นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ความคืบหน้า Brexit ที่จะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 20 พ.ย.63 คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศระเบียบการจัดสรรโควตา Regulation (EU) ที่ 2020/1739 ยืนยันปริมาณโควตาภาษีสินค้าสัตว์ปีกไทยภายใต้ตารางผูกพันของสหภาพฯ (EU 28) ภายใต้ WTO จะมีผลบังคับใช้หลัง Brexit โดยโควตาสินค้าสัตว์ปีกไทย มีดังนี้
ปริมาณ : ตัน/ปี
ประเภท/พิกัด ประเทศ ปริมาณโควตาเดิม โควตาที่ได้รับจัดสรรใหม่ ส่งออกจริงเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี ไก่หมักเกลือ EU27 92,610 68,385.0 73,024.5 (021099) UK 24,225.0 6,888.3 เนื้อไก่ปรุงสุก/แปรรูป EU27 176,133 109,441.0 59,910.7 (160232) UK 66,692.0 153,823.4 เนื้อเป็ด/ห่านแปรรูป EU27 14,710 278.0 2,817.5 (160239) UK 14,432.0 2,105.3
ทั้งนี้จากปริมาณโควตาที่ไทยได้รับจัดสรรใหม่เทียบกับสถิติการส่งออกสินค้าสัตว์ปีกไทยไป EU 27 และ UK ย้อน หลัง 3 ปี (ปี 2560-2562) พบว่า ตลาด EU 27 ไทยมีโอกาสส่งออกสินค้าเนื้อไก่ปรุงสุก/แปรรูปได้อีกมาก เนื่องจาก ปริมาณโควตาที่ได้รับจัดสรรใหม่มีปริมาณมากถึง 109,441 ตัน/ปี ในขณะที่ไทยส่งออกไปเพียง 59,910.7 ตัน/ปี ส่วน ตลาด UK ไทยมีโอกาสส่งออกสินค้าไก่หมักเกลือและเนื้อเป็ด/ห่านแปรรูปมากขึ้น เนื่องจากปริมาณโควตาที่ได้รับ จัดสรรใหม่สามารถส่งออกได้ถึง 24,225 ตัน/ปี และ 14,432 ตัน/ปี ตามลำดับ ซึ่งก่อนจัดสรรโควตาใหม่ส่งออกได้เพียง 6,888.3 ตัน/ปี และ 2,105.3 ตัน/ปี ตามลำดับ ทั้งนี้ การจัดสรรโควตาสินค้าไก่ปรุงสุก/แปรรูปที่ไทยได้รับไม่เพียงพอและ ไม่สอดคล้องกับที่ไทยส่งออกได้จริง
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า EU เป็นตลาดส่งออกสินค้าสัตว์ปีกที่สำคัญของไทยเป็นอันดับสองรองจาก ญี่ปุ่น ในปี 2562 ส่งออกไป EU มูลค่ากว่า 32,737.2 ล้านบาท ปี 2563 (มกราคม-ตุลาคม) มีมูลค่า 22,992.0 ล้านบาท ลดลง 16.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และไอร์แลนด์ เป็นต้น ดังนั้นหาก Brexit แล้วจะเป็นโอกาสของสินค้าไก่หมักเกลือ และเนื้อเป็ด/ห่านแปรรูปของไทยในตลาด UK สร้างมูลค่าส่งออกไก่ไทยต่อไป