นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้ รัฐบาลสุทธิในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2563 (ตุลาคม – ธันวาคม 2562) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ จำนวน 605,768 ล้าน บาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 8,354 ล้านบาท หรือ 1.4% และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 9,125 ล้านบาท หรือ 1.5%
โดยการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรและการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ สูงกว่าประมาณการ จำนวน 6,524 และ 5,935 ล้านบาท หรือ 1.7% และ 8.9% ตามลำดับ
ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2563 (ต.ค.-ธ.ค.62)/1 หน่วย:ล้านบาท เปรียบเทียบ ปมก.ตาม เปรียบเทียบ ปีนี้กับปีที่แล้ว เอกสารงปม. ปีนี้กับปมก.ตามเอกสารงปม. ที่มาของรายได้ ปีนี้ ปีที่แล้ว จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 1.กรมสรรพากร 393,176 412,446 (19,270) (4.7) 386,652 6,524 1.7 2.กรมสรรพามิต 157,664 131,343 26,321 20.0 164,555 (6,891) (4.2) 3.กรมศุลกากร 26,127 28,649 (2,522) (8.8) 26,500 (373) (1.4) รวมรายได้ 3 กรม 576,967 572,438 4,529 0.8 577,707 (740) (0.1) 4.รัฐวิสาหกิจ 72,387 65,514 6,873 10.5 66,452 5,935 8.9 5.หน่วยงานอื่น 37,326 50,359 (13,033) (25.9) 37,206 120 0.3 5.1 ส่วนราชการอื่น 31,172 44,837 (13,665) (30.5) 32,066 (894) (2.8) 5.2 กรมธนารักษ์ 6,154 5,522 632 11.4 5,140 1,014 19.7 รวมรายได้จัดเก็บ(Gross) 686,680 688,311 (1,631) (0.2) 681,365 5,315 0.8 หัก/2 80,912 91,668 (10,756) (11.7) 83,951 (3,039) (3.6) รวมรายได้สุทธิ 605,768 596,643 9,125 1.5 597,414 8,354 1.4
(2) อากรถอนคืนกรมศุลกากร 1,894 ล้านบาท
(3) จัดสรรรายได้จาก VAT ให้อบจ. 4,937 ล้านบาท (เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2562 เป็นตัวเลขจริง เดือนธันวาคม 2562 เป็นตัวเลขคาดการณ์)
(4) เงินกันชดเชยส่งออก 2,996 ล้านบาท (เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2562 เป็นตัวเลขจริง เดือนธันวาคม 2562 เป็นตัวเลขคาดการณ์)