นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 31.19 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดเมื่อ เย็นวันศุกร์ที่ระดับ 31.21 บาท/ดอลลาร์ ทิศทางวันนี้น่าจะแกว่งตัวในกรอบรอปัจจัยใหม่เข้ามา ขณะที่เงินยูโรอ่อนค่ามากหลังสถานการณ์ แพร่ระบาดของโควิด-19 จนถึงขั้นต้องมีการล็อคดาวน์
"บาทแข็งค่าจากวันศุกร์เล็กน้อย แต่วันนี้น่าจะแกว่งตัวในกรอบรอปัจจัยใหม่เข้ามา" นักบริหารเงิน กล่าว
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบเงินบาทวันนี้ไว้ที่ 31.15-31.25 บาท
โดยสัปดาห์นี้มีปัจจัยสำคัญหลายเรื่อง ได้แก่ ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ, การประชุมเฟด, การประกาศตัวเลขการ จ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมของสหรัฐ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19
THAI BAHT FIX 3M (30 ต.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.35111% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.37300%
SPOT ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 31.15500 บาท/ดอลลาร์
- เงินเยนอยู่ที่ 104.73 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 104.40 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1637 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.1663 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 31.1880 บาท/ดอลลาร์
- "พาณิชย์" เผยสหรัฐฯตัดจีเอสพีสินค้าไทย 231 รายการ หลังไม่นำเข้าเนื้อสุกรที่ใช้สารเร่งเนื้อแดง มีผล 30 ธ.ค.63
ยันไทยยังส่งออกสินค้าดังกล่าวได้ตามปกติเพียงแค่ต้องเสียภาษีนำเข้าเพิ่ม ย้ำมีผลกระทบจริงแค่ 147 สินค้า คิดเป็นภาษีที่ต้องจ่ายเพิ่ม
19 ล้านเหรียญฯ ลั่นหาทางออก ช่วยเหลือผู้ส่งออกแล้ว
- ส.อ.ท.ชี้ มะกันตัดสิทธิ์จีเอสพีไทยไม่สะเทือน มองกระทบแค่ช่วงสั้น ระบุไม่ใช่การซ้ำเติมเศรษฐกิจ พร้อมแนะเอกชนต้อง
เร่งปรับตัว ด้านผู้ประกอบการเหล็กปลื้ม รัฐงัดมาตรการป้องกันการหลบเลี่ยงการค้า ปิดช่องโหว่พ่อค้าหัวหมอดัดแปลงคุณสมบัติ
- นายกสมาคมค้าทองคำ เปิดเผยว่า คาดว่าทองคำในสัปดาห์หน้าราคาจะผันผวน เนื่องจากนักลงทุนและตลาดจับตาผลการ
เลือกตั้ง ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ว่าจะออกมาอย่างไร และนโยบายที่ออกมาจะเป็นอย่างไร โดยขณะนี้ควรชะลอการลงทุนออกไปซักระยะ
เพื่อรอทิศทางที่ชัดเจนว่าจะหลุดแนวรับหรือทะลุแนวต้านขณะที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงในระยะนี้ อาจทำให้ราคาทองคำในประเทศปรับตัวขึ้นได้
บ้าง โดยมองกรอบราคาตลาดโลกอยู่ที่ 1,875-1,925 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์
- "5 แบงก์ใหญ่" ส่งซิกพอร์ตลูกหนี้ยังเปราะบาง เอ็นพีแอลยังขาขึ้น เร่งเดินหน้าช่วยลูกหนี้เต็มสูบ "แบงก์กรุงเทพ" รับ
คุณภาพหนี้สินเชื่อด้อยลง เร่งช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มจนกว่าพ้นวิกฤติ "กรุงไทย" ชี้ พอร์ตเอสเอ็มอีอ่อนแอ ต้องจับตาใกล้ชิด ขณะที่ "กสิกร
ไทย" ย้ำให้ความสำคัญความสามารถชำระหนี้ มากกว่าเน้นเติบโตภายใต้เศรษฐกิจชะลอ "ไทยพาณิชย์" คาดมีลูกหนี้ต้องช่วยต่อราว 3
แสนล้าน จากที่เข้าโครงการช่วยเหลือ 6.3 แสนล้าน
- ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดผลสำรวจแนวโน้มสินเชื่อ โดยผลสำรวจสถาบันการเงิน และนอนแบงก์เกี่ยวกับ
มาตรฐานการให้สินเชื่อภาคธุรกิจในไตรมาส 4 ปีนี้ พบว่า แบงก์มีแนวโน้มเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อแก่ภาคธุรกิจ โดย
เฉพาะสินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งสถาบันการเงินมีแนวโน้มเพิ่ม margin สำหรับลูกค้ากลุ่มเสี่ยงและเพิ่มความเข้มงวดของเงื่อนไข
ประกอบสัญญาเงินกู้ ขณะที่มาตรฐานการให้สินเชื่อแก่ SMEs มีแนวโน้มเข้มงวดขึ้นโดยเฉพาะกับลูกค้าใหม่และกลุ่มธุรกิจที่ต้องใช้เวลาฟื้นตัว
นาน
- "200 ซีอีโอ" ไทยผวา 2 ปัจจัยหลัก "โควิดระบาดรอบ 2-ความวุ่นวายทางการเมือง" ทุบเศรษฐกิจไทยร่วง ความ
เชื่อมั่นดิ่ง นักลงทุนหนีซีอีโอ 77.4% หนุนแก้รัฐธรรมนูญลดขัดแย้ง ขณะที่ซีอีโอกว่า 76% หวั่นโควิดระบาดรอบสองจะเป็นตัวแปร สำคัญที่สุด
ฉุดธุรกิจทรุด เกิดความเสี่ยงสูง เร่งรักษาสภาพคล่อง กระแสเงินสด บางส่วนชะลอลงทุน แนะทางออกแก้วิกฤติชาติ "ถอยคนละก้าว หัน
หน้าเจรจาร่วม" ขณะที่ "ไม่เชื่อ" กรรมการสมานฉันท์ แก้วิกฤติได้
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า การใช้จ่ายส่วนบุคคลของผู้บริโภคสหรัฐเพิ่มขึ้น 1.4% ในเดือนก.ย. สูงกว่าที่นัก
วิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.0% หลังจากเพิ่มขึ้น 1.0% ในเดือนส.ค.
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐยังเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนก.
ย. เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากดีดตัวขึ้น 0.3% ในเดือนส.ค. และเมื่อเทียบรายปี ดัชนี PCE เพิ่มขึ้น 1.4% ในเดือนก.ย. หลังจาก
เพิ่มขึ้น 1.4% เช่นกันในเดือนส.ค.
- ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 81.8 ในเดือนต.ค. ซึ่งเป็น
ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 81.2 จากระดับ 80.4 ในเดือนก.ย.
- นักลงทุนยังกังวลกับความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลการเลือกตั้งในสหรัฐ โดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ยังมีคะแนนนิยมตาม
หลังนายโจ ไบเดน ผู้ท้าชิงจากพรรคเดโมแครตในโพลหลายสำนักมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว แต่คะแนนก็สูสีกันมากขึ้นในรัฐที่มีการแข่งขัน
มากที่สุดซึ่งอาจกำหนดผลการเลือกตั้ง
- โพลสำรวจซึ่งจัดทำโดยสำนักข่าวเอ็นบีซี นิวส์ และวอลล์สตรีท เจอร์นัล ระบุว่า โจ ไบเดน ผู้สมัครชิงตำแหน่ง
ประธานาธิบดีสหรัฐจากพรรคเดโมแครต มีคะแนนนิยมทั่วประเทศนำหน้าโดนัลด์ ทรัมป์ คู่ชิงจากพรรครีพับลิกัน ก่อนที่การเลือกตั้ง
ประธานาธิบดีสหรัฐจะมีขึ้นในวันที่ 3 พ.ย.นี้
- ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามสัปดาห์นี้ ได้แก่ ประเด็นทางการเมือง และผลประกอบการไตรมาส 3/63 ของบริษัทจดทะเบียน
(บจ.) ของไทยตลอดจนผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และความคืบหน้ามาตรการกระตุ้น
เศรษฐกิจของสหรัฐ ประเด็นการแยกตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่วน
ข้อมูลเศรษฐกิจต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร อัตราการว่างงานเดือนต.ค.ของสหรัฐฯ รวมถึงดัชนี PMI
Composite เดือนต.ค. ของสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีนและยูโรโซน
--อินโฟเควสท์ โดย ธนวัฏ เสือแย้ม/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--