ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 31.14/17 ระหว่างวันอ่อนค่า หลังสภาพัฒน์เผย GDP ไม่สดใส คาดกรอบพรุ่งนี้ 31.10-31.25

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 17, 2020 17:41 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 31.14/17 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 31.17 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทปรับอ่อนค่าลงไปในช่วงสายที่ระดับ 31.21 บาท/ดอลลาร์ ภายหลังจากที่สภาพัฒน์ประกาศตัวเลข GDP ไตรมาส 4/62 ขยายตัวได้เพียง 1.6% ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ต่ำสุดในรอบ 21 ไตรมาส รวมถึงปรับลดคาการณ์ GDP ปี 63 ลงเหลือ 1.5-2.5% ประกอบกับตลาดยังมีความกังวลกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19) ซึ่งทำให้คาดว่าแนวโน้มเงินบาทยัง เป็นทิศทางที่อ่อนค่าต่อ

"เงินบาทอ่อนค่าไปที่ระดับ 31.21 บาท/ดอลลาร์ หลังจากสภาพัฒน์ประกาศจีดีพี ไตรมาส 4/62 ที่เติบโตได้แค่ 1.6% ตลาดมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศ รวมถึงสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.10 - 31.25 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.83/89 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 109.82 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0840/0846 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0837 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,527.25 จุด เพิ่มขึ้น 0.95 จุด (+0.06%) มูลค่าการซื้อขาย 52,494 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,107.76 ลบ.(SET+MAI)
  • สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ได้ประกาศอัตราการขยายตัวผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP)
ของไทยในไตรมาส 4 ปี 2562 ว่าขยายตัวได้ 1.6% และเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2562 ขยายตัวได้ 2.4% ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ชะลอ
ลงจากปี 2561 ที่ขยายตัว 4.2% ต่อปี

ส่วนในปี 63 คาดว่า GDP จะขยายตัว 1.5-2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์เดิมที่ 2.7-3.7% โดยมีปัจจัยหลัก คือ การระบาดของ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ปัญหาภัยแล้ง และความล่าช้าของงบประมาณฯ ปี 63

  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปี 2562 ที่ 2.4%
และช่วงประมาณการ GDP ปี 2563 ที่ 1.5-2.5% ตามที่สภาพัฒน์ ประกาศนั้น ต่ำกว่าตัวเลขที่ ธปท.ประมาณการไว้ ณ เดือนธ.ค.62
ที่ 2.5% และ 2.8% ตามลำดับ สะท้อนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวลงแรง
  • โฆษกกระทรวงการคลัง เผย กระทรวงการคลังจะติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด และมีความพร้อมที่จะ
ดำเนินมาตรการดูแลเศรษฐกิจเพิ่มเติม อย่างไรก็ดี มองว่าปัจจุบันเศรษฐกิจไทยมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ไม่มีแรงกดดันด้านเสถียรภาพ
เศรษฐกิจ ทั้งอัตราเงินเฟ้อต่ำ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล และฐานทางการคลังสะท้อนจากหนี้สาธารณะต่อ GDP เพียง 41.3% ซึ่งถือ
ว่าอยู่ในระดับที่เข้มแข็งมาก
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่จะอยู่ในช่วง 31.00-
31.35 บาท/ดอลลาร์ โดยเห็นว่าตลาดจะติดตามสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมถึงการเปิดเผยบันทึกการประชุม
ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทั้งนี้ BAY มองว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจจะตัดสินใจลดดอกเบี้ยนโยบายลง
อีกครั้งในการประชุมเดือนมี.ค.63 ลงสู่ระดับ 0.75% จากปัจจุบันที่ระดับ 1.00%
  • ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตรวจสอบและวิเคราะห์ความเสี่ยงสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผย
ผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ ปี 2562 ว่า สินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ในปี 2562 ลดลงมาอยู่ที่ 2% หลังสินเชื่อธุรกิจขนาด
ใหญ่และสินเชื่อธุรกิจ SME หดตัว
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส เปิดเผยว่า อังกฤษและสหภาพยุโรป (EU) คาดว่า จะต้องห้ำหั่นกัน
เนื่องจากทั้งสองฝ่ายต่างช่วงชิงผลประโยชน์ในช่วงการเจรจาการค้าภายหลังการถอนตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรปหรือ Brexit
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า ธนาคารกลางอาจพิจารณาใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม หาก
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของญี่ปุ่นอย่างมีนัยสำคัญ
  • มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของประเทศ
กลุ่ม G20 ลง 0.2% สู่ระดับ 2.4% ในปี 2563 เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 มีแนวโน้มที่จะส่ง
ผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

ขณะเดียวกัน มูดี้ส์ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2563 ของจีนลงสู่ระดับ 5.2% จากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ระดับ 5.8% โดยมูดี้ส์ระบุว่า จนถึงขณะนี้ จีนถือเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักสุดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เนื่องจากไวรัสโควิด-19 มีแนวโน้มที่จะสร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั่วโลกในช่วงครึ่งแรก ของปีนี้ และส่งผลให้ซัพพลายเชนหยุดชะงักในระยะสั้น

  • รัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางจากกลุ่มประเทศ G20 จะประชุมร่วมกันที่กรุงริยาดห์ ประเทศซาอุดีอาระเบียในวัน

ที่ 22-23 ก.พ.นี้ เพื่อหารือเรื่องความเสี่ยงที่มีต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก หลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-

19 ทำให้การค้าขายและห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ