ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.84 ระหว่างวันอ่อนค่าก่อนกลับมาแข็งค่าช่วงท้ายตลาด จับตาประชุมกนง.วันพรุ่งนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 24, 2020 17:38 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 32.84 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากเปิด ตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 32.87 บาท/ดอลลาร์ ตามทิศทางการไหลออกของกระแสเงินทุนต่างประเทศ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวใน กรอบ 32.77 - 32.96 บาท/ดอลลาร์

"ระหว่างวันบาทอ่อนค่าแต่ยังไม่แตะระดับ 33.00 เนื่องจากมีกระแสเงินทุนต่างประเทศไหลออก ก่อนที่จะกลับมาปิดตลาด แข็งค่าจากช่วงเช้าเล็กน้อย" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดว่า วันพรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.70 - 33.00 บาท/ดอลลาร์ โดยปัจจัยที่นักลงทุนจับตา คือการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่คาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากการประชุมนัดพิเศษ นอกจากนี้ยัง มีปัจจัยเรื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และความคืบหน้าการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 110.29 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 110.43 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.0864 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0801 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,033.84 จุด เพิ่มขึ้น 9.38 จุด, +0.92% มูลค่าการซื้อขาย 64,144.80 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,933.07 ล้านบาท (SET+MAI)
  • กระทรวงสาธารณสุข แถลงวันนี้มีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในไทยเสียชีวิตเพิ่มอีก 3 ราย รวมเป็น 4 ราย ส่วนผู้ติด
เชื้อรายใหม่มีเพิ่มขึ้น 106 ราย ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมในไทยเพิ่มเป็น 827 ราย กลับบ้านได้แล้ว 57 ราย ยังรักษาตัว
อยู่ในโรงพยาบาล 766 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่มีอาการหนัก 4 ราย
  • ครม.อนุมัติในหลักการให้อำนาจนายกรัฐมนตรีประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อควบคุม
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในวันที่ 26 มี.ค.นี้ โดยจะมีการประชุมเพื่อกำหนดมาตรการและคำสั่งต่าง ๆ ภายใต้กฎหมายดัง
กล่าวที่จะเพิ่มความเข้มข้นขึ้นตามสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลา
  • ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า มาตรการช่วยเหลือกองทุนรวมที่ได้รับผลกระทบจากการขาดสภาพคล่องใน
ตลาดการเงิน (Mutual Fund Liquidity Facility: MFLF) ได้ขยายขอบเขตให้ครอบคลุมตราสารจากทุกกองทุนที่เป็นกองทุนรวม
ตลาดเงิน (Money Market Fund: MMF) และกองทุนรวมตราสารหนี้ที่เป็นกองทุนเปิด (Daily Fixed Income Fund: Daily
FI) ด้วย ซึ่งแนวทางการให้ความช่วยเหลือสภาพคล่องจะให้ผ่านสถาบันการเงินใน 2 รูปแบบ ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษเท่ากับอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายลบร้อยละ 0.5 ต่อปี
  • รายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยผลสำรวจภาวะตลาดแรงงานไทยและแนวโน้มจากความเห็นของผู้
ประกอบการท่องเที่ยวในช่วงเดือน ก.พ.-17 มี.ค.63 พบว่าแรงงานในเกือบทุกภูมิภาคได้รับผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อ
โควิด-19 เห็นสัญญาณความเปราะบางกระจายไปยังสาขาบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว โดยมีการทยอยหยุดกิจการชั่วคราวมากขึ้น
รายได้จากการทำงานล่วงเวลาลดลง และการเปลี่ยนรูปแบบการจ้างงาน
  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติมาตรการระยะที่ 2 เพื่อลดผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ให้แก่ประชาชนที่เป็นแรง
งานนอกระบบประกันสังคม ทั้งแรงงานลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว และอาชีพอิสระ พร้อมอนุมัติชุดมาตรการดูแลและเยียวผู้ประกอบการที่ได้รับ
ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งจะมีการเสริมสภาพคล่อง และลดภาระด้านภาษีต่าง ๆ ให้
  • Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) คาดที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน
(กนง.) จะมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% ในการประชุมวันที่ 25 มี.ค.นี้ หรืออย่างช้าภายในไตรมาส 2 ปีนี้ และอาจมี
มาตรการด้านอื่นๆ ออกมาเพิ่มเติมในระยะข้างหน้า
  • สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2563 GDP ขยายตัว -2% ถึง -3% หากสถานการณ์
แพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มคลี่คลายในเดือนกันยายนนี้ ห่วงภาคการส่งออก ท่องเที่ยวและภาคธุรกิจ SMEs ที่ถูกปิดให้บริการเป็นการชั่ว
คราวเจอผลกระทบ ชี้มาตรการระยะสั้นรัฐบาลควรเร่งอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ เพื่อพยุงเศรษฐกิจ ช่วยเหลือแรงงาน เกษตรกรและ SMEs
รวมถึงมาตรการจากสถาบันการเงินเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ คาดต้องใช้เม็ดเงินอีก 4-5% ของ GDP หรือ 6.5 แสนล้านบาท และงบลงทุน
งบกลางและ งบลงทุนรัฐวิสาหกิจเพื่อแก้ไขขจัดปัญหาเศรษฐกิจรอบนี้
  • มูดี้ส์ อนาไลติกส์ เปิดเผยในรายงานล่าสุดว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลให้เกิด "สึนามิทางเศรษฐกิจ
ทั่วโลก" พร้อมระบุว่า เศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในภาวะ "ตกต่ำอย่างรุนแรง" เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลให้หลาย
ประเทศในเอเชีย ยุโรป และสหรัฐ ต้องเผชิญปัญหาชัตดาวน์ หรือภาวะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ
  • สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) คาดเศรษฐกิจโลกจะติดลบ 1.5% ในปี 2563 ท่ามกลางความวิตกเกี่ยว
กับการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องของไวรัสโควิด-19
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวชมว่า ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปฏิบัติหน้าที่ได้ดีเยี่ยม หลังจากที่เฟดใช้

มาตรการต่าง ๆ เพื่อบรรเทาความเสียหายทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ