นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.02/04 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเล็กน้อย จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.06 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทวันนี้โดยรวมแล้วค่อนข้าง sideway เคลื่อนไหวในกรอบ 32.00-32.06 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งแม้วันนี้สภาพัฒน์จะเปิด เผย GDP ไตรมาส 1 ที่ลดลง -1.8% และปรับลด GDP ทั้งปีลงเหลือ -5.5% ก็ไม่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินมากนัก เพราะใน ส่วนของ GDP ไตรมาส 1 ที่ออกมายังลดน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้
ทั้งนี้ ตลาดมองไปถึงการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันพุธนี้ และยังมีน้ำหนักได้ทั้ง 2 ทาง คือคง ดอกเบี้ย และลดดอกเบี้ยลง เนื่องจากส่วนหนึ่งมองว่าการลดดอกเบี้ยในช่วงนี้ก็ไม่ได้ส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจได้มากนัก แต่กลับจะยิ่งทำให้มี หนี้เสียเพิ่มมากขึ้น ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งมองว่า กนง.รอบนี้มีโอกาสจะลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25%
"ตอนนี้ตลาดจับตาประชุม กนง.วันพุธนี้ ซึ่งก็ยังมี 50:50 ว่าอาจจะลดดอกเบี้ย หรืออาจจะคงดอกเบี้ยก็ได้ เพราะการลด ดอกเบี้ยตอนนี้ ก็ไม่ได้มีผลต่อเศรษฐกิจมากนัก" นักบริหารเงินระบุ
นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.90 - 32.15 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 107.29/30 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 107.13 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0808/0809 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0821 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,286.53 จุด เพิ่มขึ้น 5.77 จุด (+0.45%) มูลค่าการซื้อขาย 55,905 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,085.99 ลบ.(SET+MAI)
- สภาพัฒน์ เผย GDP ไตรมาส 1/63 หดตัว -1.8% เทียบกับไตรมาส 4/62 ที่ขยายตัว 1.5% ขณะที่ปรับลดคาดการณ์
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 1/63 ว่าเพิ่มขึ้น 4.1% โดยสินเชื่อธุรกิจ
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เผยมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 31.90-
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ประเมินการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 20 พ.ค. โดยคาดว่า
- นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คาดการณ์ว่า GDP ของสหรัฐอาจหดตัวลงกว่า 30% ในไตร
- ธนาคารกลางจีน (PBOC) ส่งสัญญาณเดินหน้าปรับปัจจัยที่ตรงข้ามกับวัฏจักรเศรษฐกิจ (counter-cyclical) และ
- ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ที่จะมีการเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนพ.ค.จากสมาคมผู้สร้าง
บ้านแห่งชาติ (NAHB), คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) เปิดเผยรายงานการประชุมวันที่ 28-29
เม.ย.63, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนเม.ย.จาก Conference Board และดัชนีผู้จัดการฝ่าย
จัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตและภาคบริการขั้นต้นเดือนพ.ค.จากมาร์กิต เป็นต้น