(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 31.07 อ่อนค่าต่อเนื่องจากวิตกการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา พร้อมมองกรอบวันนี้ 31.00-31.15

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 30, 2020 11:23 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 31.07 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาด เย็นวานนี้ที่ระดับ 30.99 บาท/ดอลลาร์

"เงินบาทยังอ่อนค่าต่อเนื่องตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาและยังวิตกกังวลว่าอาจจะลุกลามยาวนานกระทบ การท่องเที่ยวและกว่าจะกลับคืนสู่ปกติอาจจะต้องใช้เวลา ซึ่งน่าจะมีผลต่อการตัดสินใจลดดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ส่วนเมื่อคืนนี้ FOMC มีมติคงดอกเบี้ย และประมาณการเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอน แต่ช่วงนี้ทิศทางเงินบาทคงจะอิงกับกระแส ข่าวไวรัสเป็นหลัก"นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดว่า กรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทระหว่าง 31.00-31.15 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (29 ม.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.00872% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.98881%

SPOT ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 31.1775 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.96 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 109.05 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1014 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 1.0999 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 30.8910 บาท/ดอลลาร์
  • รมว.คลัง โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวเมื่อวานนี้ (29 ม.ค.) ว่า ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งรับคำร้องกรณีประธานสภาผู้แทน
ราษฎร ส่งความเห็นของ ส.ส. ขอให้วินิจฉัยว่า ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 วงเงิน 3.2 ล้าน
ล้านบาท จะต้องล้มไปหรือไม่นั้น กระทรวงการคลังได้หารือและมีการเสนอมาตรการ เพื่อรองรับในหลายแนวทางด้วยกัน และพร้อมที่จะ
นำมาใช้ได้อย่างทันท่วงที ทั้งเรื่องของการเบิกจ่ายเงินเดือนข้าราชการ และเงินลงทุนของภาครัฐ เงินลงทุนรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นปัจจัย
สำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (29
ม.ค.) หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งล่าสุด ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ขณะที่นักลงทุนจับตา
ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4/2562
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเล็กน้อยเมื่อคืนนี้ (29 ม.ค.) ขณะที่นักลงทุนจับตาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจาก
การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ รวมทั้งจับตาผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยตลาดทองคำนิวยอร์กปิด
ทำการซื้อขายก่อนที่คณะกรรมการเฟดจะแถลงมติการประชุม
  • คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์ในการคงอัตรา
ดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 1.50-1.75% ในการประชุมวันนี้ ตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้ หลังจากที่ได้คงอัตราดอกเบี้ยในการประชุม
ครั้งที่แล้ว และปรับลดอัตราดอกเบี้ยติดต่อกัน 3 ครั้งในปีที่แล้ว
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมนโยบายการเงินเมื่อคืนนี้
(29 ม.ค.) ว่า เฟดเชื่อมั่นว่านโยบายการเงินของเฟดอยู่ในสถานะที่เหมาะสมต่อการสนับสนุนเงินเฟ้อให้ดีดตัวขึ้นสู่เป้าหมายที่ระดับ
2% และเหมาะสมต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันของสหรัฐ
  • รัฐสภายุโรปลงคะแนนเสียงท่วมท้น 621-49 ให้ความเห็นชอบต่อข้อตกลงการแยกตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป
(Brexit) ในวันนี้ ขณะที่งดออกเสียง 13 เสียง
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เตรียมลงนามในข้อตกลงการค้าสหรัฐ-เม็กซิโก-แคนาดา (USMCA) ในวันนี้ที่ทำเนียบ
ขาว พร้อมกับเชิญแขกราว 400 คนเพื่อเป็นสักขีพยานในพิธีดังกล่าว
  • ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า WHO จะจัดการประชุมคณะกรรมการฉุกเฉินในวันนี้ เพื่อ
ประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และเพื่อที่จะตัดสินใจว่า ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ เป็นภาวะ
ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขของโลกหรือไม่
  • ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เอ็มพีไอ) เดือน
ธันวาคม 2562 อยู่ที่ระดับ 99.02 ลดลง 4.35% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ระดับ 103.52 แต่ถือว่าปรับตัวดีขึ้น 2.13% เมื่อ
เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2562 ที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.09% อยู่ที่ระดับ 96.95 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่
63.96% จากเดือนก่อนอยู่ที่ 63.29% ส่วนภาพรวมเอ็มพีไอปี 2562 ทั้งปีลดลง 3.7% อัตราการใช้กำลังการผลิตทั้งปีอยู่ที่ 66.3%
  • ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า คลังปรับลดคาดการณ์การเติบโตของตัวเลขเศรษฐกิจ
ไทย (จีดีพี) ในปี 2562 เหลือ 2.5% ลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ 2.8% เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงสำคัญในภาคการส่งออกที่ได้รับผลกระทบ
จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกชะลอตัว รวมถึงความเสี่ยงจากสถานการณ์การค้าโลก ทำให้ภาพรวมการส่งออกของไทยในปีที่ผ่านมาติด
ลบ 3.2%

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ