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะ ที่ภาครัฐมีการผลักดันผ่านนโยบายและมาตรการต่างๆ ในธุรกิจแพลตฟอร์ม
ส่วนอันดับ 2 ธุรกิจ e-commerce, ธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ และอุปกรณ์ รวมทั้งผู้ให้บริการเครือข่าย อันดับ 3 ธุรกิจ เกมส์ และธุรกิจพัฒนา application อันดับ 4 ธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์ อันดับ 5 ธุรกิจประกันภัย ประกันชีวิต, ธุรกิจบริการทางการแพทย์ และความงาม
อันดับ 6 ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจ Street Food, อันดับ 7 ธุรกิจเกี่ยวกับผู้สูงอายุ อันดับ 8 ธุรกิจด้าน fintech และการชำระเงินผ่านระบบเทคโนโลยี และธุรกิจพลังงาน อันดับ 9 ธุรกิจก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐาน, ธุรกิจที่ปรึกษาด้าน กฎหมาย/บัญชี อันดับ 10 ธุรกิจด้านท่องเที่ยว Hostel modern tourism และ Lifestyle tourism และธุรกิจเครื่องสำอาง-ครีม บำรุงผิว
ลำดับ 10 อันดับธุรกิจเด่น รวม อันดับ 1 ธุรกิจแพลตฟอร์ม (ตัวกลางหรือตลาดกลางด้านอิเล็กทรอนิกส์) 95.5 อันดับ 2 ธุรกิจ e-commerce, ธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ และอุปกรณ์ รวมทั้งผู้ให้บริการเครือข่าย 94.8 อันดับ 3 ธุรกิจเกมส์ และธุรกิจพัฒนา application 93.1 อันดับ 4 ธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์ 92.5 อันดับ 5 ธุรกิจประกันภัย ประกันชีวิต, ธุรกิจบริการทางการแพทย์และความงาม 91.4 อันดับ 6 ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจ Street Food 88.9 อันดับ 7 ธุรกิจเกี่ยวกับผู้สูงอายุ 87.1 อันดับ 8 ธุรกิจด้าน fintech และการชำระเงินผ่านระบบเทคโนโลยี และธุรกิจพลังงาน 86.5 อันดับ 9 ธุรกิจก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐาน, 85.6 ธุรกิจที่ปรึกษาด้านกฎหมาย/บัญชี 95.6 อันดับ 10 ธุรกิจด้านท่องเที่ยว ธุรกิจ Hostel modern tourism และ Lifestyle tourism 84.4 และธุรกิจเครื่องสำอาง-ครีมบำรุงผิว
สำหรับ 10 อันดับธุรกิจดาวร่วงในปี 2563 อันดับ 1 คือ ธุรกิจเช่าหนังสือ อันดับ 2 ธุรกิจผลิตโทรศัพท์พื้นฐาน และเครื่อง โทรสาร อันดับ 3 ธุรกิจร้านให้บริการอินเตอร์เน็ต อันดับ 4 ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์และวารสาร ธุรกิจเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ใช้แรงงานมากและขาย ในประเทศ อันดับ 5 ธุรกิจหัตถกรรม และเฟอร์นิเจอร์ไม้
อันดับ 6 ธุรกิจการค้าแบบดั้งเดิม อันดับ 7 ธุรกิจคนกลาง อันดับ 8 ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ความจำ Storage media เช่น CD, DVD, Blu-Ray, External Hard Drives, Memory Card อันดับ 9 ธุรกิจดั้งเดิมที่ไม่มีดีไซน์และใช้แรงงานสูง อันดับ 10 ธุรกิจสถานศึกษาเอกชน และธุรกิจร้านถ่ายรูป
ขณะที่ธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงในปี 63 คือ ธุรกิจร้านกาแฟที่ทำเลไม่ดี ไม่มีแฟรนไชส์ และขนาดเล็ก ธุรกิจร้านชานมไข่มุกที่ ทำเลไม่ดี เนื่องจากธุรกิจมีจำนวนมาก และมีการแข่งขันอย่งต่อเนื่อง รวมถึงมีการตัดราคา ส่วนธุรกิจที่มีความเสี่ยงปานกลาง คือ ธุรกิจ คลินิคเสริมความงาม ธุรกิจเครื่องสำอางค์-อาหารเสริม เนื่องจากธุรกิจมีจำนวนมาก มีการแข่งขันสูง และมีต้นทุนการดำเนินธุรกิจสูง รวมทั้งธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ทำเลไม่ดี เนื่องจากมี Over Supply รวมทั้งผลจากมาตรการ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย รวม ทั้งผลจากการบังคับใช้ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
นายธนวรรธน์ มองว่า ในปี 2563 มีปัจจัยสนับสนุนสำหรับการดำเนินธุรกิจ เช่น มาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาครัฐที่ ออกมาอย่างต่อเนื่อง, เศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยว มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยคาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าประเทศราว 41-42 ล้านคน, ภาครัฐเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ, การลงทุนของภาครัฐมีโอกาสเร่งตัวขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน รวมทั้งการลงทุนของภาคเอกชนเริ่มมี สัญญาณดีขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ EEC, ธนาคารกลางทั่วโลกใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ, มาตรการช่วยเหลือผู้ ประกอบการ SME ให้เข้าถึงสินเชื่อมากขึ้นควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน นอกจากนี้ กำลังซื้อของประชาชน ฐานรากเพิ่มขึ้น ตามมาตรการสวัสดิการแห่งรัฐ และการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และการประกันราคาสินค้าเกษตร
อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยที่บั่นทอนการดำเนินธุรกิจในปีหน้า เช่น ความไม่แน่นอนของสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ความเสี่ยงจาก สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน รวมทั้งสถานการณ์ Brexit, เศรษฐกิจจีนในปีหน้า มีโอกาสเติบโตต่ำกว่า 6%, สถาบันการเงินของ ไทยจะเริ่มใช้มาตรฐานทางบัญชี TFRS9 ซึ่งจะทำให้มีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น, เงินบาทยังแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง คาด ว่าปีหน้าเงินบาทจะอยู่ที่ระดับ 29.75-30.50 บาท/ดอลลาร์, ความไม่แน่นอนทางการเมือง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ, ปัญหา NPL ของสถาบันการเงินที่ส่งผลต่อการเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน, ปัญหาภัยธรรมชาติ และต้นทุนการ ดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้นจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ
นายธนวรรธน์ กล่าวด้วยว่า ในปี 2563 ศูนย์พยากรณ์ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจไทยว่าจะขยายตัวในระดับ 3.1% (กรอบ 2.7-3.4%) ขณะที่การส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้ดีกว่าปีนี้ มาอยู่ที่ระดับ 1.8% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ระดับ 1%