ครม.รับทราบอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 13 กลุ่มสาขาอาชีพ มีผลบังคับใช้ 1 พ.ค. 63

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 7, 2020 16:43 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบตามที่กระทรวง แรงงานเสนอประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ(ฉบับที่ 9) จำนวน 13 กลุ่มสาขาอาชีพ/กลุ่ม อุตสาหกรรม รวม 64 สาขาอาชีพ โดยพิจารณาทบทวนอัตราค่าจ้างจากลักษณะการทำงาน การจ่ายค่าจ้างจริงในตลาดแรงงาน ความ สามารถในการจ่ายของนายจ้าง รวมทั้งสถานการณ์และสภาพข้อเท็จจริงในแต่ละสาขาอาชีพ และจัดทำร่างอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ เสนอคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 20 แล้ว โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.63 เป็นต้นไป ดังนี้

                                                                                หน่วย : บาท/วัน
          ลำดับ       กลุ่มสาขาอาชีพ/กลุ่มอุตสาหกรรม                ระดับ 1*    ระดับ 2**      ระดับ 3***
          กลุ่มสาขาอาชีพภาคบริการ
          1.ผู้ประกอบอาหารไทย                                   440         565          -
          2.พนักงานนวดไทย                                      485         640         795
          3.นักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมสปาตะวันตก (หัตถบำบัด)         540         715          -
          4.นักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมสปาตะวันตก (สุคนธบำบัด)        595         790          -
          5.นักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมสปาตะวันตก (วารีบำบัด)         625         825          -
          6.นักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมสปาตะวันตก (โภชนบำบัด)        680         900          -
          กลุ่มสาขาอาชีพช่างไฟฟ้ อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์
          7.ช่างช่อมไมโครคอมพิวเตอร์                              440         550         660
          8.ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร                                 440         550         660
          9.ช่างไฟฟ้าอุตสาหกรรม                                  440         550         660
         10.ช่างเครื่องปรับอากาศในบ้านและการพาณิชย์ขนาดเล็ก           440         550         660
         11.ช่างอิเล็กทรอนิกส์ (โทรทัศน์)                            440         550          -
          กลุ่มสาขาอาชีพช่างอุตสาหการ
         12.ช่างเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์                     510         585         740
         13.ช่างเชื่อมแม็ก                                        440         550         660
         14.ช่างเชื่อมทิก                                         505         680         855
         15.ช่างเชื่อมท่อพอลิเอทินความหนาแน่นสูง                      510          -           -
         16.ช่างประกอบท่อ                                       540          -           -
         17.ช่างทำแม่พิมพ์ฉีดโลหะ                                  530          -           -
          กลุ่มสาขาอาชีพช่างก่อสร้าง
         18.ช่างไม้ก่อสร้าง                                       425         545         670
         19.ช่างก่ออิฐ                                           380         515         645
         20.ช่างฉาบปูน                                          425         545         670
         21.ช่างอะลูมิเนียมก่อสร้าง                                 405         525         645
         22.ช่างหินขัด                                           440          -           -
         23.ช่างฉาบยิบซั่ม                                        440          -           -
         24.ช่างมุมหลังคากระเบื้องคอนกรีต                           440         565         685
          กล่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
         25.พนักงานประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง                      400         475          -
         26.พนักงานประกอบมอเตอร์สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า                410         490          -
         27.ช่างเทคนิคบำรุงรักษาเครื่องจักรกลสำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้า      455         540          -
            และอิเล็กทรอนิกส์
         28.ช่างเทคนิคระบบรักษาความปลอดภัย                        440         530          -
          กลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ และกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์
         29.ช่างกลึงสำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์                440         530          -
         30.ช่างเชื่อมมิก-แม็กสำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์         440         530          -
         31.ช่างเทคนิคบำรุงรักษาเครื่องจักรกลสำหรับอุตสาหกรรมผลิต       440         530          -
            ชิ้นส่วนยานยนต์
         32.ช่างเทคนิคเครื่องกลึงอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วน      440         530          -
            ยานยนต์
         33.ช่างเทคนิคพ่นสีตัวถังสำหรับอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์             440         530          -
         34.ช่างเทคนิคพ่นซีลเลอร์ตัวถังสำหรับอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์        440         530          -
         35.พนักงานประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ยานยนต์ (ขั้นสุดท้าย)            440         530          -
         36.ช่างเทคนิคเชื่อมสปอตตัวถังสำหรับอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์        440         530          -
          กลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณี
         37.ช่างเจียระไนพลอย                                    465         605          -
         38.ช่างหล่อเครื่องประดับ                                  465         605          -
         39.ช่างตกแต่งเครื่องประดับ                                465         605          -
         40.ช่างฝังอัญมณีบนเครื่องประดับ                             465         605          -
          กลุ่มอุตสาหกรรมจักรกลและโลหะการ
         41.ช่างเทคนิคเขียนแบบเครื่องกล                            510         605          -
         42.ช่างเชื่อมทิกสำหรับอุตสาหกรรมจักรกลและโลหะการ            550         660          -
         43.ช่างเทคนิคระบบส่งกำลัง                                495         595          -
         44.ช่างเทคนิคระบบไฮโดรลิก                               510         605          -
          กล่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น
         45.ช่างเชื่อมระบบท่อในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่อง     440         535          -
            ทำความเย็น
         46.ช่างเทคนิคเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่                      425         520          -
         47.ช่างเทคนิคห้องเย็นขนาดเล็ก                             425         520          -
         48.พนักงานประกอบเครื่องปรับอากาศ                         410         505          -
          กลุ่มอตสาหกรรมแม่พิมพ์
         49.ช่างเทคนิคเครื่องกัดอัตโนมัติ                             495         595          -
         50.ช่างเทคนิคเครื่องอีดีเอ็ม                                475         570          -
         51.ช่างเทคนิคเครื่องไวร์คัทอีดีเอ็ม                           475         570          -
         52.ช่างขัดเงาแม่พิมพ์                                     420         505          -
          กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก
         53.พนักงานหลอมเหล็กเตาอาร์คไฟฟ้า                         515         620          -
         54.พนักงานปรุงแต่งน้ำเหล็กในเตาปรุงน้ำเหล็ก (Ladle Furnace)  535         640          -
         55.พนักงานหล่อเหล็ก                                     490         600          -
         56.พนักงานควบคุมการอบเหล็ก                              470         575          -
          กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก
         57.ช่างเทคนิคเครื่องฉีดพลาสติก                             405         480          -
         58.ช่างเทคนิคเครื่องเป่าถุงพลาสติก                          405         480          -
         59.ช่างเทคนิคเครื่องเป่าภาชนะกลวง                         405         480          -
         60.ช่างเทคนิคการซ่อมเครื่องเป่าถุงพลาสติก                    440         515          -
          กลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้า
         61.พนักงานตัดวางรองเท้า                                 395         435          -
         62.พนักงานอัดพื้นรองเท้า                                  405         450          -
         63.ช่างเย็บรองเท้า                                      405         450          -
         64.พนักงานประกอบรองเท้า (เย็น)                          385         415          -

          *มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ระดับ 1 : ผู้เข้ารับการทดสอบต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และมีประสบการณ์การทำ
งานในสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้อง หรือผ่านการฝึกฝีมือแรงงาน หรือฝึกอาชีพ หรือเป็นผู้จบการศึกษาในสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้อง
          **มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ระดับ 2 : ผู้เข้ารับการทดสอบต้องมีประสบการณ์การทำงาน หรือประกอบอาชีพในสาขา
อาชีพที่เกี่ยวข้องนับตั้งแต่ได้รับหนังสือรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติระดับ 1 (ไม่น้อยกว่า 1-2 ปี) หรือได้คะแนนในการทดสอบฯ
ระดับ 1 ไม่ต่ำกว่า 80%
          ***มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ระดับ 3 : ผู้เข้ารับการทดสอบต้องมีประสบการณ์การทำงาน หรือประกอบอาชีพในสาขา
อาชีพที่เกี่ยวข้องนับตั้งแต่ได้รับหนังสือรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติระดับ 2 (ไม่น้อยกว่า 1-2 ปี) หรือได้คะแนนในการทดสอบฯ
ระดับ 2 ไม่ต่ำกว่า 80%

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ