ภาวะตลาดเงินบาท: บาทปิดตลาด 31.32/34 แข็งค่าต่อเนื่อง หลังเฟดลดดอกเบี้ยฉุกเฉิน มองกรอบพรุ่งนี้ 31.30-31.50

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 4, 2020 17:31 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 31.32/34 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก เปิดตลาดเช้าที่ระดับ 31.38 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทเย็นนี้แข็งค่าจากเปิดตลาดช่วงเช้า เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่าต่อเนื่อง หลังธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับ ลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมที่มีขึ้นฉุกเฉินก่อนกำหนด ซึ่งนักลงทุนจับตาดูทิศทางดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลัก และสถานการณ์การ แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 31.32 - 31.39 บาท/ดอลลาร์

"บาทแข็งค่าต่อเนื่อง หลังจากเฟดปรับลดดอกเบี้ยก่อนวาระ ซึ่งต้องจับตาดูทิศทางดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลัก และ สถานการณ์ไวรัสโควิด-19" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดว่า วันพรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.30 - 31.50 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 107.45 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 107.35 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1170 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1167 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,378.61 จุด เพิ่มขึ้น 3.59 จุด, +0.26% มูลค่าการซื้อขาย 58,586.96 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,246.88 ล้านบาท (SET+MAI)
  • รัฐบาลวางมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รองรับแรงงานไทยที่เดินทางกลับมาจากประเทศ
เกาหลีใต้ โดยผู้ที่มาจากเมืองแทกู และเมืองคยองซัง จะคัดกรองอย่างเข้มข้นและกักตัวในพื้นที่ควบคุม 14 วัน ส่วนผู้ที่มาจากเมื่อ
งอื่นจะส่งไปกักตัวตามภูมิลำเนา 14 วันเช่นกัน
  • นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง เผยเตรียมเสนอชุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและและเยียวยาผลกระทบไวรัสโค
โรนา ชุดที่ 1 คาดว่าจะมีวงเงินมากกว่า 1 แสนล้านบาท ต่อที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) ในวัน
ศุกร์นี้ (6 มี.ค.) โดยมีมาตรการสำคัญ คือ การแจกเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย, มนุษย์เงินเดือน, ผู้
ประกอบอาชีพอิสระ และเกษตรกร โดยอยู่ระหว่างพิจารณาวงเงินที่เหมาะสมระหว่าง 1,000-2,000 บาท และจะแจกครั้งเดียว
หรือทยอยเป็นรายเดือน เนื่องจากต้องการให้มีผลทันทีในช่วง 3-4 เดือนนี้
  • ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภา
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (GDP) ปี 63 มาที่
1.5-2.0% จากเดิมที่คาดไว้เมื่อเดือน ก.พ.63 ที่ 2.0-2.5% ขณะที่ยังคงประมาณการส่งออกและเงินเฟ้อไว้ตามเดิม จากผล
กระทบจากไวรัสโควิด-19 ที่ขยายเป็นวงกว้างทั้งต่อภาคธุรกิจและการจ้างงานโดยฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวและห่วงโซ่
การผลิตอุตสาหกรรม
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าแนวโน้มที่อ่อนแอของเศรษฐกิจไทย และผลกระทบที่มากขึ้นตามระยะเวลาการระบาด
ของโควิด-19 ต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ทำให้คาดว่าคณะ
กรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายการเงินของไทย (จากปัจจุบันที่ 1%) ลงอย่างน้อย
0.25% ในรอบการประชุมวันที่ 25 มี.ค.63
  • นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เผยศูนย์วิจัยกสิกรไทยเตรียมปรับลดคาด
การณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปี 63 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ระดับ 2.7% เนื่องจากมีแรงกดดันจากสถานการณ์การแพร่
ระบาดของไวรัสโควิด-19 นอกประเทศจีน เช่น อิตาลี สเปน ฝรั่งเศส รุนแรงเกินกว่าคาด โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจน่าจะเติบ
โตต่ำกว่า 2% ขณะที่การส่งออกจะหดตัวมากกว่าเดิมที่คาดว่าจะติดลบ 1%
  • นางลอเรตตา เมสเตอร์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาคลีฟแลนด์ ระบุการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง
ของไวรัสโควิด-19 จะถ่วงการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอย่างน้อยที่สุดในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยจะทำให้การใช้จ่ายของภาค
ครัวเรือนและภาคธุรกิจลดลง
  • ทางการจีน ออกแถลงการณ์เตือนว่าไวรัสโควิด-19 สามารถติดต่อผ่านการสัมผัสกับอุจจาระและปัสสาวะ รวมถึง
การปะปนมาในรูปแบบฝอยละอองขนาดเล็กในอากาศ หลังจากแพทย์จีนตรวจพบเชื้อดังกล่าวในอุจจาระและปัสสาวะของผู้ป่วย
  • ภาคธนาคารของจีน ให้การสนับสนุนสินเชื่อมูลค่ากว่า 1.25 ล้านล้านหยวน (ประมาณ 1.804 แสนล้านดอลลาร์)
เพื่ออำนวยความสะดวกให้ภาคการผลิตได้กลับมาดำเนินการอีกครั้ง หลังจากต้องหยุดชะงักไปเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโค
วิด-19

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ