นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติหลักการร่าง พระราชกฤษฎีกากำหนดผู้ใช้พลังงานไฟฟ้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ โดยสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าว กำหนดให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สามารถจัดส่งหรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้พลังงานไฟฟ้าที่เป็นผู้ใช้ บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าของ กฟผ.
ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานนำเสนอข้อมูลว่าด้วยนโยบาย Thailand 4.0 ที่กำหนดให้ยานยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่หรือยานยนต์ที่ขับ เคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนการปฏิรูป ประเทศ ข้อ 3.6 ด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐานซึ่งส่งเสริมให้มีการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าประเทศไทย ประกอบกับ กระทรวงพลังงานได้มีนโยบาย Energy 4.0 ในการออกมาตรการสนับสนุนต่าง ๆ และการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานด้วย การให้เงินทุนสนับสนุนการก่อสร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้า
กฟผ. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัดกระทรวงพลังงาน เป็นส่วนหนึ่งในการตอบสนองนโยบายภาครัฐในการส่งเสริมการใช้ งานยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยมีบทบาทในการจัดเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Preparation) เช่น กำหนดมาตรฐานของสถานีอัดประจุไฟฟ้าและยานยนต์ไฟฟ้า ดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบรวดเร็วและ โครงการนำร่องสาธิตการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและสถานีอัดประจุไฟฟ้า นอกจากนี้ ในอนาคต กฟผ. จะนำยานยนต์ไฟฟ้า (EV) มาใช้ใน กิจการทุกภาคส่วนของ กฟผ. ผ่านแผนแม่บทการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าของ กฟผ. เพื่อส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร ทำให้เกิด การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องในประเทศ
โครงการนำร่องสาธิตการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและสถานีอัดประจุไฟฟ้า ซึ่งเป็นแผนส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าของกฟผ. เพื่อ รองรับแผนขับเคลื่อนภารกิจด้านพลังงานในการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2559 – 2579 ซึ่งได้ดำเนินการ โครงการใช้งานรถมินิบัสไฟฟ้าและสถานีอัดประจุไฟฟ้า ในพื้นที่สำนักงาน กฟผ. และโรงไฟฟ้า กฟผ. จำนวน 8 แห่ง ดังนี้
สถานที่ มินิบัสไฟฟ้า(คัน) Quick Charger(สถานี) Normal Charger(สถานี) 1. โรงไฟฟ้าวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 1 1 1 2. โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง 2 2 2 3. โรงไฟฟ้าน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น 1 1 1 4. โรงไฟฟ้าบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา 1 1 1 5. โรงไฟฟ้าจะนะ จังหวัดสงขลา 1 1 1 6. โรงไฟฟ้าลำตะคองฯ จังหวัดนครราชสีมา 1 1 1 7. โรงไฟฟ้าเขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี 1 1 1 8. สำนักงานกลาง และศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. จังหวัดนนทบุรี 3 4 3 รวม 11 12 11
กฟผ. พิจารณาแล้วเห็นว่า โดยที่ในปัจจุบัน กฟผ. ไม่สามารถให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าของ กฟผ. เพื่อจำหน่ายพลังงาน ไฟฟ้าให้แก่บุคคลทั่วไปได้ ดังนั้น เพื่อสนองต่อนโยบายภาครัฐดังกล่าวข้างต้น เสริมสร้างภาพลักษณ์ในการเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมพลังงาน ไฟฟ้า และเพื่อให้การใช้ทรัพยากรของ กฟผ.เกิดประโยชน์สูงสุด สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกากำหนดผู้ใช้พลังงานไฟฟ้า พ.ศ. 2512 เพื่อกำหนดให้ผู้ใช้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าของ กฟผ.เป็นผู้ใช้พลังงานไฟฟ้า อันจะทำให้ กฟผ.สามารถนำสถานีอัดประจุไฟฟ้ามา ดำเนินการในเชิงพาณิชย์กับยานยนต์ของประชาชนได้ คณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 26 พ. ย.61 จึงมีมติเห็นชอบกับการแก้ไขพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
อย่างไรก็ดี ผลกระทบของการดำเนินงานของ กฟผ.ดังกล่าว จะเป็นการลดภาระการก่อสร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้าให้กับหน่วย งานภาครัฐและภาคเอกชนที่จะนำยานยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในกิจการ ซึ่ง กฟผ. มีศักยภาพในการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานด้านสถานีอัดประจุไฟฟ้า ที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพในการให้บริการ
ทั้งนี้ จะมีการตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าในทุกพื้นที่และทุกภาคของประเทศทำให้คนไทยทุกคนมีสิทธิเข้าถึงและสามารถใช้ประโยชน์ ได้อย่างเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ การใช้พลังงานไฟฟ้าจะสามารถลดการปล่อยมลพิษที่มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์จึงช่วยลด ปัญหาเรื่องมลภาวะและภาวะโลกร้อนได้ จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดผู้ใช้พลังงานไฟฟ้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... มาเพื่อ ดำเนินการ