ภาวะตลาดเงินบาท: บาทปิด 31.52/57 รีบาวน์ช่วงท้ายตลาด คาดกรอบพรุ่งนี้ 31.30-31.60

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 5, 2020 17:31 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 31.52/57 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 31.43 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทปรับอ่อนค่าจากเปิดตลาดในช่วงเช้า โดยเป็นการรีบาวน์ขึ้นมาในช่วงท้ายตลาด ทั้งนี้ตลาดรอดูตัวเลขการ จ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ (Non-Farm Payroll) ที่จะประกาศในคืนวันศุกร์นี้

นอกจากนี้ ตลาดยังติดตามสถานการณ์ที่ธนาคารกลางหลายประเทศประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายว่าจะเป็นปัจจัยที่ ทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะตัดสินใจเช่นใดในการประชุมปลายเดือน มี.ค.นี้

"ตอนนี้หลายหน่วยงานเริ่มปรับ GDP ปีนี้ลง ขณะที่ธนาคารกลางของหลายประเทศปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย คงต้องรอดู บ้านเราว่าจะตัดสินใจอย่างไร" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.30 - 31.60 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 106.70 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 107.47 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1150 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1136 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,390.83 จุด เพิ่มขึ้น 12.22 จุด (+0.89%) มูลค่าการซื้อขาย 66,807 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 4,280.51 ล้านบาท (SET+MAI)
  • กระทรวงสาธารณสุข เผยพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มอีก 4 ราย เป็นชาวต่างชาติ 2 ราย และคน
ไทย 2 ราย ทำให้มีผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 31 ราย ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 15 ราย เสียชีวิต 1 ราย และมีผู้ป่วยยืนยัน
สะสมในประเทศ รวม 47 ราย
  • กระทรวงพาณิชย์ เผยอัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ.63 อยู่ที่ 102.70 เพิ่มขึ้น 0.74% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่
ลดลง -0.08% จากเดือน ม.ค.63 โดยในช่วง 2 เดือนแรก (ม.ค.-ก.พ.) ของปี 63 เพิ่มขึ้น 0.89% ซึ่งมีปัจจัยสำคัญจาก
หมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ที่ปรับตัวสูงขึ้นในทุกกลุ่มสินค้า โดยเฉพาะอาหารสด อาหารสำเร็จรูป และเครื่อง
ประกอบอาหารที่เป็นผลจากปัญหาภัยแล้ง ขณะที่กลุ่มพลังงานกลับมาหดตัวอีกครั้งในรอบ 2 เดือน
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปี 63 ลงเหลือเติบโตแค่
0.5% จากเดิมคาดว่าจะเติบโตได้ 2.7% เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 กระทบกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่ว
โลก และคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.25% มาที่ 0.75% ในการประชุมปลาย
เดือน มี.ค.นี้ เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจควบคู่กับการดำเนินนโยบายการคลัง
  • ฝ่ายวิจัยด้านเศรษฐกิจและตลาดเงิน Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)
มองว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 1 ครั้ง 0.25% ภายในครึ่งปีแรกในการประชุม
เดือน มี.ค.นี้ จากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาดไปในหลายประเทศมากขึ้น ทำให้ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงของทั้ง
ไทยและโลกรุนแรงกว่าที่ประเมินไว้ สะท้อนจากการที่ธนาคารกลางหลาย ๆ ประเทศต่างปรับลดประมาณการเศรษฐกิจลง และ
ดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายขึ้น
  • กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) เริ่มการประชุมร่วมกับพันธมิตรนอกกลุ่มโอเปกที่นำโดยรัสเซีย เพื่อตัดสินใจ
ว่าจะขยายเวลา และขนาดของการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันออกไปอีกหรือไม่ ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีขึ้น ขณะที่ราคาน้ำมันยังคงตก
ต่ำ เนื่องจากอุปสงค์อ่อนแอลงจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว และตลาดคาดการณ์ว่าโอเปกและ
พันธมิตรจะมีมติปรับลดกำลังการผลิตลงอีก 1-1.5 ล้านบาร์เรล/วัน
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ (Beige Book) โดยระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐยัง
คงมีการขยายตัว แต่ก็เผชิญกับความเสี่ยง ทั้งจากประเด็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ และความวิตกกังวลเกี่ยวกับการแพร่
ระบาดของไวรัสโควิด-19 สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐในระยะใกล้นั้น คาดว่าจะขยายตัวได้เพียงเล็กน้อย
  • ช่วงปลายสัปดาห์นี้ สหรัฐฯ จะมีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานราย
สัปดาห์, ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.พ., ยอดส่งออก-นำเข้า-ดุลการค้าเดือนม.ค. เป็นต้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ