ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 30.17 กังวลโควิดในปท.หลังผู้ติดเชื้อพุ่ง-จับตานายกฯแถลงการณ์เย็นนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 22, 2020 17:32 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 30.17 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 30.08/12 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางที่อ่อนค่า โดยระหว่างวันอยู่ในกรอบ 30.08-30.22 บาท/ดอลลาร์ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงิน บาทอ่อนค่ายังมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ภายในประเทศ ที่เริ่มพบตัวเลขผู้ติดเชื้อมากขึ้นและกระจายวงกว้างไป สู่หลายจังหวัดมากขึ้น

อย่างไรก็ดี ต้องติดตามที่นายกรัฐมนตรีจะออกแถลงการณ์ช่วงเย็นนี้ว่าจะมีการออกมาตรการเพื่อดูแลสถานการณ์โควิดใน ประเทศเพิ่มเติมหรือเข้มงวดขึ้นหรือไม่

ขณะที่วันพรุ่งนี้ ต้องติดตามการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งในส่วนของอัตราดอกเบี้ยคาดว่าจะคงระดับ เดิมที่ 0.50% แต่ต้องรอดูการประเมินทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 64 ว่าจะเป็นอย่างไร

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.15 - 30.30 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 103.40 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 103.40 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2207 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.2230 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,424.39 จุด เพิ่มขึ้น 22.61 จุด (+1.61%) มูลค่าการซื้อขาย 87,825 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,997.53 ลบ.(SET+MAI)
  • คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง ปี 65-68 เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและรองรับสถานการณ์และความ
เสี่ยง โดยคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 65 จะขยายตัว 3-4% ประมาณการรายได้รัฐบาล 2.4 ล้านล้านบาท หนี้
สาธารณะคงค้าง57.6% ต่อจีดีพี

ส่วนปี 66 คาด GDP จะขยายตัวในช่วง 2.7-3.7% ประมาณการรายได้รัฐบาล 2.49 ล้านล้านบาท หนี้สาธารณะคงค้าง 58.6% ต่อจีดีพี, ปี 67 คาด GDP ขยายตัว 2.9-3.9% ประมาณการรายได้รัฐบาล 2.619 ล้านล้านบาท หนี้สาธารณะคงค้าง 59.0% ต่อจีดีพี และปี 68 คาด GDP ขยายตัว 3.2-4.2% ประมาณการรายได้รัฐบาล 2.75 ล้านล้านบาท หนี้สาธารณะคงค้าง 58.7% ต่อจีดีพี

  • ครม.รับทราบเป้าหมายนโยบายการเงินปี 64 ตามการเสนอของกระทรวงคลัง โดยกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อทั่วไป
อยู่ในช่วง 1-3% ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมกับสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย สอดคล้อง
ศักยภาพในปัจจุบัน รวมถึงเกี่ยวข้องนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ยืดหยุ่น และมีเป้าหมายหลักในการรักษาเสถียรภาพ
ซึ่งได้มีการนำปัจจัยที่เกี่ยวข้องการแพร่ระบาดโควิด-19 เข้ามาด้วยแล้ว
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยข้อมูลความคืบหน้าการช่วยเหลือลูกหนี้ ประเมินว่ามาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ
ของ ธปท. ที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2563 จากการให้ความช่วยเหลือเป็นการทั่วไปในวงกว้าง ปรับให้มาเป็นการให้
ความช่วยเหลือเชิงรุกและตรงจุดที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกหนี้แต่ละรายนั้น ได้ผลและมีความคืบหน้าตามเจตนารมณ์ของการปรับ
นโยบายจากครอบคลุมเป็นเจาะจง เห็นได้จากสถานะและความสามารถจ่ายชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไขของลูกหนี้ในภาพรวมปรับดีขึ้น จึงไม่
เกิดปัญหาผิดนัดชำระหนี้จำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว (cliff effect) หลังมาตรการพักชำระหนี้ที่ทยอยครบกำหนด
  • วุฒิสภาสหรัฐ มีมติผ่านร่างมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 9 แสนล้านดอลลาร์แล้ว เพื่อเยียวยาประชาชนและภาคธุรกิจ
ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยขณะนี้ร่างมาตรการดังกล่าว ได้ถูกส่งให้กับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เพื่อ
ลงนามบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยผลการทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Test) ของธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ โดยระบุ
ว่า ธนาคารรายใหญ่หลายแห่งมีฐานเงินทุนที่เพียงพอต่อการรับมือกับภาวะวิกฤต ซึ่งรวมถึงการขาดทุนกว่า 6 แสนล้านดอลลาร์จากการทรุด
ตัวทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในระยะสั้น และความเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลงยาวนานในระดับปานกลาง นอกจากนี้ เฟด
ยังอนุญาตให้ธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐสามารถจ่ายเงินปันผล และซื้อหุ้นคืนแบบจำกัดจำนวน
  • ธนาคารกลางจีน ระบุในแถลงการณ์ว่า ปี 2564 ธนาคารกลางจีน ให้คำมั่นที่จะสร้างสภาพแวดล้อมทางการเงินและการ
คลังที่ดี เพื่อเร่งจัดตั้งกระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ โดยจะยกระดับกลไกสำหรับการกำกับดูแลปริมาณเงินหมุนเวียน และรักษาอัตราส่วนโครง
สร้างทางการเงินระดับมหภาคให้มีความมั่นคง พร้อมยกระดับการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนที่มุ่งเน้นตลาด และรักษาอัตรา
การแลกเปลี่ยนเงินหยวนให้มั่นคงในระดับที่สมเหตุสมผลและสมดุล
  • นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เปิดเผยว่า การเจรจาข้อตกลงการค้า ซึ่งจะบังคับใช้หลังจากที่อังกฤษแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป

(Brexit) นั้น ยังคงมีปัญหาอยู่ และหากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกับสหภาพยุโรป (EU) ได้ อังกฤษก็จะยังคงสามารถเจริญรุ่งเรืองต่อไป

ได้ เพราะเงื่อนไขขององค์การการค้าโลก (WTO) จะให้ประโยชน์กับสหราชอาณาจักรมากพอที่จะทำให้ผ่านพ้นความยากลำบากไปได้


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ