ศูนย์วิจัยกสิกรฯ คาดราคาสินค้าเกษตรปี 64 ยังถูกกดดันจากหลายปัจจัย

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 8, 2021 12:40 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ภาคเกษตรไทยในปี 64 น่าจะให้ภาพที่ดีขึ้นได้จากปัจจัยด้านอุปทานที่เร่งตัวขึ้นจากปริมาณน้ำฝน ที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกจากปรากฏการณ์ลานีญา พิจารณาได้จากปรากฏการณ์ ENSO ที่แสดงสถานะเป็นปรากฏการณ์ลานีญา ซึ่งมีความ น่าจะเป็นที่ 65% ที่จะยังคงเป็นปรากฏการณ์ลานีญาต่อเนื่องไปจนถึงเดือน พ.ค.64 น่าจะช่วยบรรเทาระดับความแห้งแล้งในฤดูไป ได้บ้าง ผนวกกับเกษตรกรมีการดูแลรักษาต้นพืชที่ดีขึ้นจากการระบาดของโรคพืชในปีก่อน ทำให้อุปทานสินค้าเกษตรของไทยน่าจะอยู่ในเกณฑ์ ดี โดยคาดว่าอุปทานสินค้าเกษตรอาจเพิ่มขึ้นอยู่ในกรอบ 2.0-2.5% (YoY) โดยคาดว่า รายได้เกษตรกรจะขยายตัวอยู่ในกรอบ 1.0- 1.5% (YoY) จากแรงผลักด้านผลผลิตที่เพิ่มขึ้น

สำหรับในด้านราคาสินค้าเกษตร คาดว่า อาจหดตัวอยู่ในกรอบ 0.5-1.0% (YoY) จากปัจจัยเสี่ยงหลายด้านที่ยังมีอยู่ ดังนี้

-โลกผลิตสินค้าเกษตรได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากแนวโน้มสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกพืชเกษตรของโลกจากปรากฏ การณ์ลานีญาเหมือนกับที่ไทยผลิตได้มากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะประเทศในแถบ CLMV จะได้รับอานิสงส์จากปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งเป็น คู่แข่งส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของไทยอย่างข้าว สะท้อนได้จากการคาดการณ์ปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรในกลุ่มธัญพืชของโลกในปี 64 อาจอยู่ที่ 2,742 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 1.1% (YoY) โดยมีข้าวที่มีอัตราการเติบโตมากที่สุดในกลุ่มธัญพืชที่ราว 1.5% (YoY)

อย่างไรก็ตาม ด้วยต้นทุนการผลิตของคู่แข่งที่ต่ำกว่าไทย จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาสินค้าเกษตรของไทยสูงกว่าคู่แข่งโดย เปรียบเทียบ ส่งผลต่อความต้องการสินค้าเกษตรไทยในตลาดโลกที่ต้องเผชิญความท้าทายมากขึ้น

-ค่าเงินบาทของไทยที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น โดยคาดว่าในปี 64 ค่าเงินบาทจะแข็งค่าไปแตะปลายปีที่ระดับ 29-29.25 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบปี 63 เฉลี่ยที่ระดับ 31.3 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ อีกทั้งยังเป็นระดับค่าเงินที่มีแนวโน้มแข็งค่ามากกว่า ประเทศคู่แข่งอีกด้วย ทำให้ผู้นำเข้าหันไปซื้อสินค้าเกษตรจากประเทศที่มีราคาถูกกว่า จนอาจส่งผลต่ออุปสงค์จากต่างประเทศที่ลดลง และ กดดันราคาสินค้าเกษตรในประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

-ยังต้องจับตาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังเกิดขึ้นอยู่ทั่วโลก แม้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตและราคาสินค้า เกษตรในขั้นต้นน้ำของไทยมากนัก (แต่อาจได้รับผลกระทบในสินค้าเกษตรขั้นกลางน้ำและปลายน้ำในแง่ของปัญหาการขนส่งสินค้าที่หยุด ชะงัก) เนื่องจากสินค้าเกษตรส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการบริโภค โดยมีแนวโน้มการกักตุนสินค้ามากขึ้นเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร (Food Security) ของประเทศ ประกอบกับการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์จะเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันอุปสงค์จากต่างประเทศได้ ดี อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงต้องจับตาระดับความรุนแรงของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ของไทยและของโลกที่ยังคงมี อยู่ ซึ่งอาจมีผลกดดันราคาสินค้าเกษตรไทยได้

-ประเด็นเรื่องการขาดแคลนแรงงานต่างด้าวที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่นี้ในไทย น่าจะ ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรไม่มากนัก โดยตัวเลขคาดการณ์ในครั้งนี้ได้คำนึงถึงประเด็นการขาดแคลนแรงงานต่างด้าวเข้าไว้ด้วยแล้วในบาง พืชเกษตรสำคัญ ปศุสัตว์และประมง ซึ่งแม้ว่าแรงงานต่างด้าวในภาคเกษตรของไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคพืชเกษตรและปศุสัตว์ แต่ด้วย สถานการณ์ขณะนี้ที่พบปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าวจะอยู่ในภาคประมงเป็นหลัก ซึ่งภาคประมงนับว่ามีน้ำหนักเป็นสัดส่วนไม่มากเมื่อ เทียบกับมูลค่าการผลิตสินค้าเกษตรทั้งหมดในตะกร้า จึงทำให้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าวในภาคประมงขณะนี้มีผลกระทบต่อภาพรวม ภาคเกษตรไม่มาก

อย่างไรก็ดี คงต้องติดตามระดับการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งหากมีการควบคุมไม่ได้มาก ก็อาจเกิดปัญหาทาง การผลิต จนอาจทำให้ตัวเลขต่ำกว่ากรอบล่างของตัวเลขคาดการณ์ และหากไม่สามารถควบคุมได้จนสร้างผลกระทบเป็นวงกว้าง ก็อาจส่ง ผลต่อเนื่องไปถึงภาคการผลิตสินค้าพืชเกษตรและปศุสัตว์ให้ได้รับผลกระทบมากขึ้นตามไปด้วย

ดังนั้น โครงการประกันรายได้เกษตรกรของภาครัฐ (เฟส 2) จึงนับเป็นสิ่งที่ดีในจังหวะเวลาที่เหมาะสมคือ เป็นช่วงที่ราคา สินค้าเกษตรในภาพรวมมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนด้านรายได้ให้กับเกษตรกรได้ในระดับหนึ่ง

                              ตารางสรุปแนวโน้มราคาสินค้าเกษตรในปี 64
สินค้าเกษตรหลัก          รายละเอียด
ข้าว	              ราคาข้าวอาจปรับลดลง แต่ก็นับว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี จากแรงฉุดของผลผลิตข้าวนาปีที่เพิ่มขึ้นจากปริมาณน้ำฝนที่

มากกว่าปีก่อน ขณะที่ความต้องการจากต่างประเทศจะยังมีรองรับเพื่อกักตุนจากการเผชิญความเสี่ยงของ

โควิด-19

อย่างไรก็ตาม ไทยอาจต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงจากคู่แข่งที่มีผลผลิตเยอะเช่นกัน โดยเฉพาะประเทศใน

กลุ่ม CLMV ซึ่งมีราคาข้าวถูกกว่าไทย

ยางพารา	              ราคายางพาราอาจปรับเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อย เนื่องจากความต้องการในถุงมือยางที่มีรองรับต่อเนื่องจากปีก่อน

จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น นอกจากนี้ จะยังมีความต้องการอย่าง

มากในถุงมือยางทางการแพทย์ เพื่อใช้ในสถานการณ์โควิด-19 ที่ต้องเผชิญทั่วโลก

มันสำปะหลัง ราคามันสำปะหลังอาจปรับตัวลดลงเล็กน้อย จากผลผลิตของไทยที่น่าจะเพิ่มขึ้น จากปริมาณน้ำที่ดีและการที่

เกษตรกรดูแลรักษาโรคใบด่างในมันสำปะหลังได้ดีขึ้น ขณะที่ความต้องการจากจีนที่จะผลิตแอลกอฮอล์มีเพิ่ม

ขึ้น เนื่องจากสต๊อกข้าวโพดของจีนมีแนวโน้มลดต่ำลงและน่าจะขาดแคลนผลผลิตข้าวโพดกว่า 28 ล้านตัน

อย่างไรก็ดี อาจต้องเผชิญแรงกดดันจากคู่แข่งอย่างกัมพูชาและสปป.ลาว ซึ่งมีราคาถูกกว่าไทย

อ้อย	              ราคาอ้อยอาจปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการส่งเสริมตัดอ้อยสดของภาครัฐ (ลดการเกิดปัญหาอ้อยไฟไหม้) และ

ผลของภัยแล้งในปีก่อนที่ยังสร้างความเสียหายต่อตออ้อยอย่างหนัก อย่างไรก็ดี อาจมีปัจจัยกดดันบางส่วน

จากราคาน้ำตาลทรายดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลง จากผลผลิตน้ำตาลที่ล้นตลาดโดยเฉพาะในบราซิล

ที่หันมาผลิตน้ำตาลมากกว่าเอทานอล

ปาล์มน้ำมัน ราคาปาล์มน้ำมันปรับตัวลดลงเล็กน้อย (จากที่ราคาพุ่งสูงสุดในรอบ 8 ปีในปี 63) ตามอุปทานที่เพิ่มขึ้น

ขณะที่ความต้องการของน้ำมันไบโอดีเซล B10 ยังมีรองรับเพื่อเป็นน้ำมันดีเซลพื้นฐานของประเทศ ตาม

การสนับสนุนของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง แม้อาจต้องเผชิญการเดินทางท่องเที่ยวที่ลดลงจากสถานการณ์

โควิด-19 ระลอกใหม่ ซึ่งอาจกระทบต่อความต้องการใช้พลังงาน



          

            
            

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ