นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งมาตรการต่าง ๆ จะทยอยครบกำหนด ธปท. จึงได้หารือกับผู้ให้บริการทางการเงิน ประกอบด้วย สถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สมาคมและชมรมของผู้ให้บริการทางการเงินรวม 9 แห่ง ออก มาตรการเพิ่มเติมระยะที่ 2 เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1.ปรับลดเพดานดอกเบี้ยเป็นการทั่วไป ร้อยละ 2 – 4 ต่อปี สำหรับบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การ กำกับ (มีผลตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2563)
ประเภท เพดานเดิม (% ต่อปี) เพดานใหม่ (% ต่อปี) 1. บัตรเครดิต 18 16 2. สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ - วงเงินหมุนเวียน (Revolving loan) เช่น บัตรกดเงินสด 28 25 - ผ่อนชำระเป็นงวด (Installment loan) 28 25 - จำนำทะเบียนรถ 28 24
2. เพิ่มวงเงินบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับประเภทวงเงินหมุนเวียนหรือที่ผ่อนชำระเป็นงวด สำหรับลูกหนี้ที่มีความจำเป็นต้องใช้วงเงินเพิ่มเติม และมีพฤติกรรมการชำระหนี้ที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อ เดือนต่ำกว่า 30,000 บาท ขยายวงเงินจากเดิม 1.5 เท่า เป็น 2 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือน เป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 (มีผลตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2563)
3. มาตรการขั้นต่ำเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 2 (มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563) ขยาย ขอบเขตและระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และไม่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้ เกิดรายได้ (NPLs) ณ วันที่ 1 มีนาคม 2563 โดยผู้ให้บริการทางการเงินต้องจัดให้มีทางเลือกความช่วยเหลือขั้นต่ำให้ลูก หนี้ที่ได้รับผลกระทบได้เลือกตามประเภทสินเชื่อ เช่น การผ่อนชำระขั้นต่ำ การเปลี่ยนสินเชื่อระยะสั้นเป็นระยะยาว การ ลดค่างวด การเลื่อนชำระค่างวดหรือเงินต้น เป็นต้น และกำหนดให้ผู้ให้บริการทางการเงินต้องอำนวยความสะดวก รวม ทั้งให้ข้อมูลที่ครบถ้วนเพียงพอต่อการตัดสินใจของลูกหนี้ เช่น เปรียบเทียบภาระหนี้เดิมและหนี้ใหม่ จำนวนหนี้และ จำนวนงวดที่เพิ่มขึ้น และดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ต้องจ่ายเพิ่มจากการขอเลื่อนชำระหนี้
การช่วยเหลือตามมาตรการขั้นต่ำข้างต้นจะไม่ถือว่าเป็นการผิดนัดชำระหนี้ จึงไม่สามารถเรียกเก็บเบี้ยปรับ หรือค่า ใช้จ่ายอื่น ๆ และในกรณีที่ลูกหนี้ประสงค์จะชำระหนี้ก่อนกำหนด จะต้องไม่มีการคิดค่าเบี้ยปรับ (prepayment fee) ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่ต้องการความช่วยเหลือสามารถแจ้งความประสงค์ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของผู้ให้บริการทางการเงิน เช่น แอปพลิเคชัน เว็บไซต์ Call Center หรือส่งข้อความ SMS ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 จนถึง 31 ธันวาคม 2563
4. การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ผู้ให้บริการทางการเงินต้องเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ โดยคำนึงถึงความ สามารถในการชำระหนี้ เพื่อช่วยบรรเทาภาระให้ลูกหนี้ เช่น โดยการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ เปลี่ยนสินเชื่อจากระยะ สั้นเป็นระยะยาว เลื่อนการชำระค่างวด ลดดอกเบี้ย และกรณีลูกหนี้ได้รับผลกระทบจนเป็น NPLs ขอให้พิจารณาชะลอ การยึดทรัพย์
ธปท. เชื่อมั่นว่ามาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยเพิ่มเติมระยะที่ 2 นี้ จะทำให้ลูกหนี้ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะ สมอย่างทันท่วงที ลดภาระหนี้และโอกาสการผิดนัดชำระหนี้ ขณะที่ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถบริหารจัดการความ เสี่ยง และมีวิธีปฏิบัติต่อลูกหนี้ในแนวทางเดียวกัน ทั้งนี้ ธปท. จะติดตามการดำเนินการอย่างใกล้ชิด
ตารางแสดงทางเลือกสำหรับกลุ่มลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และยังไม่เป็น NPLs
ประเภท มาตรการการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ขั้นต่ำ 1. บัตรเครดิต เปลี่ยนเป็นสินเชื่อที่มีระยะเวลา (term loan) 48 งวด หรือขยายระยะเวลาตามความ สามารถในการชำระหนี้ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 12 ต่อปี ทั้งนี้ การใช้ วงเงินที่เหลืออยู่ให้ผู้ให้บริการทางการเงินพิจารณาตามความสามารถในการชำระหนี้ ของลูกหนี้ แต่เมื่อรวมกับยอดคงเหลือเดิมแล้วต้องไม่เกินวงเงินที่เคยอนุมัติ **หมายเหตุ ยังคงลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ ร้อยละ 5 ในปี 2563 - 2564 ร้อยละ 8 ในปี 2565 และร้อยละ 10 ในปี 2566 2. สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้ (1) ลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ ตามความสามารถในการชำระหนี้ หรือ การกำกับที่มีลักษณะวงเงิน (2) เปลี่ยนเป็นสินเชื่อที่มีระยะเวลา (term loan) 48 งวด หรือขยายระยะเวลา หมุนเวียน (revolving ตามความสามารถในการชำระหนี้ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 22 loan) เช่น บัตรกดเงินสด ต่อปี ทั้งนี้ การใช้วงเงินที่เหลืออยู่ให้ผู้ให้บริการทางการเงินพิจารณาตาม ความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ แต่เมื่อรวมกับยอดคงเหลือเดิมแล้ว ต้องไม่เกินวงเงินที่เคยอนุมัติ 3. สินเชื่อส่วนบุคคลที่ผ่อนชำระ ลดค่างวด อย่างน้อยร้อยละ 30 ของค่างวดเดิม โดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน เป็นงวด (installment loan) ร้อยละ 22 ต่อปี และสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ 4. สินเชื่อเช่าซื้อ (ไม่จำกัดวงเงิน) (1) เลื่อนชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) 3 เดือน หรือ (2) ลดค่างวด โดยขยายระยะเวลาการชำระหนี้ 5. สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ (1) เลื่อนชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) 3 เดือน หรือ สินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็น (2) เลื่อนชำระเงินต้น 3 เดือน และพิจารณาลดดอกเบี้ยให้ตาม หลักประกัน (ไม่จำกัดวงเงิน) ความเหมาะสมของลูกหนี้แต่ละราย หรือ (3) ลดค่างวด โดยขยายระยะเวลาการชำระหนี้