ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 31.20 อ่อนค่าจากช่วงเช้าสวนทางภูมิภาค หลังสภาพัฒน์แถลงตัวเลข GDP Q2/63-จับตาสถานการณ์การเมืองในปท.

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 17, 2020 18:06 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ที่ระดับ 31.20 บาท/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่เปิด ตลาดที่ระดับ 31.10 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวระหว่าง 31.09-31.22 บาท/ดอลลาร์

"หลังจากประกาศตัวเลข GDP ไตรมาส 2/63 เงินบาทก็อ่อนค่าเรื่อยมาสวนทางภูมิภาค น่าจะมี Flow นอกจากนี้นักลง ทุนยังจับตาแรงกดดันจากการชุมนุมในประเทศวานนี้"นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบเงินบาทไว้ระหว่าง 31.10-31.25 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 106.35 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 106.47 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1849 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.1843 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,320.91 จุด ลดลง 6.14 จุด, -0.46% มูลค่าการซื้อขาย 47,812.94 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 127.86 ลบ.(SET+MAI)
  • สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP)
ของไทยในไตรมาส 2/63 หดตัวถึง -12.2% จากตลาดคาด -13% ถึง -17% ส่วนในช่วงที่เหลือของปีนี้ คือ ไตรมาส 3 และ 4 จะเริ่ม
ฟื้นกลับมาดีขึ้นเมื่อเทียบรายไตรมาส แต่ยังมีโอกาสติดลบอยู่ ส่งผลให้สภาพัฒน์ปรับประมาณการ GDP ทั้งปี 63 ลงมาเหลือ -7.5%
(กรอบ -7.8 ถึง -7.3%) จากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ในเดือน พ.ค.ว่าจะหดตัวในระดับ -6 ถึง -5%
  • ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/63
ที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์แถลงว่าหดตัว -12.2% เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เมื่อเทียบกับ
ประมาณการล่าสุดของ ธปท. ในเดือน มิ.ย.63 พบว่าหดตัวน้อยกว่าที่ประเมินไว้ จากการบริโภคภาคเอกชนและการสะสมสินค้าคงคลัง
เป็นสำคัญ แต่ในภาพรวมถือว่าไม่ผิดจากที่คาดมากนัก โดยยังประเมินว่าเศรษฐกิจไทยได้พ้นจุดต่ำสุดไปแล้วในไตรมาส 2 และจะทยอยปรับ
ดีขึ้นในระยะข้างหน้า
  • รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงานและรมว.คลัง เรียกประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลังเพื่อมอบนโยบาย
ในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ ในโอกาสที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งใหม่ในคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดปัจจุบัน
  • ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวถึงกรณีที่นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง ออก
มาระบุว่าประเทศไทยเงินหมดประเทศ และมีแนวโน้มจะเก็บภาษีพลาดเป้า 5 แสนล้านบาทว่า ปัจจุบันฐานะการคลังยังอยู่ในระดับที่แข็ง
แกร่ง ไม่มีความน่ากังวลแต่อย่างใด แม้ว่าในปีนี้ภาพรวมการจัดเก็บรายได้จะทำได้ต่ำกว่าเป้าหมาย แต่ยังสามารถบริหารจัดการเงินคง
คลังได้เป็นอย่างดี
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 2/63 เพิ่ม
ขึ้นมาอยู่ที่ 5% เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน และจาก 4.1% ในไตรมาสก่อน ขณะที่กำไรสุทธิ 3.1 หมื่นล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อนที่
อยู่ในระดับ 5.33 หมื่นล้านบาท โดยหลักจากการกันสำรองเพิ่มขึ้นเพื่อเตรียมรองรับคุณภาพสินเชื่อที่อาจมีแนวโน้มด้อยลง ประกอบกับราย
ได้จากธุรกิจหลักของธนาคารปรับลดลง
  • สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยถึงภาวะสังคมไทยไตรมาส 2/63
ว่า มีผู้ว่างงาน 7.5 แสนคน คิดเป็นอัตราว่างงาน 1.95% เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากช่วงปกติ และเป็นอัตราสูงสุดตั้งแต่ไตรมาส 2/ 52 สาเหตุ
ส่วนใหญ่มาจากผลจากสถานที่ทำงานปิดกิจการในช่วงสถานการณืโควิด-19 หรือหมดสัญญาจ้าง
  • เลขาธิการ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยว่า ในวันที่ 19 ส.ค.นี้จะมีการ
ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศูนย์บริหารสถานการณ์
เศรษฐกิจ) ที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก คาดว่าจะมีความชัดเจนเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ โดยเฉพาะการดูแล
ผู้ประกอบการ SME และผู้ประกอบการรายเล็ก (Micro SME)
  • สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยในรายงานเบื้องต้นวันนี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส
2/2563 หดตัวลง 27.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นการหดตัวรุนแรงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้รับ
ผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐทวีตข้อความในวันศุกร์ว่า ทำเนียบขาวกำลังเตรียมการที่จะให้ความช่วยเหลือกับ

ชาวอเมริกันที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ขณะที่การเจรจาระหว่างทำเนียบขาวกับสมาชิกสภาพรรค

เดโมแครตเกี่ยวกับกฎหมายเยียวยาฉบับใหม่ยังคงชะงักงัน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ