รายงานข่าวจากสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) เห็นชอบแนวทางการรักษาเสถียรภาพระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง โดยปรับอัตราเงินกองทุนฯ ทั้งกลุ่มน้ำมันเบนซินและกลุ่มน้ำมัน ดีเซล ตามมติ กบน.เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 62 ดังนี้
หน่วย:บาทต่อลิตร
ชนิดน้ำมัน อัตราเงินส่งเข้า/ชดเชยปัจจุบัน อัตราเงินส่งเข้า/ชดเชยใหม่ เปลี่ยนแปลง (10 ม.ค.63) (11 ม.ค.63) น้ำมันเบนซิน 6.1500 7.0800 0.93 แก๊สโซฮอล 95 (E10) 0.1900 1.1200 0.93 แก๊สโซฮอล 91 (E10) 0.1900 1.1200 0.93 แก๊สโซฮอล 95 (E20) -2.7100 -1.7800 0.93 แก๊สโซฮอล 91 (E85) -8.3100 -7.3800 0.93 น้ำมันดีเซล B7 -0.6800 0.2500 0.93 น้ำมันดีเซล B10 -2.9300 -2.0000 0.93 น้ำมันดีเซล B20 -4.8400 -3.9100 0.93
ทั้งนี้ เมื่อปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันฯ ใหม่แล้ว จะทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันสูงขึ้น 0.40-0.50 บาท/ลิตร ดังนี้ เบนซิน อยู่ ที่ 33.96 บาท/ลิตร, E10,95 อยู่ที่ 26.55 บาท/ลิตร, E10,91 อยู่ที่ 26.28 บาท/ลิตร, E20 อยู่ที่ 23.54 บาท/ลิตร, E85 อยู่ที่ 19.09 บาท/ลิตร, ดีเซล อยู่ที่ 27.89 บาท/ลิตร, B10 อยู่ที่ 25.89 บาท/ลิตร และ B20 อยู่ที่ 24.89 บาท/ลิตร
ส่งผลให้สภาพคล่องกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีรายจ่ายลดลงจาก 2,787 ล้านบาท/เดือน เหลือ 101 ล้านบาท/เดือน
ณ วันที่ 9 ม.ค.63 ฐานะกองทุนน้ำมันฯ สุทธิ 37,075 ล้านบาท แบ่งเป็น ประเภทน้ำมันฯ 42,297 ล้านบาท ประเภท LPG -5,222 ล้านบาท
นอกจากนี้ กบน.รับทราบมาตรการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯกับอิหร่าน ดังนี้ ด้าน ปริมาณสำรอง ณ วันที่ 9 ม.ค.63 ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงคงเหลือและปริมาณสำรองของประเทศ มีปริมาณรวม 7,509 ล้านลิตร คาด การณ์ว่าสามารถเพียงพอใช้ได้ 66 วัน และปริมาณ LPG มีปริมาณรวม 141 ล้านกิโลกรัม คาดการณ์ว่าสามารถเพียงพอใชได้ 24 วัน สำหรับใช้ในครัวเรือน และได้มีการบริหารจัดการเพื่อกระจายความเสี่ยง โดย ปตท.ได้ปรับลดสัดส่วนการนำเข้าน้ำมันจากตะวันออกกลาง จากที่เคยสูงถึง 74% ลดเหบือประมาณ 50%
ด้านการผลิตปิโตรเลียมในประเทศ ปัจจุบันผลิตน้ำมันดิบได้ประมาณ 1.3 แสนบาร์เรล/วัน โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะขอ ความร่วมมือในการงดส่งออกน้ำมันดิบซึ่งจะได้ปริมาณน้ำมันดิบเพิ่มมากขึ้นประมาณ 25,000 บาร์เรล/วัน และหากมีเหตุฉุกเฉิน สามารถ เพิ่มการผลิตภายในประเทศให้มากขึ้นอีก 36,000 บาร์เรล/วัน โดยจะขอความร่วมมือกับโรงกลั่นน้ำมันให้หาทางออกด้านเทคนิคเพื่อใช้ น้ำมันดิบในประเทศทั้งหมด
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า แม้ที่ประชุม กบน.จะมีมติเรียกเก็บเงินผู้ใช้น้ำมัน เข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 1 บาทต่อลิตร หลังหมดมาตรการของขวัญปีใหม่ที่ได้ปรับลดราคาน้ำมันไป 1 บาทต่อลิตรตั้งแต่ 26 ธ.ค.62- 10 ม.ค.63 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 11 ม.ค.63 เป็นต้นไป
แต่ราคาน้ำมันหน้าสถานีบริการจะปรับขึ้นจริงเพียง 0.50-0.60 บาทต่อลิตรเท่านั้น เนื่องจากปัจจุบันค่าการตลาดของผู้ค้า น้ำมันอยู่ระดับสูงกว่า 2 บาทต่อลิตร จากปกติที่ควรอยู่ระดับ 1.50 บาทต่อลิตร ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่านคลี่คลายลง ทำให้ราคาน้ำมันโลกปรับลดลง ดังนั้นผู้ค้าน้ำมันจะต้องปรับลดราคาจากค่าการตลาดดังกล่าวด้วย จึงมีผลให้ราคา น้ำมันหน้าปั๊มปรับขึ้นไม่ถึง 1 บาทต่อลิตร โดยขึ้นเพียง 0.50-0.60 บาทต่อลิตรเท่านั้น ซึ่งถือเป็นผลดีต่อประชาชน
รมว.พลังงาน ระบุเพิ่มเติมว่า ราคาน้ำมันดิบดูไบได้ปรับตัวลดลง หลังจากท่าทีของสหรัฐฯ ที่มีต่ออิหร่านผ่อนคลายลง โดย ราคาน้ำมันดิบดูไบ ณ วันที่ 9 ม.ค.63 อยู่ที่ 66.33 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ลดลงจากก่อนเกิดเหตุการณ์ตึงเครียดที่มีราคาอยู่ที่ 69 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล
อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงพลังงานยังคงติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันจากความตึงเครียดของสหรัฐฯและอิหร่านต่อไปอย่าง ไม่ประมาทเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ให้ทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งในที่ประชุมยังไม่มีการพิจารณามาตรการฉุกเฉินรองรับราคาน้ำมัน วิกฤติจากกรณีความตึงเครียดดังกล่าว เนื่องจากแนวโน้มเริ่มผ่อนคลายลงและยังไม่มีผลกระทบต่อราคาน้ำมันในช่วงนี้
ด้านนายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน(สบพน.) กล่าวว่า หากราคาน้ำมันโลกวันที่ 10 ม.ค.63 ปรับตัวลดลงอีกจะส่งผลให้ราคาหน้าสถานีบริการปรับลดลงอีก (หลังจากได้ปรับขึ้นไปจากมติ กบน.) และเมื่อเทียบกับการเรียก เก็บเงินเข้ากองทุนฯ 1 บาทต่อลิตรหลังหมดมาตรการของขวัญปีใหม่ จะเท่ากับราคาหน้าสถานีไม่เปลี่ยนแปลงและไม่จำเป็นต้องปรับขึ้น ราคาแต่อย่างใด ทั้งนี้ต้องรอดูสถานการณ์น้ำมันในวันดังกล่าวก่อน