นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 31.00/02 บาท/ดอลลาร์ จากเย็น วานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 31.02/03 บาท/ดอลลาร์
"วันนี้น่าจะ Move ในกรอบเดิม เนื่องจากไร้ปัจจัยใหม่ ขณะที่ตลาดรอดูการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กน ง.) ในวันพรุ่งนี้"นักบริหารเงิน กล่าว
นักบริหารเงิน คาดว่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.90-31.10 บาท/ดอลลาร์
THAI BAHT FIX 3M (22 มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 0.35686% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.48728%
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 106.89/92 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 109.60/93 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1245/1249 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 1.1213/1217 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 30.9880 บาท/ดอลลาร์
- บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกประกาศให้ธนาคารพาณิชย์
- ธปท.ขอความร่วมมือผู้ให้บริการทางการเงินให้ชะลอการยึดทรัพย์ คลอดมาตรการฝ่าโควิดระยะ 2 ชี้นโยบายให้สถาบัน
- ธปท. ดีเดย์ 1 ส.ค.2563 เริ่มลดดอกเบี้ยบัตรเครดิต-เช่าซื้อ "แบงก์ชาติ" แจงออกมาตรการช่วยลูกหนี้รายย่อยรอบ
- บอร์ดอีอีซีรับทราบยอดบีโอไอ 5 เดือนร่วง 10% เตรียมชง ศบค.เคาะบิสซิเนส บับเบิล ปลดล็อกต่างชาติเดินทางมาไทย
- ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่าททท.จัดเตรียมแผนฟื้นฟูตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ เจาะกลุ่ม
- ที่ปรึกษาด้านการค้าประจำทำเนียบขาว ระบุว่า ข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐและจีนได้ยุติลงแล้ว หลังมีข้อมูลที่ทำให้มั่นใจ
- ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (22 มิ.ย.)
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (22 มิ.ย.) โดยได้แรงหนุนจากคำสั่งซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย หลังจากจำนวนผู้ติด
- ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI) ภาคการผลิตขั้นต้นเดือนมิ.ย.จาก
มาร์กิต, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI) ภาคบริการขั้นต้นเดือนมิ.ย.จากมาร์กิต, ยอดขายบ้านใหม่เดือนพ.ค., ดัชนีภาคการผลิตเดือนมิ.
ย.จากเฟดริชมอนด์, ดัชนีราคาบ้านเดือนเม.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)
ไตรมาส 1/2563, ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนพ.ค., ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนพ.ค. และความเชื่อ
มั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน