นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คาดภาวะ เศรษฐกิจการเกษตรตลอดปี 2563 จะหดตัวอยู่ในช่วง -3.4% ถึง -2.4% จากปี 2562 จากก่อนหน้านี้คาดการณ์ที่ -2.3% ถึง -1.3% โดยสาขาพืช และสาขาบริการทางการเกษตร มีทิศทางหดตัวลงตามการผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญหลายชนิดที่มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากหลาย พื้นที่ประสบภัยแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการผลิตทางการเกษตร แต่ในช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย.ที่ผ่านมามีฝนตกเพิ่มขึ้น ทำให้เกษตรกรมี การขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีในช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้มีการติดตามสถานการณ์ น้ำท่วมและภัยแล้งในพื้นที่ต่างๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรได้อย่างทันท่วงที
ส่วนสาขาประมง คาดว่าจะปรับตัวลดลง ทั้งการทำประมงทะเลและประมงน้ำจืด เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนและปริมาณ น้ำไม่เพียงพอต่อการเลี้ยง ขณะที่สาขาปศุสัตว์และสาขาป่าไม้ คาดว่าจะขยายตัวได้ตามความต้องการของตลาดที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการดำเนินนโยบายด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และการวางแผนการใช้น้ำ การส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตและยกระดับคุณภาพมาตรฐาน สินค้าเกษตร การส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรออนไลน์ รวมถึงการส่งเสริมการบริโภคและการใช้สินค้าเกษตรในประเทศ
อย่างไรก็ตาม คาดการณ์แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2563 สศก.ยังมีปัจจัยและสถานการณ์สำคัญที่ต้องติดตามอย่าง ต่อเนื่อง อาทิ ความแปรปรวนของสภาพอากาศ การระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช ความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนในสถานการณ์การ ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ โดยสถานการณ์การระบาดที่ยังคงยืดเยื้อและความเสี่ยงของ การกลับมาระบาดในรอบที่ 2 และความเสี่ยงจากความขัดแย้งระหว่างประเทศทั้งในด้านการค้าและความมั่นคงที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบ เศรษฐกิจและการลงทุน เป็นต้น
ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 3/63 (ก.ค.-ก.ย.) พบว่า หดตัว -0.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยสาขาพืช สาขาประมง สาขาบริการทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ หดตัวลง ขณะที่สาขาปศุสัตว์ยังคงขยายตัวได้ดี อย่างไรก็ ตาม ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาสนี้ ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาส 2 ที่ผ่านมาแต่ยังคงหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 เนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้งที่ต่อเนื่องถึงช่วงกลางปี เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงในบางพื้นที่ของประเทศ รวมทั้งปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำสำคัญ และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีปริมาณน้อยกว่าปีที่ผ่านมา
อัตราการเติบโตของภาคเกษตร หน่วย: ร้อยละ สาขา ไตรมาส 3 ปี 2563 ปี 2563 ภาคเกษตร -0.4 (-3.4) - (-2.4) พืช -0.8 (-4.6) - (-3.6) ปศุสัตว์ 2.4 2.5 - 3.5 ประมง -0.9 (-3.5) - (-2.5) บริการทางการเกษตร -0.2 (-1.5) - (-0.5) ป่าไม้ -1.0 0.3 - 1.3
ด้าน น.ส.ทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการ สศก. กล่าวว่า หากพิจารณาถึงราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ในช่วงไตร มาส 3 สินค้าสำคัญที่เกษตรกรขายได้มีราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง สับปะรด โรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน มังคุด เงาะ สุกร กุ้งขาวแวนนาไม ปลานิล และ ปลาดุก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากปริมาณผล ผลิตที่ลดลง และบางสินค้ามีความต้องการของตลาดในประเทศและตลาดส่งออกเพิ่มขึ้น ขณะที่สินค้าสำคัญที่เกษตรกรขายได้มีราคาเฉลี่ยลด ลง ได้แก่ ลำไย ไก่เนื้อ ไข่ไก่ และน้ำนมดิบ เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
ขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค.63 มีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 205,010.19 ล้านบาท ลด ลง 8.97% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าอยู่ที่ 225,222.45 ล้านบาท สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณและมูลค่าส่งออกลดลง จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ข้าวรวม ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ น้ำตาลและผลิตภัณฑ์ ยางพารา สับปะรดและผลิตภัณฑ์ ทุเรียนและผลิตภัณฑ์ มังคุด และเงาะและผลิตภัณฑ์ กุ้งและผลิตภัณฑ์ และปลาหมึกและผลิตภัณฑ์ ขณะที่สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ น้ำมันปาล์ม ลำไยและผลิตภัณฑ์ เนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ และปลาและผลิตภัณฑ์
ทั้งนี้ ในช่วงหลังกลางเดือน ธ.ค.63 สศก.จะจัดสัมมนาภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2563 และแนวโน้มปี 2564 โดยจะมี การเสวนาจากวิทยากรทั้งภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร เพื่อวิเคราะห์ถึงมุมมอง และทิศทางของภาคเกษตรไทย