ภาวะตลาดเงินบาท: เปิดตลาด 32.45 อ่อนค่าจากเย็นวันอังคาร วิตกตัวเลขศก.แต่ละประเทศ คาดกรอบวันนี้ 32.30-32.50

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 7, 2020 09:41 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 32.45 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ปิดตลาดช่วงเย็นวันอังคารที่ระดับ 32.39 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากนักลงทุนปิดรับความเสี่ยงจากความกังวลเรื่องสงครามการค้า รอบใหม่ระหว่างสหรัฐกับจีน ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจของแต่ละประเทศที่ประกาศออกมามีทิศทางแย่ลง

"บาทอ่อนค่าจากช่วงปิดตลาดเมื่อวันอังคาร เนื่องจากนักลงทุนปิดรับความเสี่ยงจากความกังวลเรื่องสงครามการค้า รอบใหม่ ทิศทางบาทวันนี้น่าจะแกว่งตัวในกรอบ" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ระหว่าง 32.30-32.50 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (5 พ.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.49259% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.70633%

*ปัจจัยสำคัญ

  • เงินเยนอยู่ที่ 106.28 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันอังคารที่ระดับ 106.79 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.0797 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันอังคารที่ระดับ 1.0848 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 32.3810 บาท/
ดอลลาร์
  • ที่ประชุม กกร.วันนี้ เตรียมพิจารณาปรับลดเป้าหมายตัวเลขการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
(GDP) ของประเทศไทยในปีนี้ลง หลังเผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
  • คณะผู้นำจีนกำลังพิจารณายกเลิกการกำหนดเป้าหมาย GDP ของจีนประจำปี 2563 ในการประชุมสภาประชาชนแห่ง
ชาติจีน (NPC) หรือ "ฉวนกั๋วเหรินต้า" ชุดที่ 13 ครั้งที่ 3 ในวันที่ 22 พ.ค.นี้ เนื่องจากการแพร่ระบาดทั่วโลกของไวรัสโควิด-
19 ทำให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนเผชิญกับความไม่แน่นอน
  • ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีประชุมนโยบายการเงินและแถลงมติอัตราดอกเบี้ยในวันนี้ ขณะที่นักลงทุนคาดว่า
BoE จะตรึงดอกเบี้ยหลังปรับลดสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา
  • สหรัฐประกาศจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ในวันนี้ ขณะที่จะประกาศตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร
เดือนเม.ย. และสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนมี.ค.ในวันพรุ่งนี้ (8 พ.ค.)
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (6 พ.ค.) ทำสถิติปิดในแดนลบเป็นวันแรกใน
รอบ 6 วันทำการ เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะน้ำมันล้นตลาด แม้มีรายงานว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐเพิ่มขึ้นน้อยกว่า
ตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์และการผลิตน้ำมันดิบปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่ผ่านมาก็ตาม โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.
ย. ลดลง 57 เซนต์ หรือ 2.3% ปิดที่ 23.99 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงหลุดจากระดับ 1,700 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้ (6 พ.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากการ
แข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และจากการที่นักลงทุนเทขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากมีรายงานว่า รัฐต่างๆในสหรัฐ
ได้เริ่มกลับมาเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง โดยสัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ร่วงลง 22.1
ดอลลาร์ หรือ 1.29% ปิดที่ 1,688.5 ดอลลาร์/ออนซ์
  • สกุลเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (6 พ.
ค.) หลังจากมีรายงานว่า ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมนีขีดเส้นตายเป็นเวลา 3 เดือนให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ชี้แจงการซื้อ
สินทรัพย์ตามมาตรการ QE โดยยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0803 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0851 ดอลลาร์
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของจีนซึ่งมาร์กิตจัดทำร่วมกับไฉซิน อยู่ที่ระดับ 44.4 ในเดือนเม.ย.
ซึ่งแม้ว่าปรับตัวขึ้นจากระดับ 43 ในเดือนมี.ค. แต่ดัชนีที่เคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่า ภาคบริการของจีนยังคงอยู่ในภาวะหด
ตัว โดยภาคบริการของจีนอยู่ในภาวะหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 เนื่องจากอุปสงค์ที่ชะลอตัวลงทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
อันเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
  • สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ประเมินสถานการณ์รายอุตสาหกรรมเป็น 3 กลุ่มถึงโอกาสในการ
ฟื้นตัวในตลาดโลก เพื่อเสนอให้รัฐบาลหามาตรการช่วยเหลือทางด้านการเงิน เบื้องต้นพบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีโอกาสฟื้นตัวได้เร็ว
ที่สุด หรือฟื้นตัวในลักษณะรูปตัววี เริ่มตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 2-3 ของปี 63 มีด้วยกัน 6 กลุ่ม ประกอบด้วยอาหาร, เครื่องจักร,
อิเล็กทรอนิกส์, ผลิตภัณฑ์พลาสติก, ผลิตภัณฑ์ยาง (เฉพาะกลุ่มเวชภัณฑ์การแพทย์, และชิ้นส่วนยานยนต์) เนื่องจากกลุ่มคำสั่งซื้อต่อ
เนื่องและจะเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการสินค้าในหลายๆ ตลาด
  • "แบงก์พาณิชย์" ส่อลดสาขาเพิ่ม หลังวิกฤติโควิด เหตุพฤติกรรมลูกค้าเริ่มเปลี่ยน หันใช้โมบายแบงกิ้งมากขึ้น "เอส
ซีบี" ชี้ "โควิด-19" เร่งให้สาขาแบงก์ลดลงเร็วขึ้น "กสิกร" เตรียมจัดวางกำลังคนใหม่ เร่งรีสกิลสร้างแวลูให้พนักงาน
ขณะ "กรุงศรี-กรุงเทพ" ยอมรับสาขายังจำเป็น แต่จำนวนส่อลดลง ด้าน "ศูนย์วิเคราะห์ทีเอ็มบี" เผย ตั้งแต่ต้นปี 2563 สาขา
แบงก์ลดลงแล้ว 73 สาขา ขณะรอบ 1 ปีที่ผ่านมา "ไทยพาณิชย์" ลดมากสุดถึง 113 สาขา

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ