ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยความคืบหน้าของมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและลูกหนี้ธุรกิจที่ได้รับ ผลกระทบจากโควิด 19 ด้วยการเลื่อนพักชำระหนี้ การขยายเวลาชำระหนี้ การลดอัตราดอกเบี้ย รวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จาก การประเมินล่าสุดคาดว่า จะมีลูกหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือในสัดส่วนสูงที่ไม่จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือต่อไปเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่ได้รับ ความช่วยเหลือ และในระยะต่อไป ธปท. ยังคงให้ความสำคัญกับการดูแลลูกหนี้ตามความสามารถในการชำระหนี้ของแต่ละราย
ตามที่ ธปท. ได้ออกมาตรการและประสานกับสถาบันการเงินเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและลูกหนี้ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก ภาวะเศรษฐกิจ โดยเฉพาะจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนั้น
นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 1 ธปท. เปิดเผยว่า จากข้อมูลล่าสุด ณ 31 ก.ค.63 มี ลูกหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินทั้งสิ้น 7.2 ล้านล้านบาท คิดเป็น 12.5 ล้านบัญชี โดยลักษณะการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน แก่ลูกหนี้รายย่อยและลูกหนี้ธุรกิจ ครอบคลุมทั้งการเลื่อนพักชำระหนี้ การลดภาระผ่อนชำระต่อเดือนด้วยการขยายระยะเวลาชำระหนี้ตาม สัญญา การลดอัตราดอกเบี้ย รวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ด้วยการปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ตามสัญญาใหม่
ข้อมูล ณ 31 ก.ค. 2563
ประเภท ยอดหนี้ บัญชี (ล้านล้านบาท) (ล้านบัญชี) 1.ธพ. และ Non-bank 4.3 6.1 1.1 สินเชื่อธุรกิจ 2.6 0.4 1.2 สินเชื่อรายย่อย 1.7 5.7 2SFls 2.9 6.4 รวมทั้งสิ้น 7.2 12.5
ธปท. ได้ขอให้สถาบันการเงิน ประเมินสถานการณ์ของลูกหนี้รายย่อยและลูกหนี้ธุรกิจที่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินในรูป แบบต่าง ๆ คาดว่าจะมีลูกหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือในสัดส่วนสูงที่ไม่จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือต่อไปเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่ได้รับความ ช่วยเหลือ โดยลูกหนี้ในส่วนที่เหลือ อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ หรือผ่อนปรนการชำระหนี้ต่อไปหลังจากมาตรการช่วย เหลือที่เคยได้รับสิ้นสุดลง เพื่อรอให้สถานการณ์โควิด 19 คลี่คลายลง และเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น
นายจาตุรงค์ กล่าวว่า ในระยะต่อไป ธปท. ยังคงให้ความสำคัญกับการดูแลและแก้ไขปัญหาของลูกหนี้ตามความสามารถของ แต่ละราย โดย ธปท. มีโครงการร่วมกับสมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ใน ชื่อ "โครงการ DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง" (โครงการดีอาร์บิส) เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ธุรกิจที่มีเจ้าหนี้สถาบันการเงินหลาย รายให้มีกลไกจัดการหนี้กับสถาบันการเงินทุกแห่งได้อย่างเบ็ดเสร็จ
นอกจากนี้ สำหรับลูกหนี้รายย่อย ธปท. ร่วมกับสถาบันการเงินเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้รายย่อยด้วยวิธีการรวม หนี้ (debt consolidation) โดยนำสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นที่อยู่ภายใต้ผู้ให้บริการทางการเงินเดียวกันมาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ด้วย วิธีการรวมหนี้กับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพื่อใช้ประโยชน์จากหลักประกัน เพื่อให้ลูกหนี้สามารถผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยต่อไปได้ตามความ สามารถของแต่ละราย