ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 30.96 แข็งค่าจากช่วงเช้า แม้หลังกนง.ลดดอกเบี้ยบาทอ่อนค่าลง มองพรุ่งนี้มีโอกาสผันผวนต่อ

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 5, 2020 17:55 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ที่ระดับ 30.96 บาท/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 31.00 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวระหว่าง 30.92-31.26 บาท/ดอลลาร์

"วันนี้ผันผวนมาก หลัง กนง.ประกาศลดดอกเบี้ย ไล่กันขึ้นไปถึง 31.26 แล้วก็พลิกกลับมาเป็นแข็งค่าอย่างรวดเร็วจนกระทั่ง ปิดตลาด ตลาดไม่แน่ใจว่าการลดดอกเบี้ยของ กนง.ครั้งนี้จะเป็นสุดท้ายหรือเปล่า ขณะเดียวกันก็เริ่มคลายกังวลสถานกาณณ์การแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสหลังมัข่าวว่ามีการค้นพบยาที่รักษาไวรัสโคโรนา"นักบริหารเงิน กล่าว

คืนนี้จะมีรายงานตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ได้แก่ ดัชนีภาคบริการเดือนม.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM)และตัวเลขจ้างงานภาคเอกชน

นักบริหารเงิน คาดกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทจะอยู่ระหว่าง 30.90 - 31.10 บาท/ดอลลาร์ สำหรับวันพรุ่งนี้ค่า เงินบาทมีโอกาสผันผวนได้อีก

*ปัจจัยสำคัญ

  • เงินเยนอยู่ที่ 109.69 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 109.48 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1024 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.1041 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,534.14 จุด เพิ่มขึ้น 14.76 จุด, +0.97% มูลค่าการซื้อขาย 67,458.22 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 3,586.08 ลบ.(SET+MAI)
  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เหลือ 1.00% ถือ
ว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจาก กนง.เห็นว่าเสถียรภาพการเงินเปราะบางมากขึ้น จำเป็นต้องประสาน
มาตรการการเงินการคลัง โดยแนวโน้มเศรษฐกิจไทยอาจขยายตัวต่ำกว่าประมาณการ จึงเห็นว่านโยบายผ่อนคลายทางการเงินจะช่วยลด
ผลกระทบจากปัจจัยลบต่าง ๆ ทั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ภัยแล้ง และความล่าช้าของ พ.ร.บ.งบประมาณราย
จ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563

โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้มีโอกาสขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ที่ 2.8% แต่รอประเมินผลกระทบก่อนทบทวนในช่วงเดือน มี. ค.นี้

  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี (TMB Analytics) ระบุว่า เศรษฐกิจไทยเผชิญปัจจัยเสี่ยงจากผลกระทบการแพร่
ระบาดของไวรัสโคโรนา ความล่าช้าของงบประมาณปี 63 และภัยแล้งรุนแรง สร้างความเสียหายกว่า 2.8 แสนล้านบาท ฉุดเศรษฐกิจ
ร่วงโตแค่ 1.7- 2.1% จากเดิมคาด 2.7%
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2563 เหลือโต 2.1%
จากเดิมคาด 2.7% จากผลกระทบโรคระบาดไวรัสโคโรนา 2019 และความล่าช้าของการจัดทำงบประมาณ
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ม.
ค.63 อยู่ที่ 67.3 จากเดือน ธ.ค. 62 ที่อยู่ในระดับ 68.3 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องในรอบ 69 เดือน สาเหตุมาจากความกังวลการ
ระบาดไวรัสโคโรนา และงบประมาณรายจ่ายปี 2563 ล่าช้า และปัญหาภัยแล้ง
  • ที่ประชุมคณะกรรมการร่วม 3 สถาบัน (กกร.) มองมีความเสี่ยงมากขึ้นที่สงผลให้ภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2563 จะเติบ
โตชะลอลงมากกว่าที่คาดไว้ ดังนั้นจึงพิจารณาปรับลดประมาณการลงเป็นกรณีพิเศษในรอบนี้ โดยประเมินว่า อัตราการขยายตัวของ GDP
ในปี 2563 อาจลดลงมาที่ 2.0-2.5% จากเดิมประมาณการไว้ที่ 2.5-3.0% แต่ยังคงกรอบประมาณการอัตราการเติบโตของการส่งออก
และเงินเฟ้อไว้ตามเดิม ขณะที่คงต้องติดตามการออกมาตรการของทางการเพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ
  • องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ยังไม่ถึงขั้นเป็นการระบาดครั้ง
ใหญ่ แต่เป็นการระบาดหลายแห่งนอกจุดเริ่มต้น และการรับมือกับ "การแพร่ระบาดของข้อมูล", ข่าวลือ หรือข้อมูลเท็จนั้น มีความสำคัญ
มาก
  • รองผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยในวันนี้ว่า BOJ จะพิจารณาว่า การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาส่งผล
กระทบหรือไม่ต่อการคาดการณ์ของ BOJ ที่ว่า การค้าโลกและการใช้จ่ายด้านทุน จะเพิ่มสูงขึ้นในปีนี้
  • สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า บริษัทญี่ปุ่นที่ดำเนินธุรกิจในไทยมีความเชื่อมั่นทางธุรกิจลดลง โดยได้รับผลกระทบจาก
ข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน รวมถึงการแข็งค่าของเงินบาท ซึ่งส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 ดิ่งลงแตะ
ระดับต่ำสุดในรอบ 8 ปี

หอการค้าญี่ปุ่นประจำกรุงเทพฯ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 อยู่ที่ -38 ลดลง 19 จุด จากช่วงครึ่งปีแรก อีกทั้งยังแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2554 ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่ -41 หลังเกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่

  • อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวที่มหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน เมื่อวันที่ 4 ก.พ.ว่า ขณะที่เธอมองว่าการ
ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลก แต่โรคระบาดที่คล้ายกันนี้และเคยเกิดขึ้นมาแล้วนั้น ส่งผลกระทบ
ระยะยาวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
  • iSTOX แพลตฟอร์มตลาดทุนแห่งอนาคต ได้ผ่านการรับรองจากสนามทดสอบและพัฒนานวัตกรรมฟินเทค หรือ FinTech
Regulatory Sandbox ของธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) พร้อมขึ้นแท่นเป็นแพลตฟอร์มการออกหลักทรัพย์ดิจิทัล การรับฝากหลักทรัพย์ดิจิ
ทัล และการซื้อขายหลักทรัพย์ดิจิทัลแบบครบวงจรแห่งแรกที่ได้รับการอนุมัติและได้รับอนุญาตโดยหน่วยงานกำกับดูแลหลัก

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ