ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 30.19/24 ระหว่างวันแข็งค่าหลังกนง.คงดอกเบี้ย ก่อนกลับมาทรงตัวท้ายตลาด

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 23, 2020 17:53 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 30.19/24 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 30.19/20 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 30.15-30.25 บาท/ดอลลาร์ ส่วนผลประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กน ง.) ที่คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% แต่ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 63 เป็น -6.6% ซึ่งดีขึ้นจากเดิมที่คาดไว้ -7.8% นั้น ได้ทำให้เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นบ้างเล็กน้อย แต่ในช่วงท้ายตลาด บาทก็กลับไปปิดใกล้เคียงกับที่เปิดตลาดในช่วงเช้า

"บาทแข็งค่าขึ้นมาบ้าง ช่วงรู้ผลประชุม กนง.ที่มีการปรับ GDP ปีนี้ดีขึ้นกว่าเดิม แต่มองว่าแม้เศรษฐกิจจะมีแนวโน้มฟื้นตัว แต่ ยังมีความเสี่ยง ซึ่งทำให้ในช่วงท้ายตลาด เงินบาทก็กลับไปอยู่ในระดับเดิม" นักบริหารเงินระบุ

นอกจากนี้ ตลาดยังมีความกังวลต่อสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะในอังกฤษจากกรณีไวรัสกลายพันธุ์ จึงทำให้นักลงทุนเข้าไปถือครองดอลลาร์สหรัฐที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย จึงทำให้ช่วงนี้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.15 - 30.30 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 103.23/65 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 103.54/57 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2080/2290 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.2172/2175 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,416.02 จุด ลดลง 8.37 จุด (-0.59%) มูลค่าการซื้อขาย 89,556 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 679.13 ลบ.(SET+MAI)
  • รัฐบาลกำหนดกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 ที่ 3.1 ล้านล้านบาท ลดลง 1.89 แสนล้านบาท จากปี
งบประมาณ 2564 หรือคิดเป็น 5.66% ภายใต้สมมติฐานอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ในปี 2565 เติบโต 3.5% ประมาณการ
รายได้รัฐบาลสุทธิ 2.4 ล้านล้านบาท โดยเป็นการจัดทำงบประมาณขาดดุล 7 แสนล้านบาท และมีงบลงทุน 6.2 แสนล้านบาท
  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ต่อปี เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัว
ของเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง พร้อมมองว่าเศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีความเสี่ยงด้านต่ำและความไม่แน่
นอนสูงในระยะข้างหน้า จึงยังต้องการแรงสนับสนุนจากดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง
  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปี 63 ดีขึ้นเป็นหด
ตัว -6.6% จากก่อนหน้านี้ที่เคยประเมินไว้ว่าจะหดตัว -7.8% แต่ปรับประมาณการของปี 64 ลดลงมาอยู่ที่ 3.2% จากเดิม 3.6% เนื่อง
จากการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติล่าช้าออกไปเป็นราวกลางปีหน้า และคาดว่า GDP ในปี 65 จะขยายตัวได้ถึง 4.8% ตามภาคการ
ท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
  • กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือน พ.ย.63 โดยการส่งออกไทยมีมูลค่า 18,932.66
ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว -3.65% ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 18,880.07 ล้านดอลลาร์ หดตัว -0.99% ส่งผลให้ดุลการค้า เกินดุล
52.59 ล้านดอลลาร์ โดยทั้งปีนี้ มีโอกาสที่การส่งออกไทยจะหดตัวน้อยกว่า -7% ได้ ขณะที่ในปี 64 คาดว่าการส่งออกจะพลิกกลับมาขยาย
ตัวได้ 4%
  • สภารัฐกิจของจีน ประกาศขยายมาตรการสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อม ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่า เศรษฐกิจจีนยัง
ไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่จากวิกฤตโควิด-19 โดยมาตรการดังกล่าว จะอนุญาตให้ธุรกิจขนาดเล็กยืดเวลาการชำระหนี้ออกไปหลังไตรมาสแรก
ของปีหน้าได้หากจำเป็น
  • รายงานการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประจำเดือนต.ค.63 ระบุว่า คณะกรรมการ BOJ ได้หารือกันเกี่ยวกับ

แนวทางในการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ให้มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ขณะที่กรรมการรายหนึ่งได้เรียกร้องให้ BOJ ปรับ

โครงการซื้อสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งปัจจุบันโครงการดังกล่าวมีขนาดใหญ่มาก


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ