ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ปี 2564 โดยระบุว่า ตามที่ได้ ออกพันธบัตร ธปท. อย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูแลสภาพคล่องในตลาดเงินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม รวมทั้งช่วยส่งเสริมการพัฒนาตลาดตราสาร หนี้ไทยให้มีสภาพคล่องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย ธปท. ได้สื่อสารเกี่ยวกับแผนการออกพันธบัตร ธปท. ประจำปีมาโดยตลอด เพื่อให้ผู้ ร่วมตลาดสามารถวางแผนบริหารจัดการสภาพคล่องได้ดียิ่งขึ้น นั้น
ในปี 64 ธปท. พิจารณาปรับแผนการออกพันธบัตร ธปท. โดยคำนึงถึงความต้องการลงทุนที่อาจปรับเปลี่ยนรวดเร็วภายใต้ ภาวะตลาดที่ยังมีความผันผวนสูง รวมทั้งแผนการกู้เงินของภาครัฐที่เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจาก Covid- 19 ทั้งนี้ ธปท. และสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้ร่วมกันกำหนดแนวทางการออกพันธบัตรภาครัฐในภาพรวม เพื่อให้การออก พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตร ธปท. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกัน โดยมีการจัดแบ่งรุ่นอายุระหว่างพันธบัตร รัฐบาล และพันธบัตร ธปท.
ขณะที่การกำหนดวงเงินประมูลพันธบัตรแต่ละรุ่นจะพิจารณาอุปทานรวมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม นอกจากนี้ ธปท. ได้ออก พันธบัตรประเภทใหม่ที่อิงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงธุรกรรมซื้อคืนระยะข้ามคืน (Thai Overnight Repurchase Rate: THOR) เพื่อส่ง เสริมการพัฒนาอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงใหม่
แผนการออกพันธบัตร ธปท. ปี 2564 มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญดังนี้
1. การงดประมูลพันธบัตร ธปท. บางรุ่นอายุที่กระทรวงการคลังวางแผนออกทดแทน ในปี 2564 ธปท. จะไม่ประมูล พันธบัตรอายุ 6 เดือน และ 3 ปี ซึ่งเป็นรุ่นอายุที่ สบน. วางแผนประมูลเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ (สำหรับพันธบัตร ธปท. อายุ 3 ปี จะยัง คงการประมูลในเดือนมกราคม เพื่อ re-open พันธบัตรรุ่น BOT239A เป็นครั้งสุดท้าย) ทั้งนี้ ธปท. อาจพิจารณากลับมาประมูลพันธบัตร ทั้งสองรุ่นอายุตามความเหมาะสม โดยเฉพาะกรณีที่ สบน. วางแผนออกพันธบัตรระยะสั้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดย ธปท. จะแจ้งให้ตลาด ทราบล่วงหน้า
นอกจากนี้ ธปท. จะยกเลิกการประมูลพันธบัตรอายุ 2 สัปดาห์ ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป โดยที่ผ่านมา ธปท. ออกพันธบัตร อายุดังกล่าวโดยการประกาศวงเงินประมูลรายสัปดาห์ล่วงหน้าเพียง 1-2 วัน เพื่อช่วยบริหารสภาพคล่องระยะสั้นในตลาดเงินในบางช่วงที่ อาจมีความไม่แน่นอนสูง อย่างไรก็ดี เครื่องมือการบริหารสภาพคล่องระยะสั้นในตลาดเงินมีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน จึงไม่มีความจำ เป็นต้องออกพันธบัตรระยะดังกล่าว
2. การออกพันธบัตร ธปท. ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวรุ่นใหม่ ธปท. จะยกเลิกการประมูลพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ย ลอยตัว (FRB) ที่อิงอัตราดอกเบี้ย BIBOR และเริ่มการประมูล FRB ประเภทใหม่ที่อิงอัตราดอกเบี้ย THOR เพื่อส่งเสริมการใช้อัตรา ดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ในธุรกรรมทางการเงิน และเพิ่มทางเลือกการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ให้มีความหลากหลายมากขึ้น
ธปท. จะเริ่มประมูลพันธบัตร FRB อิงอัตราดอกเบี้ย THOR ระยะ 6 เดือน ในเดือนมีนาคม 2564 โดยจะประมูลเดือนละ ครั้งในวันพฤหัสบดี ทั้งนี้ ธปท. อาจพิจารณาเพิ่มรุ่นอายุ ความถี่ และวงเงินประมูลพันธบัตร FRB อิงอัตราดอกเบี้ย THOR ตามภาวะตลาด และความต้องการลงทุนในระยะต่อไป
กำหนดการประมูลพันธบัตร ธปท. ปี 2564
ประเภทพันธบัตร วันประมูล ความถี่ในการประมูล 1.พันธบัตรประเภทที่จำหน่ายเป็นส่วนลด -1 เดือน วันอังคาร ตามความเหมาะสม -3 เดือน วันอังคาร ทุกสัปดาห์ -6 เดือน วันอังคาร ตามความเหมาะสม -1 ปี วันอังคาร ทุกสัปดาห์ 2.พันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ -2 ปี วันพฤหัสบดี ทุกเดือน -3 ปี วันพฤหัสบดี ตามความหมาะสม 3.พันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวอิงตามอัตราดอกเบี้ย THOR -6 เดือน ถึง 3 ปี วันพฤหัสบดี ทุกเดือน
วงเงินการประมูลพันธบัตร ธปท. ปี 2564
ประเภท วงเงินประมูลต่อครั้ง วงเงินรวมต่อรุ่น จำนวนรุ่นต่อปี (ล้านบาท) (ล้านบาท) (รุ่น) 1.พันธบัตรประเภทที่จำหน่ายเป็นส่วนลด -1 เดือน 10,000-60,000 10,000-60,000 ตามความเหมาะสม -3 เดือน 10,000-60,000 10,000-60,000 50-52 -6 เดือน 10,000-60,000 10,000-60,000 ตามความเหมาะสม -1 ปี 10,000-60,000 10,000-60,000 12 2.พันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ -2 ปี 15,000-35,000 90,000-252,000 -3 ปี 15,000-35,000 45,000-162,000 ตามความเหมาะสม 3.พันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวอิงตามอัตราดอกเบี้ย THOR -6 เดือน ถึง 3 ปี 5,000-30,000 5,000-30,000 ตามความเหมาะสม
สำหรับการประมูลพันธบัตรรายเดือน ธปท.จะพิจารณาวงเงินให้เหมาะสมกับภาวะตลาดเงินและตลาดพันธบัตร รวมถึงการ ออกพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตรรัฐวิสาหกิจในแต่ละช่วงเวลา โดย ธปท. จะประสานงานกับ สบน. อย่างใกล้ชิด และจะ ประกาศตารางประมูลพันธบัตร ธปท. ให้ตลาดทราบล่วงหน้าทุกเดือนผ่านทาง website ของ ธปท. เช่นที่เคยปฏิบัติมา
ทั้งนี้ ธปท. ขอสงวนสิทธิ์การปรับวงเงินประมูลพันธบัตร ธปท. ระหว่างเดือน ในกรณีที่ตลาดการเงินมีความผันผวนสูงจนส่ง ผลให้สภาพคล่องในตลาดเงินหรือตลาดพันธบัตรเปลี่ยนจากที่คาดการณ์อย่างมีนัยสำคัญ โดยจะแจ้งให้ตลาดทราบอย่างน้อย 2 วันทำการก่อน วันประมูลพันธบัตร