ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า สถานการณ์กุ้งตกต่ำตั้งแต่ต้นปี 2563 โดยราคากุ้งขาวขนาดกลาง (70ตัว/กก.) ที่เกษตรกรขาย ได้ปรับลดลงตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 จาก 145.24 บาท/กก. ล่าสุดเดือนเมษายน 2563 ราคาตกไปอยู่ที่ 130.00 บาท/กก. ซึ่งเป็น อัตราการขยายตัวที่ลดลงจากเดือนก่อน 2.7% (MoM) และหากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลง 0.9% (YoY)โดยมีสาเหตุ หลักมาจากอุปทานส่วนเกินหรือผลผลิตมีมากกว่าความต้องการบริโภคในระดับที่มาก จากการที่เกษตรกรวางแผนการผลิตไว้ แต่ไม่สามารถ ระบายผลผลิตไปสู่ตลาดปลายทางได้ จึงทำให้เกษตรกรประสบปัญหากุ้งล้นบ่อ นำมาสู่ภาวะราคาตกต่ำ แม้ว่าจะเริ่มควบคุมกำลังการผลิตลง บางส่วนตั้งแต่เดือน ม.ค. แล้วก็ตาม
โดยข้อมูลล่าสุดจากกรมประมงพบว่า ภาพรวมของปริมาณผลผลิตกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2563 อยู่ที่ 34,117 ตัน หดตัว 3.8% (YoY) ขณะที่ในเดือน ก.พ. 2563 ปริมาณผลผลิตกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงยังขยายตัว 3.1% (YoY) และมีแนว โน้มว่าในเดือน มี.ค. 2563 ก็อาจจะยังเพิ่มขึ้น จนทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมเสนออนุมัติมาตรการช่วยเหลือผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่ การผลิตผ่านโครงการรักษาเสถียรภาพราคากุ้ง ปี 2563 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
โครงการรักษาเสถียรภาพราคากุ้ง ปี 2563 วิธีการ ใช้วิธีชดเชยส่วนต่างราคาซื้อขายกับราคาเป้าหมายนำตลาด งบประมาณเบื้องต้น ไม่เกิน 2,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ เบื้องต้น 3 เดือน ในจังหวัดที่เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล เป้าหมาย ผลผลิตกุ้งที่รับซื้ออยู่ที่ 45,900 ตัน (เฉพาะกุ้งทะเลเพาะเลี้ยง) เฉลี่ยเดือนละประมาณ 15,300 ตัน ประกอบด้วย 1) กุ้งแวนนาไม 45,000 ตัน เฉลี่ยเดือนละ 15,000 ตัน 2) กุ้งกุลาดำ 900 ตัน เฉลี่ยเดือนละ 300 ตัน ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ 1) เกษตรกรไม่น้อยกว่า 4,590 ราย 2) ธุรกิจห้องเย็น-โรงงานแปรรูปไม่น้อยกว่า 20 โรง
ทั้งนี้ แผนการแก้ไขปัญหาอุปทานส่วนเกินของกุ้ง ผ่านโครงการรักษาเสถียรภาพราคากุ้งปี 2563 น่าจะช่วยพยุงราคากุ้งให้ ขยับขึ้นในระดับหนึ่ง: หากย้อนไปพิจารณามาตรการช่วยเหลืออุตสาหกรรมกุ้งของภาครัฐจากสถานการณ์ราคากุ้งตกต่ำในอดีตที่ผ่านมา พบ ว่า มีอยู่ 2 วิธีคือ (1) การจำนำกุ้ง เช่น โครงการแทรกแซงตลาดกุ้งขาวแวนนาไมในปี 2552 ซึ่งวิธีนี้แม้ว่าจะสามารถช่วยเกษตรกรได้ ทันท่วงที แต่ผลที่ตามมาคือด้วยแรงจูงใจด้านราคาจากการรับจำนำ จึงทำให้ปริมาณผลผลิตพุ่งสูงต่อเนื่อง ปัญหาอุปทานส่วนเกินไม่ได้ลดลง แต่กลับเพิ่มสูงขึ้น ส่วนราคากุ้งในตลาดก็ไม่ได้กระเตื้องหรือขยับสูงขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนมีโครงการ (2) การชดเชยส่วนต่างราคาซื้อขายกับ ราคาเป้าหมายนำตลาด เช่น โครงการรักษาเสถียรภาพกุ้งในปี 2555 วิธีการนี้สามารถชะลอปริมาณผลผลิตส่วนเกินที่จะออกสู่ตลาดได้ ใน ขณะที่ราคากุ้งก็ทยอยปรับขึ้น ซึ่งช่วยแก้ไขปัญหาอุปทานส่วนเกินได้
มาตรการช่วยเหลืออุตสาหกรรมกุ้ง ปี 2552 2555 2563* วิธีการ รับจำนำ ชดเชยส่วนต่างราคากุ้ง ชดเชยส่วนต่างราคากุ้ง ปริมาณผลผลิต (ตัน) 15,000 30,000 45,900 ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 เดือน** 3 เดือน** 3 เดือน** ขนาด 40-80 ตัว/กก. 40 ตัว/กก. ขึ้นไป ไม่ระบุ ราคา รับจำนำในราคาเฉลี่ยอยู่ที่ ชดเชยส่วนต่างของราคา ชดเชยส่วนต่างของราคา 100-155 บาท/กก. เป้าหมายนำตลาดและราคา เป้าหมายนำตลาดและราคา รับซื้อเฉลี่ยอยู่ที่ 5-15 บาท/กก. รับซื้อเฉลี่ยอยู่ที่ 30-50 บาท/กก.*** ที่มา: รวบรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย หมายเหตุ: * ข้อมูลเบื้องต้นจากคณะกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกุ้งไทย ซึ่งเงื่อนไขอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามมติคณะรัฐมนตรี ** ครอบคลุมช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก *** ข้อมูลเบื้องต้นจากเครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้งไทย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า โครงการรักษาเสถียรภาพกุ้งในปี 2563 โดยวิธีชดเชยส่วนต่างราคาซื้อขายกับราคาเป้าหมายนำ ตลาด ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าน่าจะไม่ต่ำกว่า 30 บาท/กก. อาจจะช่วยพยุงราคากุ้งให้ปรับขึ้นได้ในช่วงเดือนกลางปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่มี ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดมาก อย่างไรก็ดี ด้วยการกำหนดปริมาณผลผลิตกุ้งที่จะเข้าร่วมโครงการที่ค่อนข้างจำกัดเมื่อเทียบกับผลผลิตรวม หรืออยู่ที่ 45,900 ตัน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 15 ของปริมาณผลผลิตทั้งหมดต่อปี อาจทำให้ปริมาณผลผลิตกุ้งที่เหลือยังถูกซื้อในราคา ตลาดซึ่งมีราคาที่ต่ำกว่า บ่งชี้ให้เห็นว่า มาตรการดังกล่าวสามารถช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบได้ระดับหนึ่ง ขณะที่อุปทานส่วนเกิน อาจจะยังคงอยู่ในช่วงที่เหลือของปีหลังหมดระยะเวลารับซื้อกุ้งตามแผนดำเนินโครงการแล้ว
สำหรับในช่วงครึ่งหลังปี 2563 อุปทานกุ้งส่วนเกินน่าจะยังคงอยู่แม้ลดระดับลง จากความต้องการกุ้งในตลาดที่น่าจะทยอยกลับ มาฟื้นตัวได้บ้าง และผลผลิตกุ้งที่ชะลอลง ส่งผลให้แม้ราคากุ้งน่าจะยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ก็คงจะฟื้นจากจุดต่ำสุด: ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อ ราคากุ้งในช่วงครึ่งหลังปี 2563 ได้แก่
(1) สัญญาณคำสั่งซื้อจากตลาดส่งออกสำคัญ ซึ่งอาจมีเพียงตลาดจีนที่เติบโตได้ โดยตลาดส่งออกอันดับ 1 อย่างสหรัฐฯ นั้น คาดว่าปริมาณผลผลิตกุ้งที่ส่งออกจะยังหดตัวต่อไปอีกในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 จากกำลังซื้อผู้บริโภคที่อ่อนแรงและธุรกิจปลายทางอย่าง ร้านอาหารที่คาดว่าอาจยังไม่กลับมาฟื้นตัวอย่างเต็มรูปแบบ ในขณะที่การส่งออกไปยังญี่ปุ่น การยกเลิกการแข่งขันโอลิมปิก ทำให้คำสั่งซื้อใน ปีนี้ซึ่งเดิมคาดว่าจะกระเตื้องมากขึ้นจากปีก่อน อาจจะหดตัวต่อไปอีก ในขณะที่ จีน คงจะเป็นตลาดศักยภาพที่เป็นความหวังสำหรับการส่ง ออกกุ้งในปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะยังเติบโตได้จากความต้องการผลิตภัณฑ์กุ้งในจีนที่ยังเติบโตสูงต่อเนื่อง เนื่องจากผู้บริโภคชาวจีนให้ความนิยมกุ้ง จากการเป็นเนื้อสัตว์ที่มีโภชนาการสูง ขณะที่กำลังการผลิตในประเทศไม่เพียงพอ โดยคำสั่งซื้อกุ้งจากจีนในช่วงครึ่งหลังปี 2563 น่าจะ ขยายตัวเมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่อนคลาย
อย่างไรก็ดี จากการคาดการณ์ของ FAO ที่ระบุว่า ผลผลิตกุ้งโลกในปี 2563 น่าจะปรับเพิ่มขึ้นราว 6% (YoY) อาจกดดันให้ ราคากุ้งในตลาดโลกปีนี้มีแนวโน้มยังคงอ่อนตัวลง ส่งผลให้การส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยในทุกตลาด ต้องเจอความท้าทายเพิ่มเติมจากการ แข่งขันด้านราคา
(2) การฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหารและโรงแรมในห่วงโซ่ ของการภาคการท่องเที่ยว แม้มีความเป็นไปได้ว่าสถานการณ์อาจจะกลับมาดีขึ้นกว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 แต่บรรยากาศในการจับ จ่ายใช้สอยของผู้บริโภคคงไม่เหมือนก่อนเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั้งในเรื่องของจำนวนผู้ใช้บริการเฉลี่ยต่อวันและ มูลค่าการใช้บริการต่อมื้อของผู้บริโภคที่ลดลง ทำให้ความต้องการวัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหารอย่างกุ้ง อาจจะยังไม่เพิ่มขึ้นอย่าง ชัดเจน โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่น่าจะได้รับผลกระทบรุนแรง เช่น ร้านอาหารเต็มรูปแบบ (Full Service Restaurant) ที่ตั้งอยู่ในห้าง สรรพสินค้า โรงแรมและสถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหารประเภทบุฟเฟต์ และสวนอาหารประเภทต่างๆ เป็นต้น
(3) ผลผลิตกุ้งที่มีแนวโน้มชะลอลงในช่วงที่เหลือของปีนี้: เนื่องจากเกษตรกรบางส่วนวางแผนลดปริมาณการผลิตในรอบต่อ ไป อาทิ ลดพื้นที่เลี้ยง ลดจำนวนลูกพันธุ์และชะลอการลงลูกกุ้งลงกว่า 50% ของช่วงเวลาปกติ และผลจากความรุนแรงของภัยแล้งและ สภาพอากาศที่แปรปรวนในปีนี้ที่อาจกระทบปริมาณผลผลิตกุ้งออกสู่ตลาดในช่วงปลายปี (ต.ค.-พ.ย.) ทำให้คาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ปริมาณผลผลิตกุ้งจะหดตัวลงเมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก
ดังนั้น สถานการณ์อุปทานกุ้งส่วนเกินจึงมีแนวโน้มลดระดับลง ซึ่งจะช่วยพยุงให้ราคากุ้งที่เกษตรขายได้หน้าฟาร์มน่าจะขยับขึ้น จากจุดต่ำสุด แต่ก็คงจะอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับปีก่อน ทั้งนี้ ในเบื้องต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ราคากุ้งขาวเฉลี่ยทุกไซส์หน้า ฟาร์ม ปี 2563 น่าจะอยู่ที่ระดับ 130-140 บาท/กก. เมื่อเทียบกับปีก่อนที่ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 141.71 บาท/กก. หดตัวอยู่ในช่วง 1.0 ถึง 8.0% (YoY)
ในสภาวะราคากุ้งที่อยู่ในระดับต่ำ คงจะยังเป็นแรงกดดันต่อเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้ง ซึ่งมาตรการเยียวยาจากภาครัฐคงช่วย บรรเทาผลกระทบได้ระดับหนึ่ง สำหรับธุรกิจแปรรูปกุ้งนั้น แม้ราคากุ้งที่อยู่ในระดับต่ำ อาจเป็นผลบวกจากต้นทุนวัตถุดิบ อย่างไรก็ดี ผู้ ประกอบการยังเผชิญความท้าทายอยู่มากจากสภาวะตลาดที่ยังไม่เอื้ออำนวย จึงยังจำเป็นต้องเร่งปรับกลยุทธ์ ซึ่งแนวทางหนึ่งคือการพัฒนา ผลิตภัณฑ์กุ้งแปรรูปที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ทั้งในมิติด้านราคา คุณภาพ และความสะดวกหรือง่ายต่อ การบริโภค ท่ามกลางสถานการณ์ตลาดฝั่งธุรกิจหรือ Business-to-Business (B2B) ที่การฟื้นตัวต้องใช้เวลาอีกพอสมควร