นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.06/07 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเล็กน้อย จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.09 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยที่ส่งผลต่อตลาดมากนัก แม้ ศบค.จะประกาศผ่อนคลาย มาตรการล็อกดาวน์ระยะที่ 2 แต่เนื่องจากตลาดรับข่าวนี้มาล่วงหน้าระยะหนึ่งแล้ว
"วันนี้บาทค่อนข้างนิ่งๆ ไม่มีปัจจัยอะไรมาก เรื่องผ่อนคลายล็อกดาวน์ระยะที่ 2 ตลาดก็รับรู้ข่าวมาบ้างแล้ว จึงไม่ค่อยมีผล อะไร" นักบริหารเงินระบุ
ขณะที่สัปดาห์หน้าต้องติดตามปัจจัยในประเทศที่สำคัญจากสภาพัฒน์ คือ การรายงานตัวเลข GDP ไตรมาส 1/63 และแนวโน้ม เศรษฐกิจไทยปี 63-64 ส่วนปัจจัยต่างประเทศ ต้องติดตามการรายงานการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคาร กลางสหรัฐ (FOMC)
นักบริหารเงิน คาดว่าสัปดาห์หน้าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.80 - 32.20 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 107.00/10 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 107.26 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0804/0826 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0802 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,280.76 จุด เพิ่มขึ้น 0.36 จุด (+0.03%) มูลค่าการซื้อขาย 50,660 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,635.58 ลบ.(SET+MAI)
- โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กล่าวว่า ที่ประชุมศบค.ชุดใหญ่ที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายก
อีกทั้งเห็นชอบให้ปรับเวลาการห้ามออกนอกเคหะสถาน (เคอร์ฟิว) เป็น 23.00-04.00 น. จากเดิม 22.00-04.00 น.
- สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ว่า พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่ 7 ราย เป็นชาย 6
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) เริ่มทยอยโอนเงินช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการ
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดทำเว็บไซต์ BOT COVID-19 ขึ้น ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ประชาชนและผู้
- รัฐมนตรีการค้าและการลงทุนของกลุ่มประเทศ G20 ประกาศเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า จะร่วมมือกันเพื่อลดผลกระทบของ
- ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เปิดเผยรายงานใหม่ในวันนี้ว่า เศรษฐกิจโลกอาจเผชิญกับความเสียหายคิดเป็น
- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานในวันนี้ว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย.ปรับตัวขึ้น 3.9% เมื่อเทียบ
- สัปดาห์หน้า สหรัฐจะมีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนพ.ค., คณะกรรมการ
กำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) เปิดเผยรายงานการประชุมวันที่ 28-29 เม.ย., จำนวนผู้ขอรับ
สวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตและภาคบริการขั้นต้นเดือนพ.ค., ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ
เดือนเม.ย. จาก Conference Board