นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการ ร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.) ประจำเดือน พ.ค.63 เปิดเผยว่า ที่ประชุม กกร.ได้พิจารณาปรับลดคาดการณ์อัตราการเติบโตทาง เศรษฐกิจ (GDP) ของประเทศไทยในปีนี้จะหดตัว -3% ถึง -5% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือน มี.ค.ว่าจะเติบโตที่ระดับ 1.5-2.0% หลังจากในช่วงไตรมาส 1/63 คาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัว -5% ขณะที่การส่งออกทั้งปีประเมินว่าจะหดตัว -5% ถึง -10%
"กกร.ประเมินจากสถานการณ์ต่างๆ รวมถึงมาตรการเยียวยาของภาครัฐแล้วคาดว่า GDP ปีนี้จะหดตัวที่ระดับ -3% ถึง - 5% ซึ่งน้อยกว่า IMF ที่คาดการณ์ไว้ที่ -6.7%" นายสุพันธุ์ กล่าว
ประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในลักษณะ V shape คงไม่สามารถเกิดขึ้นได้สถานการณ์ในขณะนี้ คง ชะลอออกไปถึงระยะกลางและระยะยาว โดยเฉพาะการฟื้นตัวของกลุ่มอุตสาหกรรมท่องเที่ยวคงเป็นเรื่องในระยะยาว คาดว่าน่าจะเป็น ช่วงปีหน้าหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลกคลี่คลาย และมีการผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ออกใช้งานได้แล้ว
"ภายในปีนี้คงยังเงยหัวไม่ขึ้น ต้องรอดูสถานการณ์แพร่ระบาดทั่วโลก และความคืบหน้าในการผลิตวัคซีนออกมาใช้ คง ต้องรอปีหน้า" นายสุพันธุ์ กล่าว
สำหรับแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจนั้น กกร.เคยมีข้อเสนอต่อภาครัฐ 34 เรื่อง โดยภาครัฐได้ดำเนินการไปแล้ว 11 เรื่อง อยู่ระหว่างพิจารณา 11 เรื่อง และยังไม่ได้พิจารณา 12 เรื่อง ซึ่งหากมีโอกาสจะนำเสนอต่อภาครัฐอีกครั้ง
นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในวันศุกร์นี้ผู้ ประกอบการจะไปหารือกับกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด หากมีการผ่อนปรนมาตรการระยะสอง ซึ่ง เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงปานกลาง เช่น ห้างสรรพสินค้า ทั้งนี้ภาคเอกชนพร้อมที่จะร่วมมือกับภาครัฐ โดยเฉพาะมาตรการทำงานที่บ้าน ไม่ต่ำกว่า 50% ออกไปอีก 1 เดือน
กรอบประมาณการเศรษฐกิจปี 2563 ของ กกร. %YoY ปี 2562 ปี 2563(ณ มี.ค. 63) ปี 2563(ณ พ.ค. 63) GDP 2.4 1.5-2.0 -5.0% ถึง -3.0% ส่งออก -2.7 -2.0 ถึง 0.0 -10.0% ถึง -5.0% เงินเฟ้อ 0.7 0.8-1.5 -1.5% ถึง 0.0%
ประธาน ส.อ.ท.กล่าวถึงประเด็นของการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership :CPTPP)ของไทย ว่า ที่ประชุม กกร.ขอให้ตั้งคณะทำงานร่วม ระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยให้มีทั้งฝ่ายเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในเนื้อหาและจุดยืนในการเจรจาครั้งนี้ว่าประเทศจะได้ประโยชน์หรือ เสียประโยชน์ในเรื่องใดบ้าง เพื่อจะได้เสนอข้อมูลให้ภาครัฐได้ทราบจุดยืนที่ชัดเจนมากขึ้น
ทั้งนี้ กกร.มีคณะทำงานที่มาจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่จะประชุมเพื่อหาข้อ สรุปในประเด็นด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ CPTPP ภายใน 1 เดือน