ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 31.30 อ่อนค่าสวนทางภูมิภาค กังวลการเมือง-จับตาเลือกตั้งสหรัฐโค้งสุดท้าย

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 26, 2020 09:30 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 31.30 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ซึ่งอยู่ที่ระดับ 31.26/28 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทอ่อนค่าสวนทางสกุลเงินอื่นในภูมิภาค เชื่อว่าน่าจะมีผลมาจากความกังวลต่อสถานการณ์การเมืองในประเทศ โดย เฉพาะการชุมนุม ซึ่งมีแนวโน้มจะตึงเครียดมากขึ้น ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศ ยังคงต้องจับตาการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ใน ช่วงโค้งสุดท้าย รวมถึงความกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เริ่มกลับมาเพิ่มมากขึ้นทั้งในฝั่งของสหรัฐ และยุโรป

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทยังมีแนวโน้มอ่อนค่า มองกรอบที่ 31.25-31.35 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (22 ต.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.29936% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.33402%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 104.87 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 104.45 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1836 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.1825 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 31.2710 บาท/ดอลลาร์
  • รัฐสภาเปิดประชุมร่วมสมัยวิสามัญ 3 ฝ่าย เพื่อเปิดอภิปรายทั่วไปในปัญหาสำคัญที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินใน 3
ประเด็นสำคัญ คือ 1.การพิจารณายกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่ใช้ควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 2.การชุมนุมของกลุ่ม
ราษฎรเมื่อวันที่ 14 ต.ค.63 ที่มีการกีดขวางขบวนเสด็จ รวมทั้งตะโกนถ้อยคำหยาบคาย 3. สถานการณ์การชุมนุมในจุดต่างๆ ที่ยังคงมีอยู่
อย่างต่อเนื่อง
  • กลุ่มราษฎร นัดรวมตัวกันช่วงเย็นนี้ที่สามย่าน เพื่อเคลื่อนขบวนไปยังสถานทูตเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย
หลังจากที่ครบ 3 วันแล้วข้อเรียกร้องของกลุ่มราษฎรที่ต้องการให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ไม่เป็น
ผล
  • รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐบาลได้ดำเนินการฟื้นฟูเศรษฐกิจผ่านมาตรการระยะสั้น และ
ระยะยาว เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการ แพร่ระบาดของโควิด-19 และให้ประเทศเดินหน้า ต่อได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งขณะนี้ เริ่มมี
สัญญาณของการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการประเมินจาก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) ที่เห็นว่าไทยมีการหดตัวทาง
เศรษฐกิจลดน้อยกว่าเดิมจากที่คาดไว้เมื่อกลางปีที่ติดลบ 7.7% เป็น ติดลบ 7.1% ส่วน ยอดการส่งออกสินค้าไทยเดือนกันยายน พบว่าหด
ตัวน้อยลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สามแล้ว
  • ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ภาพรวมการส่งออกปีนี้เผชิญ
ปัจจัยเสี่ยงหลายประการ อาทิ ภัยแล้ง สงครามการค้า ค่าเงินบาท ฯลฯ อย่างไรก็ดีพบว่า สินค้าส่งออก ที่มีการเติบโตสวนกระแสโลก
และเป็นสินค้าที่ตอบรับกระแสนิวนอร์มอล แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม
  • สธ.เตรียมพร้อมรับมือ โควิด-19 ระบาดรอบใหม่ ย้ำเจอคนติดเชื้อได้ เฝ้าระวังแบบตะแกรง 3 ชั้นคัดกรองผู้ป่วย มุ่งค้น
เจอเร็ว จำกัดวงระบาด ตั้งเป้าคุมโรคให้ได้ภายใน 1 เดือน เตียงผู้ป่วยสูงสุด วันละ 1,700 คน สำรองยารักษาผู้ป่วยหนักกว่า
9,000 คน รอชงศบค.ลดวันกักตัวเหลือ 10 วัน พัฒนาสถานที่กักตัวรูปแบบใหม่ รับคนจากพื้นที่เสี่ยงต่ำ
  • ไอเอชเอส มาร์กิตซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงินเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิต
และภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 55.5 ในเดือนต.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 2562 โดยเพิ่มขึ้น
จากระดับ 54.3 ในเดือนก.ย. ซึ่งดัชนีที่อยู่เหนือระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตและภาคบริการของสหรัฐยังคงขยายตัว
  • สัญญาทองคำปรับตัวขึ้นในวันศุกร์ เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับความ
ไม่แน่นอนในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐรอบใหม่
  • นักวิเคราะห์ตลาดคาดว่า การหารือในสภาคองเกรสเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ, ความเคลื่อนไหวของ
ดอลลาร์ และการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ จะเป็นปัจจัยหลักที่จะกระตุ้นการเคลื่อนไหวของราคาทองในระยะต่อไป
  • บริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (J&J) เปิดเผยในวันศุกร์ว่า คณะกรรมการตรวจสอบข้อมูลและความปลอดภัยในการวิจัย
(Data and Safety Monitoring Board - DSMB) ได้แนะนำให้ J&J เริ่มรับอาสาสมัครเพื่อเข้าร่วมการทดลองวัคซีนต้านโรคโค
วิด-19 ได้อีกครั้ง หลังจากไม่พบหลักฐานว่า วัคซีนของ J&J ทำให้อาสาสมัครที่เข้าร่วมการทดลองล้มป่วย
  • ตลาดยังคงจับตาอย่างใกล้ชิดกับการเจรจาระหว่างทำเนียบขาวและพรรคเดโมแครตเพื่อออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
สหรัฐรอบใหม่
  • ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีกิจกรรมเศรษฐกิจทั่วประเทศเดือนก.ย.จาก

เฟดชิคาโก, ยอดขายบ้านใหม่เดือนก.ย., ดัชนีราคาบ้านเดือนส.ค., ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนต.ค.จาก Conference Board,

จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3/2563 (ประมาณการเบื้องต้น)


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ