กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) รายงานสถานการณ์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเดือน ม.ค.63 ภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยต่อวัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ากลุ่มน้ำมันเบนซิน เพิ่มขึ้น 1.8% กลุ่มดีเซลหมุนเร็ว ลดลง 2.5% ส่วนน้ำมันอากาศยาน เพิ่มขึ้น 3% ขณะที่การใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ลดลง และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) ลดลง
สำหรับการใช้น้ำมันกลุ่มเบนซิน เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 31.8 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้น 1.8% โดยกลุ่มแก๊สโซฮอล์มีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน เฉลี่ยอยู่ที่ 30.9 ล้านลิตร/วัน คิดเป็น 2.6% ขณะที่น้ำมันเบนซินมีการใช้ลดลงเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 0.8 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราลดลง 20.2% โดยภาพรวมการใช้น้ำมันกลุ่มแก๊สโซฮอล์ พบว่า แก๊สโซฮอล์ E20 มีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นมากที่สุด อยู่ที่ 6.6 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น 9.3% เนื่องจากมีราคาต่ำกว่าแก๊สโซฮอล์ 95 เฉลี่ยอยู่ที่ 3.01 บาท/ลิตร จึงจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาใช้เพิ่มขึ้น
รองลงมาเป็นแก๊สโซฮอล์ 95 มีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 14.02 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น 4.5% เนื่องจากแก๊สโซฮอล์ 91 และแก๊สโซฮอล์ 95 มีราคาใกล้เคียงกันโดยมีส่วนต่างเพียง 0.27 บาท/ลิตร จึงทำให้ผู้บริโภคเลือกใช้น้ามันชนิดที่มีค่าออกเทนสูงกว่า ขณะที่แก๊สโซฮออล์ 91 มีปริมาณการใช้ลดลงเฉลี่ยอยู่ที่ 9.1 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราลดลง 3.9% และแก๊สโซฮอล์ E85 มีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 1.2 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราลดลง 1.5%
ขณะที่การใช้น้ำมันกลุ่มดีเซลหมุนเร็ว เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 64.1 ล้านลิตร/วัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 2.5% โดยน้ามันดีเซลหมุนเร็ว B7 มีปริมาณการใช้ลดลงเฉลี่ยอยู่ที่ 54.3 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราลดลง 17.1% น้ามันดีเซลหมุนเร็ว B10 มีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 2.3 ล้านลิตร/วัน (เริ่มมีการจำหน่ายตั้งแต่ปลายเดือนพ.ค.62) และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B20 มีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 7.5 ล้านลิตร/วัน (เริ่มมีการจำหน่ายตั้งแต่เดือนก.ค.61) โดยปริมาณการใช้น้ำมันกลุ่มดีเซลหมุนเร็วดังกล่าวอยู่ในช่วงการปรับเปลี่ยนตามนโยบายของภาครัฐที่กำหนดให้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B10 เป็นน้ำมันดีเซลฐานของประเทศและใช้มาตรการราคาเป็นกลไกผลักดันให้เป็นไปตามเป้าหมาย
ส่วนการใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 22.1 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน คิดเป็น3.0% เนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลปีใหม่
ด้านการใช้ LPG เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 16.8 ล้านกิโลกรัม (กก.)/วัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนคิดเป็น 4.2% โดยปริมาณการใช้ภาคขนส่งลดลงมากที่สุด มีปริมาณการใช้อยู่ที่ 2.6 ล้านกก./วัน คิดเป็นอัตราลดลง 12.7% เนื่องจากผู้ใช้รถยนต์บางส่วนหันไปใช้น้ามันชนิดอื่นแทนเนื่องจากราคาขายปลีกน้ามันอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก รองลงมาเป็น ภาคปิโตรเคมีมีปริมาณการใช้ลดลงอยู่ที่ 6.5 ล้านกก./วัน คิดเป็นอัตราลดลง 3.2% ถัดมาเป็น ภาคอุตสาหกรรมมีปริมาณการใช้อยู่ที่ 1.8 ล้านกก./วัน คิดเป็นอัตราลดลง 2.9% และภาคครัวเรือน มีปริมาณการใช้อยู่ที่ 5.9 ล้านกก./วัน คิดเป็นอัตราลดลง 1.4% เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปและสนใจใช้เตาไฟฟ้ามากขึ้น
การใช้ NGV เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 4.9 ล้านกก./วัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน คิดเป็น 11.0% โดยมีสาเหตุมาจากการปรับราคา NGV ส้าหรับรถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไปให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ประกอบกับนโยบายส่งเสริมการใช้น้ามันดีเซลหมุนเร็ว B20 สำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ทำให้ประชาชนและรถบรรทุกสินค้าหันไปใช้ดีเซลหมุนเร็ว B20 ทดแทน
การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง มีปริมาณรวมลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบเฉลี่ยอยู่ที่ 980,741 บาร์เรล/วัน คิดเป็นอัตราลดลง 8.5% โดยมีมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบคิดเป็น 66,973 ล้านบาท/เดือน เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวมีการหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่น และ Emergency Shutdown ทำให้ต้องลดปริมาณการนำน้ำมันดิบเข้ากลั่นลง
สำหรับน้ำมันสำเร็จรูป เป็นการนำเข้าน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซลพื้นฐาน น้ำมันเตา น้ำมันอากาศยานและก๊าด และ LPG โดยมีปริมาณนำเข้าลดลงอยู่ที่ 26,839 บาร์เรล/วัน คิดเป็นอัตราลดลง 63.6% และมีมูลค่าการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปอยู่ที่ 1,849 ล้านบาท/เดือน
การส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป เป็นการส่งออกน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซลพื้นฐาน น้ำมันเตา น้ำมันอากาศยานและก๊าด และ LPG โดยมีปริมาณลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เฉลี่ยอยู่ที่ 171,386 บาร์เรล/วัน คิดเป็นอัตราลดลง 2.1% โดยมีมูลค่าการส่งออกน้ำมันส้าเร็จรูปเฉลี่ย 11,624 ล้านบาท/เดือน