นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนก.ค.63 ว่า สถานการณ์เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนก.ค.63 ปรับตัวดีขึ้นเทียบกับเดือนก่อนหน้าในหลายภูมิภาคอาทิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก
นอกจากนี้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมยังปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องในหลายภูมิภาค โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และผลของมาตรการเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคสามารถขับเคลื่อนได้มากขึ้น
*ภาคตะวันออก
ภาวะเศรษฐกิจมีทิศทางดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แม้หลายเครื่องชี้ยังหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ และที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการขยายตัวได้ดี สอดคล้องกับด้านความเชื่อมั่น (Sentiment Indexes) จากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นเกินระดับ 100 เป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน
ในเดือนกรกฎาคม 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนได้มากขึ้น สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่ขยายตัวได้ดี ที่ 87.5% ต่อปี ด้วยเงินทุนจำนวน 1,548 ล้านบาท จากโรงงานผลิตเครื่องใช้จากพลาสติก และโรงงานซ่อมแซม ตัด ปะผุ พ่นสีรถยนต์ ในจังหวัดชลบุรี เป็นสำคัญ เช่นเดียวกับ เงินทุนของโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการที่ขยายตัวได้ที่ 320.6% ต่อปี ด้วยเงินทุนจำนวน 9,744 ล้านบาท จากโรงงานประกอบชิ้นส่วนสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นสำคัญ
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 52.9 และ 101.1 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 45.5 และ 99.1 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น สำหรับในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ -1.6% ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ -1.9% ต่อปี
ภาวะเศรษฐกิจมีทิศทางดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แม้หลายเครื่องชี้ยังหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สอดคล้องกับ ด้านความเชื่อมั่น (Sentiment Indexes) จากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากเงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่ยังขยายตัวได้ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 และเงินทุนของโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการ กลับมาขยายตัวเป็นบวก
ในเดือนกรกฎาคม 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนได้มากขึ้น สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่ขยายตัวได้ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 มาอยู่ที่ร้อยละ 46.4 ต่อปี ด้วยเงินทุนจำนวน 307 ล้านบาท จากโรงงานผลิตเซลล์แบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออนในจังหวัดขอนแก่นเป็นสำคัญ เช่นเดียวกับเงินทุนของโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการที่ขยายตัวได้ที่ 86.0% ต่อปี ด้วยเงินทุนจำนวน 2,895 ล้านบาท จากโรงงานการฆ่า ชำแหละ แปรรูปแช่เย็นและแช่แข็งไก่สด ในจังหวัดอุบลราชธานีเป็นสำคัญ และการบริโภคภาคเอกชนที่ดีขึ้น สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัว 14.1% ต่อปี สอดคล้องกับจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหมที่กลับมาขยายตัวในรอบ 12 เดือน อยู่ที่ 4.6% ต่อปี
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาในด้านความเชื่อมั่น พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 45.3 และ 71.4 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 44.2 และ 68.8 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น สำหรับด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ พบว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ -0.5% ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ -0.9% ต่อปี
ภาวะเศรษฐกิจมีทิศทางดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แม้หลายเครื่องชี้ยังหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่ขยายตัวต่อเนื่องในระดับสูง สอดคล้องกับ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า
ในเดือนกรกฎาคม 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่ขยายตัวในระดับสูงที่ 298.1% ต่อปี ด้วยเงินทุนจำนวน 2,302 ล้านบาท จากโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล ขนาดกำลังการผลิต 25.9 เมกะวัตต์ ในจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นสำคัญ
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาในด้านความเชื่อมั่น พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 42.1 และ 84.9 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 40.8 และ 82.2 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น สำหรับในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ พบว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ -1.7% ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ -2.3% ต่อปี
ภาวะเศรษฐกกิจทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจยังหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่ขยายตัว รวมถึง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า
ในเดือนกรกฎาคม 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนดีปรับตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนได้มากขึ้น สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ 83.7% ต่อปี ด้วยเงินทุนจำนวน 238 ล้านบาท จากโรงงานอบ และคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก ในจังหวัดนครสวรรค์เป็นสำคัญ
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาในด้านความเชื่อมั่น พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 45.0 และ 64.4 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 43.9 และ 60.7 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น สำหรับในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ พบว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ -1.0% ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ -1.4% ต่อปี
ภาวะเศรษฐกิจทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจยังหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่ขยายตัว รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า
ในเดือนกรกฎาคม 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนได้มากขึ้น สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ 95.8% ต่อปี ด้วยเงินทุนจำนวน 187 ล้านบาท จากโรงกลึง เจาะ คว้าน กัด ไส เจียร หรือเชื่อมโลหะทั่วไป ในจังหวัดสระบุรีเป็นสำคัญ
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาในด้านความเชื่อมั่น พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 42.1และ 84.9 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 40.8 และ 82.2 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น สำหรับในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ พบว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ -1.7% ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ -2.1% ต่อปี
ภาวะเศรษฐกิจทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจยังหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ดี เงินทุนของโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการกลับมาขยายตัวได้ดี สอดคล้องกับดัชนีภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า
ในเดือนกรกฎาคม 2563 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนได้มากขึ้น สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการกลับมาขยายตัวได้ดี อยู่ที่ร้อยละ 159.3 ต่อปี ด้วยเงินทุนจำนวน 755 ล้านบาท จากโรงงานฆ่าและแปรรูปผลิตภัณฑ์โค-กระบือ ในจังหวัดชุมพรเป็นสำคัญ
สอดคล้องกับดัชนีภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 80.6 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 76.7 ส่วนหนึ่งเนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น สำหรับในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ พบว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ -1.8% ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ -2.2% ต่อปี
ภาวะเศรษฐกิจทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจยังหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น
ในเดือนกรกฎาคม 2563 พบว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ภายในประเทศทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ที่หดตัว -38.1% และ -9.7% ต่อปี ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัว -41.9% และ -9.2% ต่อปี ตามลำดับ เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชน โดยจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -30.0% และ -22.7% ต่อปี ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ -23.7% และ -19.7% ต่อปี ตามลำดับ
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาในด้านความเชื่อมั่น พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 40.5 และ 84.9 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 39.1 และ 82.2 ตามลำดับ สำหรับด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ พบว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ -1.1% ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ -1.7% ต่อปี