องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) มีแผนยกเลิกรูปแบบสัญญาสัมปทานรถร่วม ขสมก.ในลักษณะนำรถมาวิ่งในเส้นทางต่าง ๆ โดยให้ปรับเปลี่ยนมาเป็นการทำสัญญาว่าจ้างบริหารเดินรถและคิดค่าจ้างตามระยะทางแทน พร้อมทั้ง กำหนดให้รถร่วมขสมก.ทั้งหมดเปลี่ยนมาใช้ก๊าซเอ็นจีวี
นายพิเณศวร์ พัวพัฒนกุล ผู้อำนวยการ ขสมก.เปิดเผยว่า แนวทางดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งในแผนฟื้นฟูฐานะทางการเงินของขสมก.โดยคาดหวังว่าจะทำให้ขสมก.มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยสัญญารูปแบบใหม่จะมีอายุประมาณ 10-15 ปี โดยผู้ประกอบการจะต้องรวมกันเป็นนิติบุคคลมีทุนจดทะเบียนอย่างน้อย 5 ล้านบาท และสามารถนำสัญญาไปค้ำประกันเงินกู้เพื่อใช้ลงทุนเปลี่ยนเป็นรถโดยสารเอ็นจีวี
เอกชนที่จะปรับมาทำสัญญาแบบใหม่ยังต้องปรับปรุงบริการให้ได้ตามมาตรฐานที่ ขสมก.กำหนด เช่น ต้องใช้รถโดยสารก๊าซเอ็นจีวี สภาพรถต้องอยู่ในเกณฑ์ดี มีความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน
ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการเอกชนไม่สามารถดำเนินการตามนี้ได้ ก็จะต้องออกจากระบบภายในเวลา 2 ปี ซึ่งที่ผ่านมาได้หารือร่วมกับผู้ประกอบการเอกชนและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เพราะการเปลี่ยนรถโดยสารเป็นเอ็นจีวีจะช่วยลดต้นทุนของผู้ประกอบการได้ ส่วนอัตราค่าจ้างตามสัญญาจ้างบริหารเดินรถนั้นก็จะพิจารณาอย่างเป็นธรรม
ขสมก. ต้องเร่งดำเนินการตามแผนฟื้นฟูฐานะการเงิน คือ การปรับเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิงของรถโดยสารที่มีอยู่เดิมมาใช้ก๊าซเอ็นจีวี และการจัดหารถโดยสารใหม่ที่ใช้ก๊าซเอ็นจีวี
ปัจจุบัน ขสมก. อยู่ระหว่างการทดสอบเครื่องยนต์เอ็นจีวี คาดว่าจะได้ข้อสรุปว่าบริษัทเอกชนรายใดที่ผ่านการทดสอบและจะขึ้นทะเบียนเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการประกวดราคาภายในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ และตั้งเป้าว่าภายใน 2 ปีรถโดยสารของ ขสมก. ที่มีอยู่ประมาณ 4,000 คันจะต้องเป็นรถโดยสารใช้ก๊าซเอ็นจีวีทั้งหมด
หาก ขสมก.ปรับรถโดยสารใช้ก๊าซเอ็นจีวี จะช่วยลดต้นทุนในการดำเนินการได้ปีละประมาณ 1,500 ล้านบาท และจะช่วยลดภาระของรัฐบาลในการอุดหนุน ขสมก.ได้เป็นอย่างมาก เช่น ปัจจุบันต้นทุนการให้บริการอยู่ที่คนละ 30 บาท แต่ ขสมก.สามารถเก็บค่าโดยสารเฉลี่ย 9 บาท ส่วนต่างที่เหลือ 21 บาท ต้องขอให้รัฐอุดหนุน แต่เมื่อ ขสมก. ปรับเปลี่ยนรถโดยสารใช้ก๊าซเอ็นจีวีจะช่วยลดการอุดหนุนไปได้ประมาณ 10 บาท
"ตามแผนฟื้นฟูนี้ จะมีประโยชน์ในภาพรวมทั้งเรื่องการพัฒนาคุณภาพของรถโดยสารทั้งระบบ ขณะที่ฐานะการเงินของ ขสมก. จะดีขึ้น จากเดิมที่มีหนี้สะสมประมาณ 5.4 หมื่นล้านบาท โดยหาก ขสมก. ยังนิ่งเฉยในปี 2552 ขสมก.จะมีหนี้สะสมเพิ่มเป็น 7 หมื่นล้านบาท" นายพิเณศวร์ กล่าวภายหลังการสัมมนาเพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนปรับโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูฐานะการเงินของ ขสมก.
นอกจากนี้ ขสมก. ต้องเร่งดำเนินการตามแผนฟื้นฟูฐานะการเงินของ ขสมก. คือ การปรับเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิงของรถโดยสารเป็นก๊าซเอ็นจีวี และการจัดหารถโดยสารใหม่ใช้ก๊าซเอ็นจีวี
ปัจจุบัน ขสมก. อยู่ระหว่างการทดสอบเครื่องยนต์เอ็นจีวีของผู้ผลิตและดัดแปลงติดตั้งเครื่องยนต์เอ็นจีวี คาดว่าจะได้ข้อสรุปว่าบริษัทเอกชนรายได้ที่ผ่านการทดสอบและจะขึ้นทะเบียนเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการประกวดราคาภายในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ และตั้งเป้าว่าภายใน 2 ปีรถโดยสารของ ขสมก. ที่มีอยู่ประมาณ 4,000 คันจะต้องเป็นรถโดยสารใช้ก๊าซเอ็นจีวีทั้งหมด
หากขสมก.ปรับรถโดยสารใช้ก๊าซเอ็นจีวี จะช่วยลดต้นทุนในการดำเนินการได้ปีละประมาณ 1,500 ล้านบาท และจะช่วยลดภาระของรัฐบาลในการอุดหนุน ขสมก.ได้เป็นอย่างมาก เช่น ปัจจุบันต้นทุนการให้บริการอยู่ที่คนละ 30 บาท แต่ ขสมก. สามารถเก็บค่าโดยสารเฉลี่ย 9 บาท ส่วนต่างที่เหลือ 21 บาท ต้องขอให้รัฐอุดหนุน แต่เมื่อ ขสมก. ปรับเปลี่ยนรถโดยสารใช้ก๊าซเอ็นจีวีจะช่วยลดการอุดหนุนไปได้ประมาณ 10 บาท
--อินโฟเควสท์ โดย คคฦ/เสาวลักษณ์/ศศิธร โทร.0-2253-5050 ต่อ 345 อีเมล์: sasithorn@infoquest.co.th--