คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ปรับคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปี 63 หดตัวเพิ่มขึ้นเป็น -9% ถึง -7% จากเดิม -8% ถึง -5% เนื่องจากมีความเป็นห่วงเศรษฐกิจไทยในช่วงข้างหน้ายังขาดแรงขับเคลื่อนสำคัญ จากภาคการท่องเที่ยวและการส่งออก ขณะที่มาตรการเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 กำลังจะสิ้นสุดลง และ สถานการณ์การจ้างงานยังเปราะบาง
ทั้งนี้ กกร.ปรับคาดการณ์การส่งออกหดตัวเพิ่มขึ้นเป็น -12% ถึง -10% จากเดิม -10% ถึง -7% ส่วนอัตราเงินเฟ้อยังคง คาดการณ์เดิมที่ -1.5% ถึง -1%
นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ช่วงที่เหลือของปี 2563 เศรษฐกิจไทยยังมี แนว โน้มหดตัวต่อเนื่อง โดยมีแรงฉุดหลักจากเศรษฐกิจโลกที่ถดถอยหลังการระบาดของโควิดยังเพิ่มสูงขึ้นและบางประเทศพบจำนวนผู้ติดเชื้อรอบ ใหม่ (จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม ฮ่องกง เป็นต้น) ส่งผลให้การค้าและการเดินทางระหว่างประเทศคงยากที่จะฟื้นตัวกลับมาได้เร็ว ขณะเดียว กัน เงินบาทที่ผันผวนและเริ่มมีทิศทางแข็งค่า ก็จะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออก นอกจากนี้ กำลังซื้อครัวเรือนและ ภาค ธุรกิจที่ชะลอตัว ประกอบกับความไม่แน่นอนในตลาดจ้างงาน ยังเป็นปัจจัยลบที่กดดันการใช้จ่ายในประเทศอย่างต่อเนื่อง
กรอบประมาณการเศรษฐกิจปี 2563 ของกกร. %YOY ปี 2562 ปี 2563 ปี 2563 (ณ ก.ค.63) GDP 2.4 -8.0 ถึง -5.0% -9.0 ถึง -7.0% ส่งออก -2.7 -10.0 ถึง -7.0% -12.0 ถึง -10.0% เงินเฟ้อ 0.7 -1.5 ถึง -1.0% -1.5 ถึง -1.0%
นอกจากนี้ กกร.จะมีการจัดตั้งคณะทำงาน กกร. ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือ แห่งประเทศไทย (สรท.) และสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เพื่อร่วมกันจัดเตรียมแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการปฏิรูปเศรษฐกิจ โดยจะมีการผลักดันแผน 4 เรื่องเพื่อให้เกิดผลได้จริง ได้แก่
1.การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิง Wellness 2.การยกระดับการเกษตรมูลค่าสูง 3.การเพิ่มโอกาสของผู้ประกอบ การขนาดกลางและขนาดเล็กในธุรกิจเป้าหมาย และ 4. การยกระดับการเป็นศูนย์กลางด้านค้าและการลงทุนของภูมิภาค
โดยเมื่อได้ข้อสรุปแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจดังกล่าวแล้ว จะนำไปหารือและเสนอให้มีมาตรการช่วยเหลือจากทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ใน เร็วๆนี้
นอกจากนี้ กกร.จัดตั้งคณะกรรมการภาษีเพื่อจัดทำข้อเสนอมาตรการทางภาษี (ภาษีสรรพากร) เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผล กระทบจากโควิด-19 ซึ่งข้อเสนอดังกล่าว กกร.จะนำเสนอรัฐบาลให้พิจารณาต่อไป
"สำหรับข้อเรียกร้องต่อภาครัฐนั้นคาดว่า หลังจากปรับ ครม.เสร็จเรียบร้อยแล้วน่าจะมีความคืบหน้าชัดเจน ซึ่งในส่วนของทีม เศรษฐกิจนั้นน่าจะเข้าใจปัญหาของภาคเอกชนได้ดี เพราะเคยทำงานร่วมกันใน กกร."
นายกลินท์ กล่าวถึงการอนุญาตให้ต่างชาติเข้าประเทศว่า ช่วงแรกอยากให้พิจารณาในส่วนของนักธุรกิจก่อน เนื่องจากขณะนี้มี หลายชาติต้องการเดินทางเข้ามา ทั้งญี่ปุ่น, จีน, ไต้หวัน เยอรมนี โดยเฉพาะนักธุรกิจญี่ปุ่นที่มีจำนวนเป็นหมื่นคน แต่ติดปัญหาโรงแรมที่จะ รองรับการกักตัวตามหลักเกณฑ์ของ ศบค.มีจำนวนไม่เพียงพอ
ส่วนกรณีแรงงานต่างด้าวนั้นขอให้พิจารณาตามความต้องการและขาดแคลนของแต่ละอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง เพื่อรักษาตำแหน่งงานไว้ให้คนไทยในช่วงวิกฤตโควิด-19 ขณะนี้เดียวกันกำลังเจรจากับภาครัฐเรื่องค่าใช้จ่ายในการกักตัวแรงงานต่างด้าว ของนายจ้างเฉลี่ยคนละ 2 หมื่นบาท ซึ่งภาคเอกชนเห็นว่าสามารถดำเนินการในรูปแบบของแคมป์คนงานแทนที่จะเป็นโรงแรม เพื่อช่วยลด ค่าใช้จ่าย
ด้านนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การปรับลดคาดการณ์ภาวะ เศรษฐกิจไทยในปีนี้ว่าจะหดตัว -9% นั้นถือว่าต่ำสุดแล้ว และเชื่อว่าเศรษฐกิจในปีนี้ไม่น่าจะดีไปกว่า -7%
"กกร.ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจยังไม่กระเตื้อง ที่เป็นห่วงคือหากมีการระบาดระลอกสองถึงขั้นต้องล็อกดาวน์อีกครั้ง" นายสุ
ประธาน ส.อ.ท.กล่าวถึงแนวคิดในการออกคูปองให้ประชาชนนำรถยนต์เก่าไปแลกรถยนต์ไฟฟ้า หรือรถยนต์ไฮบริดว่า เป็น เรื่องที่ภาคเอกชนสนับสนุน และเคยนำเสนอต่อภาครัฐไปก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นแนวที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและเร่งการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า โดยขณะนี้กำลังติดตามความคืบหน้าว่าภาครัฐจะมีนโยบายในเรื่องนี้อย่างไร