ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 30.92/93 แข็งค่าจากช่วงเช้า รับเม็ดเงินไหลเข้าหนุน จับตาประชุมกนง.พรุ่งนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 4, 2020 17:52 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 30.92/93 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 30.99/31.02 บาท/ดอลลาร์

เย็นนี้เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขายดอลลาร์ และมีการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างชาติ ขณะที่พรุ่งนี้ ต้องติดตามการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งตลาดยังมองเป็น 2 ทาง คือ ทั้งในส่วนนของคงดอกเบี้ยไว้เท่าเดิม และอีกส่วนมองว่ามีโอกาสที่จะปรับลดดอกเบี้ยลง

"วันนี้บาทแข็งค่าไปจากเช้าค่อนข้างมาก จากแรงขายดอลลาร์และมีการไหลเข้าของเงินทุน พรุ่งนี้คงต้องรอดูประชุม กนง. เพราะหากลดดอกเบี้ย บาทก็จะกลับไปอ่อนค่า" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.85 - 31.10 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.07/10 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 108.70/75 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1054/1055 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1055/1065 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,519.38 จุด เพิ่มขึ้น 23.32 จุด (+1.56%) มูลค่าการซื้อขาย 58,699 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 431.43 ลบ.(SET+MAI)
  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการบรรเทาผลกระทบภาคธุรกิจท่องเที่ยว ปี 2563 ประกอบด้วย
มาตรการด้านการเงิน และมาตรการด้านภาษี โดยมาตรการด้านการเงิน เช่น ให้สถาบันการเงินของรัฐดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ย
ต่ำเงื่อนไขผ่อนปรน สำหรับผู้ประกอบการท่องเที่ยวและที่เกี่ยวข้องที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เพื่อใช้เสริม
สภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ และปรับปรุงสถานประกอบการ, มาตรการขยายเวลาชำระหนี้และค่าธรรมเนียม เพื่อแบ่งเบาภาระของผู้
ประกอบการในช่วงที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว

ส่วนมาตรการภาษี เช่น การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ออกไปอีก 3 เดือน จนถึงเดือนมิ.ย.63, มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ และการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องบิน

  • สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) ปรับลดการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2563 ลงเหลือโต 2.3% จากเดิม
คาดโต 2.7% เนื่องจากในครึ่งปีแรก มีความเสี่ยงสูงที่เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่ำกว่า 2% จากปัจจัยเสี่ยง 3 ด้าน ได้แก่ 1.การเบิก
จ่ายลดลง 2.การลงทุนภาครัฐอาจติดลบ 3.การระบาดของไวรัสโคโรนา แต่คาดว่าปัจจัยดังกล่าวมีผลชั่วคราว คือ ราว 1-2 ไตรมาส
และน่าจะฟื้นตัวโดยเร็ว และจะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้เกิน 3% ในช่วงครึ่งปีหลัง
  • สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) ประเมินว่า ค่าเงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าต่อเนื่องได้ยาวถึงระดับ 32.00
บาท/ดอลลาร์ ในช่วงไตรมาสที่ 2 นี้ ก่อนจะพลิกกลับมาแข็งค่าปิดปลายปีได้ในระดับ 30.50 บาท/ดอลลาร์
  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติขยายกรอบวงเงินในการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 62 ในระหว่างที่ พ.ร.
บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ยังไม่สามารถบังคับใช้ได้ โดยจากเดิมที่ ครม.ได้เคยมีมติไปเมื่อวันที่ 27 ส.ค.62 ให้สำนักงบ
ประมาณจัดสรรงบประมาณรายจ่ายปี 62 แก่หน่วยรับงบประมาณได้ไม่เกินกึ่งหนึ่ง หรือ 50% นั้น ให้เพิ่มเป็น 3 ใน 4 หรือ 75% ของแผน
งานและรายการตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 62
  • สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) ได้ปรับลดการคาดการณ์เศรษฐกิจปี 2563 ลงเหลือโต 2.3% จากเดิม
คาดโต 2.7% เนื่องจากในครึ่งปีแรกมีความเสี่ยงสูงที่เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่ำกว่า 2%
  • ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ระบุว่า สรท.ยังคงคาดการณ์การส่งออกไทยในปี 2563 จะเติบ
โตได้ 0-1% บนสมมติฐานค่าเงินบาท 30.50 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยยังไม่รวมผลกระทบที่อาจเกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ
ไวรัสโคโรนา
  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ได้หารือเกี่ยวกับการกำหนดวันที่เหมาะสมในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งมีข้อสรุปว่า
จะมีการอภิปรายในระหว่างวันที่ 25-27 ก.พ.นี้ โดยจะให้จบการอภิปรายฯ ภายในเที่ยงคืนของวันที่ 27 ก.พ. และให้ลงมติในวันที่ 28
ก.พ. ก่อนปิดสมัยประชุมสภาในวันที่ 29 ก.พ.
  • นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ทางการจีนอาจประกาศเป้าหมายการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในปีนี้
ที่ระดับ 6% หลังจากที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 6-6.5% ในปีที่ผ่านมา เมื่อประเมินจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา
สายพันธุ์ใหม่ในปีนี้
  • มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส เตือนว่า เศรษฐกิจจีนอาจจะไม่ขยายตัวได้มากเท่ากับที่คาดการณ์ไว้ในปีนี้ และคาดว่า

รัฐบาลจีนอาจจำเป็นต้องใช้มาตรการกระตุ้นมากขึ้น เพื่อรับมือกับผลกระทบของไวรัสโคโรนาที่มีต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค โดยมูดี้ส์ระบุ

ว่า ปัจจุบัน เศรษฐกิจจีนมีการพึ่งพาการใช้จ่ายของผู้บริโภคมากขึ้นเมื่อเทียบกับในช่วงที่เกิดการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน

รุนแรงหรือ SARS ในปี 2546


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ