ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.07 อ่อนค่าต่อเนื่องหลังมีเงินไหลออกจากตลาดพันธบัตร ยังให้น้ำหนักการแพร่ระบาดโควิด-19 มองกรอบพรุ่งนี้ 32.00-32.20

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 16, 2020 18:03 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ที่ระดับ 32.07 บาท/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 31.95 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวระหว่าง 31.80-32.07 บาท/ดอลลาร์

"เงินบาทอ่อนค่าช่วงท้ายตลาด...เข้าใจว่ามีกระแสเงินทุนไหลออกอย่างต่อเนื่องจากแรงขายบอนด์ของนักลงทุนต่างชาติ"
นักบริหารเงินระบุ

สำหรับทิศทางวันพรุ่งนี้ ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทระหว่าง 32.00 - 32.20 บาท/ดอลลาร์

"ช่วงนี้ตัวเลขเศรษฐกิจออะไรก็ไม่ค่อยมีน้ำหนักเท่ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19"นักบริหารเงิน

กล่าว

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 105.84 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 107.17 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1193 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.1103 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,046.08 จุด ลดลง 82.83 จุด, -7.34% มูลค่าการซื้อขาย 68,179.26 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 5,417.39 ลบ.(SET+MAI)
  • กระทรวงสาธารณสุข แถลงพบผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มอีก 33 ราย โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกสัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อราย
เดิมทั้งในสนามมวยและสถานบันเทิงรวม 16 ราย ส่วนกลุ่มที่ 2 เป็นผู้ป่วยใหม่ (17 ราย) เดินทางมาจากต่างประเทศ และผู้ที่ทำงาน
ใกล้ชิดต่างชาติ รวมยอดผู้ป่วยยืนยันสะสม 147 ราย
  • Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 63 เป็นหด
ตัวที่ -0.3% ในกรณีฐาน (จากประมาณการเดิมที่ 1.8%) และมีความเป็นไปได้สูงที่เศรษฐกิจไทยจะเกิด technical recession ใน
ช่วงครึ่งแรกของปี โดย SCB EIC ระบุว่า ในช่วงไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 ของปี เศรษฐกิจไทยมีโอกาสหดตัวทั้งในแบบ %YoY
และ %QoQ sa เนื่องจากมีหลายปัจจัยรุมเร้า ได้แก่ การหดตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวและภาคส่งออกซึ่งจะส่งผลให้รายได้และการจ้าง
งานของแรงงานในภาคบริการและภาคอุตสาหกรรมลดต่ำลง ภัยแล้งที่รุนแรงกว่าปกติซึ่งกระทบต่อรายได้ของภาคเกษตร และงบประมาณ
จากภาครัฐที่มีแนวโน้มเบิกจ่ายได้ต่ำในช่วงไตรมาสแรกจากความล่าช้าของการอนุมัติงบประมาณรายจ่าย โดยคาดว่าการเร่งเบิกจ่ายของ
ภาครัฐทั้งในส่วนของงบลงทุนและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ จะเริ่มเข้าช่วยพยุงเศรษฐกิจได้ในช่วงไตรมาส 2 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ EIC คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ในช่วงปลายไตรมาส 3 ตามสมมติฐานนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะ ทยอยกลับมาฟื้นตัวในช่วงดังกล่าว ตลอดจนมาตรการสนับสนุนเศรษฐกิจทั้งนโยบายการคลังและนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมาก ขึ้น

  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติให้ใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติมในการประชุมฉุกเฉินวันนี้ โดยปรับเพิ่มเป้า

หมายในการซื้อพันธบัตรเพิ่มเติมอีก 2 ล้านล้านเยน และใช้กลไกในการปล่อยเงินกู้ใหม่สำหรับบริษัทเอกชน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ