ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 31.18/20 ระหว่างวันแกว่งแคบก่อนแข็งค่าท้ายตลาด ให้กรอบพรุ่งนี้ 31.15-31.35

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday October 8, 2020 17:29 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 31.18/20 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 31.23 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทแข็งค่าจากเปิดตลาดในช่วงเช้า ซึ่งเป็นผลมาจากที่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า หลังจากผลโพลล์เลือกตั้งประธานาธิบดี สหรัฐออกมาว่านายโจ ไบเดน มีคะแนนนิยมนำนายโดนัลด์ ทรัมป์ ขณะที่พรุ่งนี้ต้องติดตามรายงานการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB)

"ระหว่างวันเงินบาทแกว่งในกรอบแคบๆ แต่ช่วงเย็นกลับมาแข็งค่าจากตอนเช้า น่าจะมาจากที่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า เพราะ ผลโพลออกมาว่าไบเดน มีคะแนนนำทรัมป์" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.15 - 31.35 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 105.98/106.00 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 105.99 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1757/1761 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1764 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,274.83 จุด เพิ่มขึ้น 11.12 จุด (+0.88%) มูลค่าการซื้อขาย 56,013 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 691.42 ลบ.(SET+MAI)
  • คณะราษฎร ออกแถลงการณ์ประกาศจัดการชุมนุมในวันที่ 14 ต.ค.นี้เป็นต้นไป ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน
โดยเรียกร้องให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี, ให้เปิดประชุมวิสามัญทันทีเพื่อรับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐ
ธรรมนูญจากประชาชน และปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ นำสถาบันกษัตริย์กลับมาอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญตาม ครรลองในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง
  • หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ และหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน บล.ภัทร คาดว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยจะหดตัวถึง -
9% ถึง -7.5% ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งใหญ่นับตั้งแต่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ขณะที่คาดว่าในปี 64 เศรษฐกิจไทย จะขยายตัวที่ระดับ 2.5-4%
โดยปัจจัยสำคัญคือการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ขณะนี้ยังมีความไม่แน่นอนสูงมาก และสิ่งที่น่ากังวล คือ ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
ยังเติบโตต่ำกว่าระดับศักยภาพ การบริโภคภายในประเทศยังไม่คงที่
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ย.63 อยู่ที่ระดับ
50.2 ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยมีสาเหตุสำคัญจากความกังวลเรื่องการเมืองภายในประเทศ โดยเฉพาะการชุมนุม
ประท้วงของกลุ่มนักศึกษา ตลอดจนการลาออกจากตำแหน่งรมว.คลัง ของนายปรีดี ดาวฉาย ซึ่งกระทบต่อความเชื่อมั่นของตลาดเงิน-ตลาด
ทุน
  • มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐบาลในภาพรวมที่จะมีเม็ดเงินกว่า 1 แสน
ล้านบาท ออกมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในไตรมาส 4 นี้ คาดว่าจะทำให้ GDP ไตรมาส 4/63 หดตัวน้อยลงเหลือ -4 ถึง -5% จากเดิมที่
คาดว่าจะหดตัว -6 ถึง -7% ซึ่งจะทำให้ภาพรวมจีดีพีปีนี้ หดตัวราว -7 ถึง -9% ขณะที่ปี 64 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาขยายตัวได้
3-4%
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า มาตรการ "ช้อปดีมีคืน" คาดว่าจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายได้เพียงชั่วคราว และมีผลประโยชน์
ต่อการจ้างงานค่อนข้างจำกัด ขณะที่ผู้ได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่น่าจะเป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่อยู่ในระบบภาษี ส่วนผู้ประกอบการขนาด
กลางและขนาดเล็ก (SME) อาจไม่ได้รับประโยชน์โดยตรงเท่าใดนัก จากเงื่อนไขเวลาที่กำหนดไว้ในช่วง 23 ต.ค.-31 ธ.ค.63
มาตรการดังกล่าวจึงช่วยกระตุ้นการบริโภคได้เพียงในช่วงเวลาที่กำหนด
  • หอการค้านานาชาติ (ICC), สมาพันธ์สหภาพการค้าระหว่างประเทศ (ITUC) และกลุ่มพลเมืองโลกยื่นจดหมายเปิดผนึก
ถึงกลุ่ม G20 เสนอให้พักชำระหนี้ให้กับบรรดาประเทศที่ยากจนเป็นเวลานานขึ้น รวมถึงให้ความช่วยเหลืออื่นๆ เพื่อช่วยปกป้องเศรษฐกิจ
โลกจากผลกระทบระยะยาวที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
  • ผลสำรวจความเห็นของประชาชนในสหรัฐที่รับชมการดีเบตระหว่างนายไมค์ เพนซ์ ผู้สมัครชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดี
สหรัฐจากพรรครีพับลิกัน และนางคามาลา แฮร์ริส คู่ชิงจากพรรคเดโมแครต พบว่า 6 ใน 10 ของผู้รับชมการดีเบต (59%) มองว่า นาง
แฮร์ริสอภิปรายได้ดีที่สุด และมีเพียง 38% เท่านั้นที่มองว่า นายเพนซ์ทำได้ดีที่สุด
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มปรับตัวดีขึ้นแล้ว และมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

หลังจากที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พร้อมระบุว่า นโยบายกระตุ้นทางการคลังและการเงินเป็นปัจจัย

หนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น และเมื่อผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลกบรรเทาลง เศรษฐกิจญี่ปุ่นก็จะยังคงปรับ

ตัวดีขึ้นอีก


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ